Talk About Women

ยาสมุนไพร..ทางเลือกที่ได้ผลสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร
ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน <br>
เขียนโดย เดชาวัต เตยหอม <br>
<br>
<br>
<br>
โรคกระเพาะอาหาร <br>
<br>
โรคกระเพาะอาหาร (peptic ulce) หมายถึงอาการปวดแสบ ปวดต้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการงาน การเรียน) พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา และการรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด ยาซอง) ยาแก้ปวดข้อ ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ใส่สเตียรอยด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ที่เข้าสารคาเฟอีน เป็นต้น <br>
<br>
การรักษาโรคกระเพาะ โดยการรับประทานยา และดูแลสุขภาพ ของตนเอง ดังนี้ <br>
ก. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา <br>
ข. รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ (ถ้าปวดมากในระยะแรก ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม) อย่ารับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด <br>
<br>
ไม่จำเป็นต้องแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้นดังที่เคยแนะนำกันในอดีต เพราะยิ่งรับประทานมากนอกจากจะทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว (ต้องคอยลดความอ้วนอีก) ยังอาจจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายอีกด้วยคนที่เป็นโรคกระเพาะบางครั้งอาจรู้สึกหิวง่ายก็ควรรับประทาน ยาลด กรดแทนนมหรือข้าว <br>
<br>
ค. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้ <br>
ง. ห้ามรับประทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าเตรียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้รักษาโรคอื่น ควรปรึกษาแพทย์) <br>
จ. คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นแอโรบิก) หรือทำสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือเจริญภาวนาตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ คนที่เป็นโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้ จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้ <br>
<br>
<br>
ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร คือ <br>
<br>
1. ขมิ้นชัน <br>
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn., Curcuma domesticaVal. <br>
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น(ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) <br>
ลักษณะของพืช <br>
ขมิ้นมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย จีน และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออกปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างแพร่หลายในประเทศเขตร้อน ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ถึงฤดูแล้งใบจะโทรม เมื่อย่างเข้าฤดูฝนเริ่มแตกใบขึ้นมาใหม่เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู ดอกบานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลม มี พู <br>
<br>
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแห้ง <br>
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมื่อขมิ้นอายุราว 7-9 เดือน <br>
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอมแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง <br>
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ <br>
เหง้าขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 22-6 เป็นน้ำมันสีเหลือง มีสารหลายชนิด คือ Turmerone, Zingiberene, Borneol เป็นต้น และมีสารสีเหลืองส้ม คือ เคอร์ควิมิน (Curmumin) ประมาณร้อยละ 1.8-5.2 <br>
<br>
การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า ขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขับน้ำดี และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบได้ โดยที่ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเกิดจากสารเคอร์คิวมิน ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้เกิดการกระตุ้น การหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ แต่ถ้าใช้ขนาดสูงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ ส่วนฤทธิ์ลดการอักเสบเกิดจากสารเคอร์คิวมินและน้ำมันหอมระเหย ทำให้ขมิ้นมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้ <br>
<br>
ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์ และคณะ (2529) ศึกษาผลของยาแคปซูลขมิ้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเนื่องจากแผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กดูโอนินั่ม โดยดูการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังภายในกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กดูโอนินั่ม ด้วยกล้องส่องตรวจ (Endoscope) ในผู้ป่วยชาย 8 ราย หญิง 2 ราย อายุระหว่าง 16-60 ปีผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อย10 ราย นี้เป็น D.U. 2 ราย มีขนาดแผล 0.5-1.5 ซม. โดยให้รับประทานขมิ้นชันขนาดแคปซูลละ 250 มก.ครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 มื้อ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ปรากฏผลว่า แผลของผู้ป่วยหายเรียบร้อยดี 6 ราย คิดเป็น 60 % ในระยะเวลา 4-12 สัปดาห์ ในจำนวนนี้ถ้าแสดงผลการหายของแผลเรียบร้อยภายในเวลา 4 สัปดาห์ ได้เป็น 50% <br>
