Talk About Women

24 เรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับการเลี้ยงลูกและดูแลครอบครัว
1. การเลือกคลอด <br>
เริ่มตั้งแต่การวางแผนเกี่ยวกับคลอด ต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคลอดแต่ละแบบให้ดีค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้มีทางเลือกเรื่องการคลอดมากขึ้น เช่น <br>
<br>
Natural Birth เป็นวิธีคลอดวิถีธรรมชาติ โดยที่คุณแม่จะเป็นผู้ควบคุมการคลอดด้วยตัวคุณแม่เอง <br>
<br>
คลอดในน้ำ มีหลายโรงพยาบาลที่สามรถให้บริการด้วยวิธีการคลอดนี้ ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บครรภ์เพราะการที่ได้ลอยตัวอยู่ในน้ำจะทำให้คุณแม่รู้สึกเบาสบาย <br>
<br>
ส่วนการผ่าตัดคลอดนั้นจะใช้ในกรณีที่การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงปัจจุบันมีการคลอดอีกหลายวิธีค่ะ ซึ่งถ้าคุณแม่สนใจคงต้องศึกษาข้อมูล ทั้งข้อดีข้อเสียในระยะสั้นระยะยาว รวมทั้งค่าใช้จ่ายของการคลอดแต่ละวิธีด้วยนะคะ เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจค่ะ <br>
<br>
<br>
2. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ <br>
นมแม่มีคุณค่า ในน้ำนมแม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ สร้างเม็ดเลือดขาวที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายชนิดที่นมไหนๆ ก็ไม่มีทางสู้ <br>
<br>
การจะประสบความสำเร็จในการให้นมนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อมการเตรียมร่างกาย สิ่งสำคัญอยู่ที่ใจและแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างค่ะ <br>
<br>
ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถหาได้จากคนใกล้ตัวคุณแม่ หรือคลินิกนมแม่ที่ปัจจุบันนี้มีอยู่ทั่วไปทุกโรงพยาบาลและอนามัย ที่พร้อมให้บริการสำหรับคุณแม่ค่ะ <br>
<br>
<br>
3. เตรียมพร้อมรับบทบาทใหม่ <br>
ช่วงเริ่มต้นของชีวิตน้อยๆ เป็นช่วงของการทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ยิ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หมาด ก็ต้องเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงเข้าไว้ เพราะต้องปรับพฤติกรรมการนอนตามลูกค่ะ ช่วงแรกนี้เจ้าตัวน้อยจะตื่นบ่อยมาก แทบไม่ได้กินไม่ได้นอนเลยค่ะ ขอบอก…แต่ถ้ามีการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง งานนี้ก็ไม่เกินความสามารถค่ะ <br>
<br>
<br>
4. รู้เรื่อง…อาการเจ็บป่วย <br>
เป็นไข้หวัด ปวดหัว ตัวร้อน น้ำมูกไหล หรือการท้องเสีย เป็นต้น อาการเจ็บป่วยแบบนี้เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคนค่ะ การรู้จักลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของแต่ละโรค และวิธีการดูแลรักษาพื้นฐาน เช่น การเช็ดตัวลดไข้ วิธีการให้ยาลดไข้ที่ถูกต้อง ฯลฯ หรือเมื่อเกิดอาการแบบไหนต้องพาไปหาหมอ เท่านี้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ <br>
<br>
<br>
5. ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน <br>
เด็กทุกคนจำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย วัคซีนที่มีการกำหนดจากกระทรวงสาธารณสุขให้เด็กทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนโต ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกไปรับวัคซีนที่กำหนดให้ครบ นอกจากนี้ก็ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่ต้องได้รับหากมีการระบาดของโรคตามพื้นที่ด้วยค่ะ <br>
<br>
เรื่องวัคซีนนี้ รวมทั้งพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก มีคำแนะนำอย่างชัดเจนในสมุดสุขภาพประจำตัวลูก ซึ่งได้รับแจกเมื่อคลอดค่ะสมุดนี้ต้องเก็บไว้อย่างดี เพื่อคอยดูแลคอยเตือนและคอยบันทึก ทำให้รู้ประวัติสุขภาพของลูกไงคะ <br>
