Talk About Women

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ใครที่ชอบอั้นฉี่หรือสวม กกน.คับๆฯลฯ ควรอ่านดูนะครับ <br>
<br>
พญ.สมศรี ประยูรวิวัฒน์ เรียบเรียง <br>
<br>
<br>
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้หญิง เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากรักษาสุขอนามัยให้ดี <br>
<br>
<br>
ดังคุณยายวัยกว่า 70 ปี มาหาหมอด้วยอาการถ่ายปัสสาวะแสบ ขัด ขุ่น พอซักประวัติได้ความว่าคุณยายเป็นขาไพ่ มีขาครบ 4 คนทีไรเป็นตั้งวงไพ่นั่งเพลินไม่ยอมลุกไปไหนแม้จะปวดฉี่ ก็อั้นปัสสาวะไว้ พอนานไปหน่อยเลยฉี่ขัด <br>
<br>
อันที่จริงหมอเป็นคนคัดค้านอบายมุขทั้งปวง แต่คุณยายรายนี้เป็นผู้สูงอายุอยู่บ้านว่างๆ จึงเหงา ชักชวนเพื่อนบ้านตั้งวงเป็นประจำ หากไม่มีกิจกรรมเสียบ้าง สมองเสื่อมไว การเล่นไพ่ช่วยให้ได้ใช้สมองเพื่อคิดเลขบ้าง พอช่วยประทังสมองให้เสื่อมช้าลง จะให้ทำกิจกรรมอื่นก็ไม่รู้จะทำอะไร คุณยายเล่นตาละบาท สองบาท พออนุโลมได้แต่ก็ยังผิดกฎหมายอยู่ดี <br>
<br>
<br>
อย่างไรเสียคุณยายก็ไม่ควรเพลิน อั้นฉี่นานจนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนสาวๆ ที่เป็นโรคนี้มักเกิดจากฉี่ไม่ออกถ้าห้องน้ำไม่สะอาด หรือไม่ก็ทำงานเพลินไม่อยากเดินไปเข้าห้องน้ำ <br>
<br>
<br>
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากเชื้อโรคซึ่งส่วนใหญ่มาจากบริเวณช่องคลอดและทวารหนัก รุกล้ำเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ เหตุเพราะผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคจึงเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า และจึงเป็นโรคนี้กันมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้นในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมักมีต่อมลูกหมากโต ถ่ายปัสสาวะขัดลำกล้องร่วมด้วย <br>
<br>
<br>
อาการ <br>
<br>
<br>
ถ่ายปัสสาวะครั้งละน้อยๆ และบ่อยๆ <br>
แสบขัดบริเวณท่อปัสสาวะขณะถ่ายปัสสาวะ <br>
ปัสสาวะขุ่น อาจมีเลือดปน และมีกลิ่นเหม็น <br>
ปวดบริเวณท้องน้อย และส่วนล่างของหลัง <br>
อาจมีไข้หนาวสั่น แต่พบได้น้อยมาก <br>
<br>
<br>
ภาวะแทรกซ้อน <br>
<br>
การอักเสบลุกลามขึ้นไปที่ไต ทำให้กรวยไตอักเสบ มักมีอาการเฉียบพลันภายใน 2-3 ชั่วโมง ดังนี้ <br>
<br>
o ไข้สูง หนาวสั่น <br>
o คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย <br>
o ปวดหลังบริเวณใต้ชายโครง <br>
<br>
<br>
สาเหตุ <br>
<br>
เชื้อโรคเข้าไปในท่อปัสสาวะ ในผู้หญิงเกิดจาก <br>
<br>
o ทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะจากด้านหลังมาหน้า ทำให้เชื้อโรค (ซึ่งมีมากมายในอุจจาระ) จากทวารหนักและช่องคลอดเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้โดยง่าย <br>
o การมีเพศสัมพันธ์โดยอวัยวะเพศหญิงสัมผัสกับมือหรืออวัยวะเพศชายที่ไม่สะอาด <br>
o การใช้ผ้าอนามัยชนิดสอดด้วยมือที่ไม่สะอาด <br>
o การคุมกำเนิดโดยใช้สารฆ่า sperm อย่างไม่ถูกสุขอนามัย <br>
<br>
การตีบตันของท่อปัสสาวะจากต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้น้ำปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี <br>
<br>
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตีบ <br>
<br>
ความอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศจากการสวมกางเกงคับ ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี <br>
<br>
การสอดท่อสวนปัสสาวะหรือเครื่องมือแพทย์เข้าไปในท่อปัสสาวะ และทิ้งไว้นานจนติดเชื้อ <br>
<br>
<br>
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง <br>
<br>
ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ภูมิคุ้มกันลดลงมากแล้ว <br>
ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก <br>
ต่อมลูกหมากอักเสบ <br>
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตีบ <br>
การตั้งครรภ์ <br>
<br>
<br>
ข้อควรปฏิบัติ <br>
<br>
พบแพทย์เพื่อรับการรักษา <br>
ไม่กลั้นปัสสาวะ <br>
ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ <br>
ดื่มน้ำในปริมาณมากเพื่อให้ถ่ายปัสสาวะบ่อย เป็นการชะล้างเชื้อโรคออกไปจากกระเพาะปัสสาวะ <br>
ดื่มน้ำผสม โซเดียม ไบคาร์บอเนตครั้งละ 1 ช้อนชา เพื่อลดความเป็นกรดของปัสสาวะ เป็นการลดอาการระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ <br>
กินยาแก้ปวด <br>
<br>
<br>
การรักษาโดยแพทย์ <br>
<br>
ตรวจปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยโรค <br>
แยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกันออกไป เช่น เบาหวาน นิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฯลฯ <br>
ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม <br>
หาโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในผู้ชายเพื่อรักษาต้นเหตุ เช่น ต่อมลูกหมากโต <br>
<br>
<br>
การป้องกัน <br>
<br>
รักษาความสะอาดร่างกาย อาบน้ำทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศด้วยสบู่อ่อน <br>
ทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้งโดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง <br>
ดื่มน้ำปริมาณมาก ประมาณวันละ 8-10 แก้ว <br>
ไม่กลั้นปัสสาวะ เพราะปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานานเป็นแหล่งเพาะเชื้ออย่างดี <br>
ในผู้ที่มีแนวโน้มเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งหลังจากมีเพศสัมพันธ์เพื่อชะล้างเชื้อโรคที่อาจเข้าไปในท่อปัสสาวะออกไป <br>
ทำความสะอาดมือและอวัยวะเพศทุกครั้งทั้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ <br>
เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยขึ้น เพราะเลือดเป็นแหล่งเพาะเชื้อชั้นดี <br>
ใช้ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้าย และไม่คับจนเกินไปเพื่อป้องกันความอับชื้น <br>
<br>
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today, Lookmim Group <br>


3 Mar 2008  |  Post by : niel

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: nanida 0
โพสต์โดย: prnews 0
โพสต์โดย: goodman 12
โพสต์โดย: connection 2
โพสต์โดย: 27813not 6
โพสต์โดย: รักเค้าข้างเดียว 2
โพสต์โดย: poppiiz-poppiiza 2
โพสต์โดย: jubufever 1

Interest Product