Talk About Women

เรามามีความสุขกับ "วันนั้นของเดือน" กันดีกว่าค่ะ
ผู้หญิงเราส่วนมาก เวลาก่อนประจำเดือนจะมาหรือกำลังมาก็ตาม <br>
มักจะหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี ปวดท้อง ปวดหลัง ตัวบวม เป็นตะคริว <br>
หรือเห็นอะไรก็ขวางหูขวางตาไปเสียหมด ใครพูดอะไรก็ไม่เข้าหู <br>
พาลจะโกรธคนโน้นนี้ไปทั่ว...เรียกได้ว่า ประจำเดือนมาที <br>
ก็ทุกข์ค่ะ <br>
<br>
<br>
หยุดตกเป็นทาสอารมณ์เสียหรืออาการปวดท้องจากการมี <br>
ประจำเดือนกันเสียที กับคำแนะนำที่ให้ผลลัพธ์เป็นเลิศ <br>
ที่คุณไม่อาจปฏิเสธได้..แล้วคุณจะมี <br>
&quot;ความสุขกับวันนั้นของเดือน&quot;ค่ะ <br>
<br>
เป็นนายเหนืออารมณ์ <br>
ดร. คริสตีน รีด ผู้อำนวยการด้านการรักษาสุขภาพของ <br>
นิวเซาท์เวลประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า &quot;สภาวะอารมณ์ที่ <br>
ผิดปกติในช่วงก่อนมีประจำเดือนอาจเกิดจากการผันแปร <br>
ของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนที่ขึ้น ๆ <br>
ลง ๆ ซึ่งทำให้สารเคมีในสมองที่ขื่อว่า &quot;เซโรโทนิน&quot; <br>
ที่ควบคุมทางด้านอารมณ์ไม่มั่นคง ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ <br>
มักหงุดหงิดและฉุนเฉียวง่ายกว่าปกติ แต่ก็มีผู้หญิงราวอีก <br>
4 เปอร์เซ็นต์ที่มีอารมณ์ตรงข้ามคือ อยู่ในสภาวะซึมเศร้า <br>
อย่างรุนแรง <br>
<br>
กรณีเหล่านี้แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับยาต่อต้านอาการซึมเศร้า <br>
หรือเพิ่มปริมาณการบริโภคแคลเซี่ยมให้ได้อย่างต่ำ 1,200 <br>
มิลลิกรัมต่อวัน (เท่ากับปริมาณนม 3 แก้ว) ด้วยวิธีเช่นนี้มีผู้ป่วย <br>
ถึง 50 เปอร์เซ็นต์จากจำนวน 400 คนสามารถปรับสภาวะอารมณ์ <br>
ให้เป็นปกติได้ในช่วงก่อนมีประจำเดือน&quot; <br>
<br>
ควบคุมสิว <br>
การประทุของสิวเป็นจำนวนมากบริเวณคางและหน้าผาก <br>
อาจจะยิ่งทำให้คุณหงุดหงิดขึ้นได้ เพราะช่วงคุณมีประจำเดือน <br>
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ <br>
จะกระตุ้นให้ผิวหนังขับน้ำมันออกมาเป็นจำนวนมาก และทำให้ <br>
เกิดการอุดตัวของน้ำมันบริเวณผิวหนังและเกิดเป็นสิวอักเสบขึ้น <br>
<br>
ป้องกันง่าย ๆ ด้วยการล้างหน้าวันละ 2 ครั้งโดยใช้ครีม <br>
ล้างหน้าที่ผสมกรดแซลิกไซลิก หรือเบนซอยเพอร็อกไซด์ <br>
หรือถ้ากรณีที่เป็นมากเกินการควบคุม คุณอาจจะต้องไป <br>
ปรึกษาแพทย์เพื่อนำยาระงับสิวมากินเป็นการชั่วคราว <br>
<br>
<br>
ต้านตะคริวที่ท้อง <br>
มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ทรมานกับการมีประจำเดือน <br>
ในแต่ละครั้งอาจะเกิดอาการปวดเกร็งเหมือนเป็นตะคริว <br>
บริเวณมดลูก ช่วงท้องน้อยกระดูกเชิงกราน ปวดหลัง <br>
หรือแม้แต่อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งสาว ๆ โดยทั่วไป <br>
มักจะพึ่งการกินยาระงับปวด <br>
<br>
แต่ทางที่ดีหากปวดประจำเดือนยังไม่ค่อยมาก <br>
ให้ลองออกกำลังกายเบาๆ ดู หรือให้หาถุงน้ำร้อนมา <br>
อังบริเวณช่วงท้อง แต่ถ้าอยากสะดวกให้ไปซื้อแผ่นแปะ <br>