<br>
<br>
6. อาหาร…ของลูกรัก <br>
ในช่วงขวบปีแรก นมคืออาหารหลักของลูก การให้อาหารเสริมในช่วงนี้ก็เพื่อให้ลูกน้อยได้รู้จักรสชาติต่างๆ ของอาหาร ทั้งช่วยให้อวัยวะในการเคี้ยวได้พัฒนาทักษะขึ้นด้วยค่ะ <br>
<br>
โดยควรเริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุ 4 - 6 เดือน จนลูกคุ้นก็ค่อยๆ เพิ่มจนกลายเป็นอาหารหลักครบ 3 มื้อในที่สุดค่ะ อย่างไรก็ตามตอนนี้องค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ว่าทารกน้อยควรได้รับนมแม่อย่างเดียวจนครบ 6 เดือนค่ะ และอย่าลืมว่าอาหารของลูกต้องมีสารอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ และไม่ปรุงอาหารรสจัดนะคะ <br>
<br>
<br>
7. พัฒนาการ…ฮ็อตฮิตอีกเรื่อง <br>
พัฒนาการเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มักจะตั้งตาลุ้นทุกวินาที ดูว่าวันนี้ลูกมีพัฒนาการเป็นอย่างไร คลานได้ นั่งได้ ลุกขึ้นยืน ก้าวเดิน พอลูกทำได้ก็จะเฮ! กันทั้งบ้าน <br>
<br>
<br>
6 เดือนแรกของลูกจะเห็นว่ามีพัฒนาการที่รุดหน้าไปเร็วมาก เป็นพัฒนาการจากศรีษะไปเท้า และพัฒนาจากศูนย์กลางไปปลายนิ้ว เรื่องพัฒนาการของลูกนี้ในสมุดสุขภาพของลูกมีบอกไว้เป็นเดือนต่อเดือนเชียวค่ะ และอย่าลืมวิธีการกระตุ้นหรือส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมทั้งจากสิ่งแสดล้อมรอบตัวลูก ผ่านการเล่นของเล่น หรือกิจวัตรประจำวันของลูก และที่สำคัญที่สุดคือตัวคุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นตัวส่งเสริงพัฒนาการของลูกอย่างดีที่สุดด้วยนะคะ <br>
<br>
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้ก็คือลูกมีพัฒนาการเป็นอย่างไร เหมาะสมตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ เร็วกว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าช้ามากไปก็ต้องหันกลับมาดูว่าผิดปกติหรือเปล่าค่ะ <br>
<br>
<br>
8. เรื่องความปลอดภัย <br>
วัยแรกเกิด - 1 ปี อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นคือ พลัดตกหกล้ม น้ำร้อนลวก ทางเดินหายใจอุดตัน เป็นต้น <br>
<br>
วัย 1 - 4 ปี หกล้ม ของตกกระแทก อันตรายจากไฟฟ้า จมน้ำ อุบัติเหตุจากการจราจร เป็นต้น ไม่ใช่เพราะความซุกซนอยู่ไม่สุขจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวหนูๆ ต่างหาก เพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุก็ต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิดและรู้วิธีป้องกัน อีกทั้งจะต้องรู้วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อลูกได้รับอุบัติเหตุด้วยค่ะ <br>
<br>
<br>
9. การเล่นและของเล่น <br>
เพราะเด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเล่นค่ะ นอกจากนี้การเล่นยังส่งผลดีต่อร่างกาย เป็นการออกกำลังกายและกระตุ้นพัฒนาการทั้งสุข สนุก ไม่รู้เบื่อ <br>
<br>
ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกเล็กต้องเหมาะสมตามวัย ไม่ง่ายหรือยากเกินไป และมีความปลอดภัยเป็นสำคัญ ส่วนเด็กโต เวลาที่ลูกได้เล่นเข้ากลุ่มเพื่อนๆ จะช่วยฝึกเรื่องกฎเกณฑ์ การเข้าสังคม กติกาของสังคม รู้จักการรอคอย เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นและวิธีเล่น จึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ แต่ก็อย่าลืมนะคะว่าของเล่นที่ดีที่สุดของลูกก็คือคุณพ่อคุณแม่ค่ะ <br>
<br>
<br>
10. พัฒนาสมองลูก <br>
