Talk About Women

โรคไข้หวัดนก (Avian influenza or Bird Flu)
จากสถานการณ์การระบาดของโรคในไก่รวมถึงไข้หวัดนกในขณะนี้นั้น ทำให้หลายคนเกิด <br>
ความวิตกกังวล ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้แก่ผู้ที่ทำงานในฟาร์มสัตว์ปีก <br>
และผู้ที่ต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกโดยตรง ดังนั้นประชาชนทั่วไปมีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้น้อยมาก <br>
ฉะนั้นการรับประทานไก่และไข่ที่ปรุงสุก จะไม่ทำให้ติดโรค จึงไม่ควรตื่นตระหนกมากนัก อย่างไรก็ตาม <br>
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก จึงขอแนะนำความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ <br>
<br>
1. ความหมายและเชื้อที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดนก <br>
<br>
โรคไข้หวัดนกคือโรคติดต่อซึ่งระบาดในสัตว์ปีกโดยเฉพาะในไก่ <br>
ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส <br>
Avian Influenza type A ในตระกูล H5N1 ตามปกติโรคนี้ติดต่อมายังคนทั่วไปได้ไม่ง่ายนัก <br>
เฉพาะคนที่สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นโรคซึ่งอาจจะติดเชื้อและอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต <br>
ได้ มีรายงานการเกิดโรคในคนเป็นครั้งแรกในปี 1997 เมื่อเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีกในฮ่องกง มี <br>
รายงานป่วย 18 รายและเสียชีวิต 6 ราย <br>
<br>
2. แหล่งของโรควิธีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่สัตว์ <br>
<br>
นกเป็ดน้ำ นกอพยพ และนกอื่นๆ เป็นแหล่งรังโรคในธรรมชาติ โดยไม่แสดงอาการ <br>
ใดๆ ประทานเนื้อไก่หรือสัตว์ปีก และไข่ เฉพาะที่ปรุงสุกเท่านั้น <br>
งดการรับประทานอาหารที่ปรุงกึ่งสุก กึ่งดิบ เพราะเชื้อโรคต่างๆจะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน <br>
ฉะนั้นการรับประทานไก่และไข่ที่ปรุงสุก แล้วจะไม่สามารถทำให้ติดโรค <br>
<br>
- ควรเลือกซื้อเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่ จากแหล่งที่มีการรับรองมาตรฐาน และเลือกเฉพาะเนื้อไก่ <br>
ที่ดูใหม่สด ไม่มีเนื้อสีคล้ำหรือมีจุดเลือดออก ส่วนไข่ ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่ ไม่มีมูลไก่ติดปนเปื้อน <br>
และควรล้างทำความสะอาดก่อน <br>
<br>
- หลีกเลี่ยงการใช้มือที่หยิบจับกับสิ่งที่ปนเปื้อนแล้วมาสัมผัส ตา จมูก ปาก <br>
และควรล้างมือบ่อยๆ โดย <br>
เฉพาะอย่างยิ่งหลังการจับต้องเนื้อสัตว์ปีก <br>
รวมถึงเครื่องในและเปลือกไข่ที่มีมูลไก่ติดอยู่ <br>
<br>
- ควรแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อไก่สดออกจากเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกหรือเขียง สำหรับ หั่นผัก <br>
ผลไม้ และควรล้างทำความสะอาดเขียงสำหรับหั่นเนื้อไก่สดและผึ่งแดดให้แห้ง ทุกครั้ง <br>
<br>
- หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในระยะที่มีการระบาดในพื้นที่ ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายเช่น ผ้าปิดปาก <br>
ถุงมือ แว่นตา พลาสติกกันเปื้อน รองเท้าบู๊ท <br>
<br>
- เปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่ <br>
และน้ำสะอาด และนำอุปกรณ์ป้องกันไปซักหรือล้างให้สะอาดและผึ่งแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีก <br>
<br>
- ทำลายซากสัตว์ที่ตายแล้วโดยการฝังกลบ ห้ามทิ้งตามที่สาธารณะหรือโยนทิ้งน้ำ <br>
<br>
- รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โดยการรับประทานอาหารให้ <br>
ครบทุกหมู่ นอนหรับพักผ่อนอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ <br>
<br>
- หากมีอาการไม่สบายเป็นไข้ ไอ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ เป็นต้น โดยเฉพาะผู้มีอาชีพ <br>
เลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย และขายสัตว์ปีก หรือเกี่ยวข้องกับซากสัตว์ปีก ให้รีบไปพบแพทย์และบอก <br>
อาการ และประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีก เพื่อรีบทำการรักษาและป้องกันอาการแทรกซ้อน <br>
<br>
<br>


7 Nov 2005  |  Post by : StrawberryPinky

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: MoccaGreentea 1
โพสต์โดย: bloomingtulip 2
โพสต์โดย: taladsod 3
โพสต์โดย: roungkaw_indy 2
โพสต์โดย: Rafter 3
โพสต์โดย: junenaja 5
โพสต์โดย: lukjoe 5
โพสต์โดย: nutchanun 1

Interest Product