เพิ่มความร้อน (EIastoplast) ที่ร้านขายยา แปะไว้บริเวณ <br>
ช่วงท้องทิ้งไว้สัก 8 ชั่วโมงหรือจะเป็นช่วงก่อนนอนก็ได้ <br>
จะช่วยคลายอาการปวดลงได้เยอะ แต่ถ้ายังไม่หายปวด <br>
และดูจะทวีความปวดมากยิ่งขึ้น ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์ <br>
เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและสั่งยาที่ถูกกับโรคให้กิน <br>
อย่างปลอดภัย <br>
<br>
กำจัดอาการบวมน้ำและท้องเสีย <br>
-- 7 วันก่อนมีประจำเดือนให้กินวิตามินบี 6 หลังอาหารทุกมื้อ <br>
จะช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก <br>
<br>
-- บรรเทาอาการบวมน้ำได้ด้วยการกินโยเกิร์ตวันละถ้วย <br>
1 สัปดาห์ ก่อนมีประจำเดือน <br>
<br>
-- ดื่มชาขิงร้อน 3 ครั้งต่อวัน จะช่วยลดอาการหน้าท้องบวมอืด <br>
<br>
-- กินน้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรส 1 ช้อนโต๊ะข่วงเช้าและเย็น <br>
ก่อนประจำเดือนมา 10 วัน จะช่วยให้การกักเก็บน้ำบริเวณใ <br>
ต้ผิวหนังมีการระบายได้ดี และช่วยปรับสมดุลให้อารมณ์ <br>
ไม่แปรปรวนง่ายด้วย <br>
<br>
-- การกินอาหารจำพวกแป้งระหว่างมีประจำเดือน อาทิ <br>
ข้าวขัดขาว และกล้วยจะช่วยให้ระบบขับถ่ายแข็งแรงขึ้น <br>
แก้อาการท้องเสียได้ <br>
<br>
ผ่าไฟแดง <br>
หญิงสาวหลายคนอาจจะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ขณะมี <br>
ประจำเดือนเพราะอาจจะกลัวเจ็บ หรือรู้สึกว่าอาจจะดูเลอะเทอะ <br>
แต่ในความเป็นจริงช่วงขณะเราหลับหรืออาบน้ำ การไหลของ <br>
ประจำเดือนจะออกมาน้อยกว่าปกติ หากคุณและแฟนอยากจะ <br>
ทำกิจกรรมร่วมกันขณะมีประจำเดือนก็ไม่มีปัญหา ให้เลือกวันที่ <br>
ประจำเดือนใกล้จะหมด โดยท่าที่เหมาะสมและปลอดภัย <br>
ที่สุดควรให้ชายหนุ่มอยู่บนตัวหญิงสาวนั่นเอง จำเอาไว้ <br>
<br>
วางแผนให้รัดกุม <br>
หากคุณคิดจะไปเที่ยวพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาว ๆ แล้วกังวล <br>
ใจว่าประจำเดือนจะมาในช่วงระหว่างนั้นทำให้หมดสนุก <br>
มาวางแผนกันสักนิดก่อนดีไหม ทุกวันนี้เรามีเรามีวิวัฒนาการ <br>
ที่ก้าวหน้าไปมาก <br>
<br>
มีการคิดค้นยาที่สามารถเลื่อนกำหนดการมาประจำเดือน <br>
ให้เขยิบออกไปได้โดยที่ตัวยาไม่เป็นอันตรายหรือมีผล <br>
ข้างเคียงใด ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ได้ผลกับหญิงสาวทุกคน <br>
ในบางกรณีถึงแม้กินยาแล้วก็อาจจะยังมีประจำเดือนไหลออก <br>
มาได้ การกินยาดังกล่าวควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์หรือ <br>
เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น <br>
<br>


15 Jan 2008  |  Post by : Rattiya69
Comment 1
ขอบคุณมากนะค่ะ พี่อ้อมเป็นความรู้ที่ให้ประโยชน์มากค่ะ ^^)

16 Jan 2008  |  Comment by : t-o-o-n

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: june 6
โพสต์โดย: dumhdurum 0
โพสต์โดย: NongLukBua 0
โพสต์โดย: Rattiya69 0
โพสต์โดย: primchada7 3
โพสต์โดย: 44ggb 2
โพสต์โดย: zospirit 4
โพสต์โดย: miss-do-d 5

Interest Product