สมองลูกแรกเกิด - 6 ปี มีเซลล์สมองประมาณ 1 แสนล้าเซลล์ มีจุดเชื่อมต่อมากมาย และถ้ามีการเลี้ยงดูที่ดี การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ลูกรักเกิดการเรียนรู้ มีการกระตุ้นด้วยเสียง ภาพ และสัมผัส ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะทำให้เซลล์สมองมีการส่งสัญญาณเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย เป็นระบบ ทำให้ศักยภาพของสมองลูกเปี่ยมประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ แต่ถ้าลูกมีความเครียด กังวล จะทำให้โครงสร้างสมองเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี <br>
<br>
ความรู้เรื่องกลไกการทำงานของสมอง จะช่วยให้รู้ว่าจะเลี้ยงลูกแบบไหนจึงจะเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการสมอง ที่สำคัญจะได้รู้ว่าอะไรที่ทำแล้วจะไปทำให้เซลล์ประสาทของลูกหยุดชะงักส่งผลให้พัฒนาการบางอย่างหยุดชะงักไปด้วยค่ะ <br>
<br>
<br>
11. ดนตรี ดีหลายอย่าง <br>
เสียงดนตรีที่แตกต่าง ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลาย การได้ฟังเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนอง จังหวะ และความถี่ของเสียงอย่างเพลงคลาสสิก ดนตรีที่เลียนเสียงของธรรมชาติจะเพิ่มการเชื่อมโยงขิงเซลล์ประสาทในสมองของลูกให้เชื่อมต่อกันมากขึ้น <br>
<br>
ซึ่งคุณสามารถทำได้ตั้งแต่ตอนท้องคือเปิกเพลงฟังไปพร้อมกับลูกในท้อง และหลังจากคลอดก็ทำอย่างต่อเนื่อง เปิดเพลงให้ลูกฟังก่อนนอน หรือเป็นเสียงกล่อมของแม่ พอลูกโตขึ้นเปิดเพลงคลอเบาๆ ระหว่างที่ลูกทำกิจกรรม เสียงดนตรียังส่งผลดีต่อจิตใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดนตรีจะไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนของเลือด ทางเดินหายใจ การย่อยอาหาร ฯลฯ <br>
<br>
<br>
12. หนังสือ…รู้ที่จะเลือก <br>
เมื่อลูกเปิดหนังสือ กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ได้ทำงาน ภาพที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ สีสันสดใส รูปคน รูปสัตว์ รูปคน รูปต้นไม้ ฯลฯ ล้วนช่วยฝึกทักษะการใช้สายตาของลูก ส่งเสริมจินตนาการและความคิดให้ลุกได้มากมายค่ะ หนังสือผ้า หนังสือกระดาษ หนังสือพลาสติก วัสดุของหนังสือที่แตกต่างช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องผิวสัมผัส <br>
<br>
เวลาที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกเล็กฟัง หรือเด็กโตที่อ่านเองได้ ลูกจะได้รู้จักคำศัพท์มากขึ้นด้วย ซึ่งหนังสือของลุกที่เหมาะสมกับวัยมีดังนี้ค่ะ <br>
<br>
วัย 6 เดือนแรก ควรเน้นภาพเหมือนจริง <br>
<br>
6 - 12 เดือน ภาพในหนังสือเหมือนจริง ใช้ภาษาสั้นๆ เป็นคำคล้องจอง <br>
<br>
1 - 3 ปี อ่านนิทานที่มีเนื้อเรื่องสั้นๆ ให้ลูกฟัง <br>
<br>
3 - 6 ปี ควรเลือกนิทานที่มีเนื้อเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นค่ะ <br>
<br>
<br>
<br>
13. สอนทักษะการใช้ชีวิตให้ลูก <br>
จะทำอย่างไรให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในสังคมที่มีปัญหาต่างๆ มากมาย โดยไม่ท้อแท้และไม่สิ้นหวัง ยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีความสุข ต้องสินทักษะชีวิตให้ลูกค่ะ เรื่องนี้รักลูกเคยเสนอไว้แล้ว ทักษะชีวิตหมายถึง ความสามารถที่จะจัดการกับสภาพความกดดัน หรือปัญหาที่รายล้อมอยู่รอบตัว ทั้งยังสามารถที่จะเตรียมพร้อมปรับตัวในอนาคตได้ <br>
<br>
วิธีการคือ การที่คุณพ่อคุณแม่สอนลูกได้ด้วยการให้เวลาอยู่กับลูก ให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองตามวัย ให้ลูกเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา รู้วิธีที่จะสื่อสารและมีมนุษยสัมพันธ์ เริ่มจากเรื่องง่ายๆ และค่อยๆ ยากขึ้นหากลูหได้ฝึกหัดจากเรื่องหรือภาวะที่บีบคั้นเล็กๆ ในชีวิตประจำวันตามวัยที่เหมาะสมบ้าง ลูกก็ค่อยๆ เรียนรู้และฝึกฝนตัวเองให้รู้จักรับมือกับเรื่องต่างๆ เป็นการฝึกความสามารถให้ลุกได้รู้จักจัดการด้วยค่ะ <br>
