Talk About Women

สวยไม่เสี่ยงถึงชีวิต โบท็อกซ์ปลอมไม่ปลอม เลือกอย่างไร ?


ในปัจจุบัน การฉีดโบท็อกซ์เป็นศัลยกรรมพื้นฐานที่หลายๆคนก็คงตัดสินใจที่จะไปฉีด เนื่องจากไม่ต้องผ่าตัดและเห็นผลรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างมาก จนทำให้มีการทำการตลาดในเรื่องของราคา ที่จัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า คุณหมอจึงอยากจะบอกว่า “ของถูกและดี” ... นั้นมี แต่ “ถูกที่สุด ... ไม่ใช่ของที่ดีที่สุด" ... อย่างแน่นอน
และที่น่ากลัวมากๆ คือบรรดาหมอกระเป๋า ซึ่งไม่ใช่แพทย์จริงๆ ที่ประกาศขายยาทางอินเตอร์เน็ทอย่างมาก โดยไม่ได้รับการควบคุม ที่ดูน่ากลัวขึ้นไปอีกนอกจากรับฉีดกันเองแล้วยังมีประกาศรับสอนฉีดอีก จริงอยู่ที่ดูเหมือนทำง่ายๆ แต่เบื้องหลังความง่ายเหล่านี้

ถ้าคนที่ให้การรักษากับคุณไม่ใช่แพทย์ คุณอาจไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและอาจเกิดความสูญเสียที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตเหมือนในข่าว

หากเกิดผลแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้น เช่น
การแพ้ยาอย่างฉับพลัน (Anaphylaxis Shock)
หรือ ข่าวฉีดฟีลเลอร์แล้วตาบอด

หลายครั้งที่หมอไม่อยากที่จะโจมตีคนอื่น แต่ก็จำเป็นที่จะต้องอธิบายด้วยความจริงกันไปเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
บอกเลยค่ะว่ายาปลอมเยอะจริงๆ นะคะ และปลอมเนียนมากทีเดียวเชียว รวมทั้งการที่คลินิกไม่ใช้ยาตามทีได้แจ้งไว้ในตอนแรก และคงเคยได้ยินคำว่า
“ยาแท้ ... แต่เป็นของหิ้ว” กันมาบ้างนะคะ มันคือ ยายี่ห้อเดียวกัน เช่น โบท็อกยี่ห้อเดียวกัน แต่ที่สามารถนำมาขายให้กับคนไข้ในราคาที่ถูกกว่าได้ เพราะลักลอบนำเข้าโดยตรงจากต่างประเทศ ไม่ได้สั่งซื้อจากบริษัทที่นำเข้ามาจำหน่ายอย่างถูกต้องในประเทศไทย

ข้อเท็จจริงคือ ยาอาจจะเป็นยาจริงๆ ที่ถูกสั่งมาจากบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศโดยตรง ไม่มีการเสียภาษี ไม่มีการบวกค่าใช้จ่ายจากบริษัทจัดจำหน่ายในประเทศไทย ทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าจริง จึงนำมาขายได้ถูกกว่าจริง

แต่ลองคิดดูนะคะ ยาเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นโบท็อกหรือฟีลเลอร์ เป็นยาที่ต้องมีการจัดเก็บในอุณหภูมิที่ได้รับการควบคุมที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะไม่ทำให้ยาเสื่อมสภาพเมื่อนำมาฉีดให้เรา นอกจากยาจะไม่ให้ผลเต็มที่แล้ว นอกจากนี้ก็อาจเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ ถ้าเราเลือกใช้ยาที่นำเข้าอย่างถูกต้อง เราจะได้รับการรับประกันผลการรักษาจากบริษัทยาที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาภายในประเทศซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับเราได้อีกด้วย การสังเกตผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้ง่ายๆ ได้จากบรรจุภัณฑ์ค่ะ


1 ชื่อยี่ห้อของยาอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ
2 กล่องอาจจะมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
3 จะมีภาษาไทยกำกับที่ข้างกล่องเสมอ
4 ความละเอียดและความสวยงามของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มักจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน


แต่การขอดูกล่องหรือขวดยาก็ใช่ว่าจะเป็นตัวรับประกันได้เสมอไป ท้ายที่สุดอยู่ที่จรรยาบรรณของผู้ประกอบการคลินิก ที่ต้องใช้คำนี้เพราะปัจจุบันเจ้าของคลินิกจำนวนมากไม่ใช่แพทย์ ความรับผิดชอบของสถานพยาบาลนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเกิดจริงโดยจรรยาแพทย์ค่ะ เลือกเข้ารับบริการกับคลินิกที่มีคุณภาพไว้ใจได้ก็จะดีที่สุดค่ะ แต่ทั้งนี้ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการเข้ารับการรักษาหรือบริการใดๆ แม้จะเป็นแพทย์ที่เก่งแค่ไหนก็อาจเกิดขึ้นได้นะคะ แต่คลินิกที่ดีต้องดูแลคุณอย่างถึงที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คนไข้ทุกคนพึงพอใจค่ะ


ติดต่อสอบถาม หรือขอคำปรึกษาฟรีได้ที่ เอเม่คลินิก www.aimeclinic.com/
call center : 083-461-5666
Line: @aime_clinic


6 May 2018  |  Post by : aime_clinic

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: Mammoth 1
โพสต์โดย: unifza 1
โพสต์โดย: Chollada 0
โพสต์โดย: jirative 4
โพสต์โดย: Luknammmmm 0
โพสต์โดย: compzaa 0
โพสต์โดย: krai 4
โพสต์โดย: 29140 4

Interest Product