<br>
อัญชลี อินทนนท์ และคณะ (2529) ได้ทำการทดลองใช้ขมิ้นรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องซึ่งเชื่อว่าเป็นอาการของโรคแผลเปปติค (Peptic Ulcer) โดยเปรียบเทียบกับการใช้ไตรซิลิเกต (Trisiligate) ซึ่งเป็นยาลดกรดขององค์การเภสัชกรรม ได้ผลดังนี้ คืออาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยขมิ้นชัน ครบ 12 สัปดาห์ จำนวน 15 ราย คิดเป็น 60% หายปกติ 1 ราย คิดเป็น 58 % อาการดีขึ้นมาก หลังรักษาด้วยไตรซิลิเกต 5 ราย คิดเป็น 50 % หายปกติ 4 ราย คิดเป็น 40 % <br>
<br>
ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่าขมิ้น ไม่มีพิษเฉียบพลันและไม่มีผลในด้านก่อกลายพันธุ์ และในการวิจัยทางคลินิกของ ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์และคณะ (2529) ได้ศึกษาเคมีเลือดผู้ป่วยที่รับการ ทดลองจำนวน 30 คน ก่อนและหลังรับประทานขมิ้นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในผลเคมีเลือดที่บ่งถึงการตรวจหน้าที่ตับและไต และฮีมาโตโลยี ส่วนผลแทรกแซง พบอาการท้องผูก ราย แพ้ยามีผื่นที่ผิวหนัง 2 ราย <br>
<br>
วิธีใช้ <br>
ขมิ้นใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการนำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน <br>
<br>
บางคนรับประทานขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่นคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัวนอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน <br>
<br>
<br>
ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร <br>
<br>
2 กล้วย <br>
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn. <br>
ชื่อท้องถิ่น - <br>
ลักษณะพืช <br>
กล้วยเป็นพืชเมืองร้อนและเป็นพืชที่คุ้นเคยกับคนไทยมาช้านาน เพราะเกือบทุกส่วนของกล้วยมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน กล้วยเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นตรง รูปร่างกลม มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ขอบใบขนานกัน ช่อดอกคือหัวปลี มีลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก มีดอกย่อยออกเป็นแผง กลายเป็นผลติดกัน เรียกว่าหวี เรียงซ้อนและติดกันที่แกนกลางเรียกว่าเครือ <br>
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลกล้วยดิบหรือผลห่าม <br>
<br>
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บผลกล้วยช่วงเปลือกเป็นสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลเมื่ออายุ 8-12 เดือน <br>
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน <br>
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ <br>
กล้วยดิบประกอบด้วยสารประกอบหลายชนิด คือ Tannin , Serotonin, Norepinephnine, Dopamin และ Catecholamine สารเหล่านี้อยู่ในเนื้อและเปลือกของกล้วยสำหรับกล้วยสุกมี pectin , Essential oil, Norepinephrine และกรดอินทรีย์หลายชนิด <br>
<br>
ปี คศ. 1964 Best และคณะ ได้พบว่าผงกล้วยดิบมีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะหนูขาว ซึ่งเกิดจากการให้ aspirin โดยสามารถใช้ทั้งป้องกันและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ ในการป้องกันจะใช้ขนาด 5 กรัม ส่วนการรักษาใช้ขนาด 7กรัม และถ้าเป็นสารสกัดด้วยน้ำจะมีฤทธิ์แรงเป็น 800 เท่าของผงกล้วย ผู้วิจัยเข้าใจว่ากล้วยดิบไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสารพวก mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ กล้วยจะดีกว่ายาพวก Aluminium hydroxide, Cimetidine หรือ Postaglandin ซึ่งมีฤทธิ์เฉพาะป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาแผลที่เกิดแล้วได้ <br>
<br>
วิธีใช้ <br>
นำกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และบดเป็นผง วิธีรับประทานโดยการนำผงกล้วยดิบครั้งละครึ่งถึงหนึ่งผล ชงน้ำหรือผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มหรือนำผงกล้วยดิบมาปั้นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน รับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น <br>
สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน, &quot;ยาสมุนไพร สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน&quot; <br>
<br>
ข้อมูลจาก<a href="http://www.yasiam.com/txt/drg451230a.html" target="_blank">http://www.yasiam.com/txt/drg451230a.html</a> <br>


12 Jan 2008  |  Post by : Rattiya69
Comment 1
ดีมาก จะได้ไม่ต้องซื้อยากิน เปลืองตังค์ <img src="pic/b2.gif"> <img src="pic/b14.gif">

22 Sep 2008  |  Comment by : ชนะพล

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: MaYuRi 3
โพสต์โดย: joob 9
โพสต์โดย: 7-11 8
โพสต์โดย: BZW 7
โพสต์โดย: bannoen001 0
โพสต์โดย: jaycho10 3
โพสต์โดย: ink 3
โพสต์โดย: kateclarinet 3

Interest Product