<br>
<br>
14. เตรียมพร้อมวัยเข้าโรงเรียน <br>
โรงเรียนอนุบาลที่ดีจะต้องให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข กระฉับกระเฉง โรงเรียนเป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่ลูกจะได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมใหม่ สอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตัวเอง ได้อยู่ร่วมกับคนอื่น เป็นการพัฒนาทางสังคม ทำให้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ฯลฯ <br>
<br>
จะให้ลูกเรียนที่ไหน สะอาด ปลอดภัย มีสนามเด็กเล่นให้เด็กเล่นสนุกอย่างสร้างสรรค์ มีแนวการเรียนการสอนแบบเตรียมความพร้อม ไม่เร่ง ลูกไปเรียนแล้วมีความสุข และสนุกที่จะไปโรงเรียน รวมทั้งต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็กๆ หรือความเป็นไปของโรงเรียนด้วยค่ะ <br>
<br>
<br>
15. กอด สัมผัส <br>
การแสดงความรักต่อกันด้วยการกอดสัมผัส เป็นวิธีการสื่อสารที่ดีอีกวิธีหนึ่งค่ะเพราะไม่มีอ้อมกอดใดที่จะอบอุ่นเท่ากับอ้อมกอดของคนในครอบครัว เด็กๆ ที่ได้รับการโอบกอด สัมผัสบ่อยๆ จะรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความหนักแน่นเข้มแข็ง <br>
<br>
ผู้ใหญ่เองก็รู้สึกอย่างนี้ใช่ไหมคะ หากครอบครัว พ่อแม่ลุกมีการกอดกัน สัมผัสกัน ความอบอุ่นก็จะเกิดขึ้นค่ะ…แล้ววันนี้กอดกันหรือยังคะ <br>
<br>
<br>
16. เติมหวาน...ให้คู่ชีวิต <br>
เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญสำหรับชีวิตครอบครัวค่ะ เมื่อมีลูกจะทำให้เวลาของชีวิตคู่น้อยลง แต่คุณควรจัดสรรเวลาให้กันและกันนะคะ คอยดูแลกันและกันมีเรื่องอะไรใหม่ๆ มาเล่าสู่กันฟัง มีเวลาให้กันเพียงพอ ลูกไม่ใช่อุปสรรคที่สามีภรรยาจะให้เวลาสำหรับเติมความหวานต่อกันนะคะ เรื่องนี้สำคัญทีเดียว เพราะจะช่วยให้ชีวิตคู่ของคุณยืนยาวกลายเป็นคู่ชีวิตที่อยู่กันยาวนานจนตายจากกันเชียวล่ะ <br>
<br>
<br>
17. ดูดี สุขภาพดี <br>
เราไม่ควรปล่อยให้สุขภาพทรุดโทรมแล้วต้องมานั่งให้คุณหมอช่วยซ่อมกันทีหลังนะคะการณุ้ว่าจะทำอย่างไรให้สุขภาพแข็งแรง เช่น การพักผ่อนที่เหมาะสม นอนหลับให้เพียงพอออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานให้ครบ 5 หมู่ ไม่ทานอาหารมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายจนเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมา เรื่องเหล่านี้เรารู้กันดีอยู่แล้ว แต่หลายคนไม่ใส่ใจที่จะทำ รู้แล้วก็ต้องปฏิบัติด้วยนะคะ <br>
<br>
18. ตรวจสุขภาพประจำปี <br>
โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นเราสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี โรคบางโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้หากรู้แต่เนิ่นๆ โรคบางโรคไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าจะถึงขั้นรุนแรง ดังนั้นการตรวจสุขภาพ เหมือนเป็นการป้องกัน แก้ไขกันตั้งแต่เนิ่นๆ เราควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งรายละเอียดของการตรวจสุขภาพร่างกาย ก็ขึ้นอยู่กับอายุและประวัติของคนในครอบครัว หน้าที่การงานทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มองข้ามกันไม่ได้เลยค่ะ..ว่าแต่ปีนี้คุณตรวจสุขภาพหรือยังค่ะ.. <br>
<br>
<br>
19. พักผ่อนประจำปี <br>
การหาเวลาไปพักผ่อนกับครอบครัว เป็นการชาร์ตแบตเติมพลังให้กับชีวิตได้อย่างดีทีเดียวเชียวค่ะความสุขที่ได้จากการที่คนในครอบครัวได้อยู่ร่วมกันในบรรยากาศที่แปลกใหม่ เด็กได้เรียนรู้ ผู้ใหญ่ได้ผ่อนคลายจาดอาการเครียด ความวุ่นวาย อย่างน้อยปีละ 1 - 2 ครั้งก็จะช่วยให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้นค่ะ <br>
