Talk About Women

ลองลดน้ำหนักด้วยเต้าหู้ดูสิ
<p style="margin: 0px 0px 15px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 13px; vertical-align: baseline; color: rgb(51, 51, 51); font-family: Thonburi, Tahoma, Arial, sans-serif, serif; line-height: normal;"><em style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; vertical-align: baseline; background-color: transparent;">หนังสือ สมุนไพร 91 ชนิด พิชิตโรค ชุด ตำรายาล้ำค่าของหมอโฮจุน ที่ยูเนสโกคัดเลือกให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก จากสำนักพิมพ์อินสปายร์</em>&nbsp;บันทึกไว้ว่า เต้าหู้ (TOFU) คือถั่วเหลืองที่โม่เป็นแป้งแล้วทำเป็นแผ่น ๆ ใช้เป็นอาหาร มี 2 ชนิด คือ เต้าหู้ขาวและเต้าหู้เหลือง เต้าหู้มีเนื้อนิ่ม รสจืด เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน ซึ่งอยู่ระหว่าง 206 ปี ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 220</p><p style="margin: 0px 0px 15px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 13px; vertical-align: baseline; color: rgb(51, 51, 51); font-family: Thonburi, Tahoma, Arial, sans-serif, serif; line-height: normal;">ปัจจุบันเต้าหู้เป็นอาหารโปรตีนสำคัญในการทำอาหารของผู้คนแถบเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เต้าหู้ทำจากถั่วเหลือง เริ่มด้วยการแช่เมล็ดถั่วเหลืองในน้ำ นำไปบดแล้วต้มเพื่อทำเป็นนมถั่วเหลืองและน้ำเต้าหู้ข้น ๆ จากนั้นเติมสารที่ทำให้แข็งตัว ซึ่งจะแยกเอาส่วนที่เป็นเนื้อออกจากกัน เนื้อเต้าหู้ที่ได้จะตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหล่อน้ำไว้</p><p style="margin: 0px 0px 15px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 13px; vertical-align: baseline; color: rgb(51, 51, 51); font-family: Thonburi, Tahoma, Arial, sans-serif, serif; line-height: normal;"><strong style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; vertical-align: baseline; background-color: transparent;">คุณประโยชน์มากมายของเต้าหู้ อาทิ ช่วยบำรุงกำลังและช่วยให้อวัยวะในระบบย่อยอาหารแข็งแรงขึ้น ช่วยถอนพิษ ลดไข้ ขจัดอาการกระหายน้ำ ป้องกันความดันโลหิตสูง ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัวและป้องกันการสะสมไขมันบริเวณตับ ที่สำคัญ เต้าหู้ยังช่วยป้องกันโรคอ้วนได้อีกด้วย เนื่องจากมีแคลอรีน้อย</strong></p><p style="margin: 0px 0px 15px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 13px; vertical-align: baseline; color: rgb(51, 51, 51); font-family: Thonburi, Tahoma, Arial, sans-serif, serif; line-height: normal;">เต้าหู้นอกจากเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีแล้ว ในเต้าหู้ยังมีสารเลซิทิน (LECITHIN) เป็นสารชนิดหนึ่งในประเภทฟอสฟอลิพิด (PHOSPHLIPID) มีความสำคัญในโครงสร้างเซลล์และเมแทบอลิซึม ประกอบด้วย ฟอสเฟต โคลีน กลีเซอรอล ในฐานะเอสเตอร์และกรดไขมันสองชนิด คู่กรดไขมันต่าง ๆ ทำให้แบ่งแยกเลซิทินต่าง ๆ กันได้ ซึ่งเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกย่อยเป็นโคลีน</p><p style="margin: 0px 0px 15px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 13px; vertical-align: baseline; color: rgb(51, 51, 51); font-family: Thonburi, Tahoma, Arial, sans-serif, serif; line-height: normal;">โคลีน (CHOLINE) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สัมพันธ์กับวิตามินในแง่กิจกรรม พบอยู่ในตับและลำไส้ เยื่อบุผิวลำไส้ ต่อมหมวกไตชั้นนอก โคลีนมีความสำคัญในเมแทบอลิซึม โดยเป็นองค์ประกอบหนึ่งของลิพิดที่ประกอบขึ้นเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ และยังสำคัญในแง่เป็นแหล่งวัตถุดิบทางเคมีสำหรับเซลล์ และในการลำเลียงไขมันจากตับ มักถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับวิตามินบี เพราะมีหน้าที่และกระจายตัวในอาหารคล้ายกัน</p><p style="margin: 0px 0px 15px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 13px; vertical-align: baseline; color: rgb(51, 51, 51); font-family: Thonburi, Tahoma, Arial, sans-serif, serif; line-height: normal;"><strong style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; vertical-align: baseline; background-color: transparent;"><em style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; vertical-align: baseline; background-color: transparent;">เต้าหู้ กินได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีระบบย่อยอาหารอ่อนแอ เช่น เด็ก คนชรา</em></strong></p>

5 Sep 2013  |  Post by : NongLukBua

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: pookpiky 2
โพสต์โดย: kwaiu.aom 5
โพสต์โดย: Congrats 1
โพสต์โดย: nikee 0
โพสต์โดย: pk400 0
โพสต์โดย: SSUP 0
โพสต์โดย: theicon 0
โพสต์โดย: fuji 9

Interest Product