Talk About Women

การผ่าตัดคลอดเป็นยังไง
แผลจะหายช้าหรือเปล่า <br>
<br>
จะเจ็บไหม.....ทำการอบซาวน่าได้ไหมหลังคลอด <br>
<br>
น้ำหนักจะลดลงไวหรือเปล่าค่ะ <br>
<br>
มีวิธีทำไง

7 Jun 2006  |  Post by : 11
Comment 3
การสวนอุจจาระ ทำยังไงหรอคะ แล้วเจ็บรึป่าว ตอนใส่สายสวนปัสสาวะใส่ตอนไหนหรอคะ เจ็บรึป่าว กลัวจังเลยคะ <img src="pic/b5.gif">

23 Jun 2008  |  Comment by : jenny
Comment 2
ขอบคุณ พี่นก ด้วยคนค่ะ <br>
<br>
มีความรู้ค่ะ <br>
<br>
แต่ทำให้กลัวการผ่าตัดคลอดมากๆๆๆค่ะ <br>
<br>


7 Jun 2006  |  Comment by : nongploy-ploy
Comment 1
การผ่าตัดคลอดในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีความพอใจกับการทำผ่าตัดคลอดมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ จากการไม่เจ็บปวดขณะคลอด กำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนได้ และสามารถคลอดตามฤกษ์ยามที่หามาได้ นอกจากนี้การที่เทคในโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นและทำได้ง่ายขึ้น แพทย์ผู้ทำผ่าตัดจึงนิยมทำมากขึ้นด้วยเหตุผลในการผ่าตัดที่ไม่ใช่เหตุผลทางการแพทย์ แต่การผ่าตัดคลอดมีข้อเสียคือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น อาจเกิดอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดได้มากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ <br>
<br>
การผ่าตัดคลอด คือ การผ่าตัดเพื่อทำคลอดทารกและรกโดยการผ่าตัดผ่านหน้าท้องและมดลูก ซึ่งปกติแพทย์จะทำผ่าตัดคลอดโดยการพิจารณาว่าถ้าปล่อยให้การคลอดดำเนินต่อไปแล้วก็ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ หรือคลอดได้แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารก ซึ่งเหตุผลทางการแพทย์ที่ต้องทำผ่าตัดคลอดมีดังนี้ <br>
<br>
1. ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่มากกว่าขนาดของช่องเชิงกราน <br>
<br>
2. ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ทารกอยู่ในแนวขวางกับแนวลำตัวมารดา ซึ่งถ้าปล่อยให้คลอดทางช่องคลอดจะเกิดอันตรายทั้งมารดาและทารก <br>
<br>
3. ทารกในครรภ์มีการขาดออกซิเจน ซึ่งต้องรีบช่วยเหลือทารกทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้ <br>
<br>
4. การคลอดล่าช้าหรือการคลอดหยุดชะงัก คือการที่ปากมดลูกไม่ยอมเปิดขยายเพิ่ม ทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ <br>
<br>
5. มีเลือดออกจำนวนมากขณะตั้งครรภ์เนื่องจากภาวะรกเกาะต่ำ ซึ่งเป็นภาวะที่อาจทำให้มารดาและทารกเสียชีวิตได้ <br>
<br>
6. มารดาเคยทำผ่าตัดคลอด หรือผ่าตัดที่บริเวณมดลูกมาก่อน ซึ่งถ้าปล่อยให้เจ็บครรภ์คลอดอาจทำให้มดลูกแตกได้ <br>
<br>
7. มารดามีโรคประจำตัวที่เป็นอันตรายต่อมารดาและทารกถ้าปล่อยให้เจ็บครรภ์คลอดเอง <br>
<br>
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดคลอด <br>
การทำผ่าตัดคลอดมีทั้งแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและทำผ่าตัดคลอดในกรณีฉุกเฉิน แต่การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดจะคล้าย ๆ กันดังนี้ <br>
<br>
1. มารดาที่ทำผ่าตัดคลอดกรณีกำหนดไว้ล่วงหน้า ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ <br>
<br>
2. มารดาต้องลงชื่อยินยอมให้แพทย์ทำผ่าตัด <br>
<br>
3. ในวันก่อนผ่าตัดพยาบาลจะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณหน้าท้องและอวัยวะสืบพันธุ์และเจาะเลือดเพื่อใช้ในการเตรียมหาเลือดในหมู่ที่เหมาะกับมารดา และเก็บเลือดไว้ใช้ในกรณีที่มารดาเสียเลือดจำนวนมากในขณะผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด <br>
<br>
4. มารดาจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายบนเตียง เช่น การหายใจเข้าออกลึก ๆ และการไออย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะมารดาที่ต้องดมยาสลบ เพื่อให้ถุงลมปอดขยายตัวเต็มที่และป้องกันภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมปอดแฟบ ปอดบวม การออกกำลังกายขา การพลิกตะแคงตัว และการลุกเดินโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด และระบบทางเดินอาหาร และยังส่งเสริมการหายของแผลอีกด้วย <br>
<br>
5. ในวันทำผ่าตัดมารดาจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ถ้าการผ่าตัดคลอดกำหนดไว้ล่วงหน้าส่วนใหญ่จะงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ทำความสะอาดร่างกายโดยการแปรงฟัน อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อย เก็บของมีค่า เครื่องประดับ ฟันปลอม แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ ส่วยพยาบาลจะสวนอุจจาระในเช้าวันผ่าตัด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อชดเชยและปรับสภาพของร่างกายให้พร้อมที่จะรับการผ่าตัด และใส่สายสวนปัสสาวะพร้อมทั้งคาสายสวนปัสสาวะไว้ <br>
<br>
หลังจากเตรียมร่างกายพร้อมแล้ว มารดาจะถูกส่งไปยังห้องผ่าตัดเพื่อรับการผ่าตัดคลอดต่อไป

7 Jun 2006  |  Comment by : StrawberryPinky

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: impish 11
โพสต์โดย: ถามความเห็น 4
โพสต์โดย: fff 4
โพสต์โดย: Chollada 0
โพสต์โดย: kirinkin 0
โพสต์โดย: Ladylady 13
โพสต์โดย: Tangmo 5
โพสต์โดย: prnews 0

Interest Product