<br>
ครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ควรเลือกสถานที่พักผ่อนแบบที่มีความปลอดภัย มีกิจกรรมให้ลูกๆ ได้เรียนรู้เท่านี้ครอบครัวก็มีความสุขแล้วค่ะ <br>
<br>
<br>
20. รู้ถึงโทษจากความเครียด <br>
เรารู้ว่าความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะถ้าความเครียดอยู่ในระดับที่เหมาะสมจะเป็นแรงผลักดันให้เราทำสิ่งใดๆ ได้สำเร็จ แต่หากมีความเครียดมากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายของคนที่เครียด และส่งผลต่อคนที่ใกล้ๆ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่เครียดก็อาจจะหงุดหงิดใส่ลูก กลายเป็นโรคติดต่อได้เหมือนกัน เมื่อความเครียดเกิดขึ้นจะมีฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งออกมากกว่าปกติ หากฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มสู่เป็นเวลานาน จะส่งผลต่อสมองโดยเฉพาะส่วนฮิปโปแคมปัสที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความจำ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำให้เซลล์ประสาทลดลง และขัดขวางเซลล์ใหม่ๆ ที่กำลังมีการสร้างขึ้นมาด้วย <br>
<br>
เมื่อเครียดแล้วต้องรู้วิธีที่ผ่อนคลาย เช่น การเล่นกีฬา ฟังเพลง ใช้กลิ่นบำบัดหรือทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายหายเครียดค่ะ <br>
<br>
<br>
21. บริหารค่าใช้จ่ายในบ้าน <br>
ค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องใหญ่ของครอบครัว ทั้งค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายทุกเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าขนมของเจ้าตัวเล็ก ยังไม่นับรวมถึงทุนการศึกษาที่ยังมาไม่ถึงของลูก แล้วยังมีอื่นๆ อีกจิปาถะค่ะ <br>
<br>
วิธีการบริหารค่าใช้จ่ายในบ้าน ก็อย่างเช่น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าวันๆ หนึ่งหรือเดือนๆ หนึ่งมีการใช้จ่ายไปเท่าไร พอเอากลับมาดูอีกทีจะได้รู้ว่าเงินที่ควักกระเป๋าออกไปนั้นเหมาะสมหรือไม่ และที่สำคัญควรมีเงินออมเป็นกองทุนของทุกคนในครอบครัว เผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือมีออมไว้สำหรับเพื่อการพักผ่อนหย่อมใจ เป็นทุนการศึกษาให้กับลูกๆ ค่ะ <br>
<br>
<br>
22. บทบาทของการเลี้ยงลูก <br>
หน้าที่ของการเลี้ยงลูกไม่ใช่หน้าที่ของคุณพ่อหรือคุณแม่เพียงใครคนใดคนหนึ่งเป็นหน้าที่ของทั้งสองคนค่ะ ในขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่เป็นสามีและภรรยาที่ดีด้วย ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ผลักภาระการเลี้ยงลูกให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะสิ่งที่ลูกต้องการคือความอบอุ่น ความเข้าใจ และแนวทางการเลี้ยงดูจากทั้งคุณพ่อคุณแม่ค่ะ <br>
<br>
เพราะในสิ่งที่ลูกมองเห็นนั้น ภาพของคุณพ่อคือความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ส่วนคุณแม่จะมีความอ่อนหวาน อ่อนโยน ซึ่งลูกจะได้รับแบบอย่างนี้จากการดู การเห็นและซึมซับสิ่งเหล่านี้จากทั้งคุณพ่อคุณแม่ค่ะ <br>
<br>
<br>
23. รู้เท่าทันสถานการณ์ <br>
ในแต่ละวันโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีข้อมูล ข่าวสาร วิวัฒนาการเทคโนโลยีใหม่ ผลการวิจัยเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องรู้ทันสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ด้วยค่ะ จะได้ไม่ตกยุค ที่สำคัญจะได้ทันกับยุคสมัยของลูกด้วยไงคะ <br>
<br>
<br>
24. ยึดหลักธรรมคำสอนของศาสนา <br>
เมื่อเกิดความทุกข์ คนเราจึงเริ่มหันหน้าเข้าหาวัด ยึดหลักธรรมคำสอนของศาสนาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะคำสอนของทุกศาสนาเป็นสิ่งดี สิ่งที่ควรปฏิบัติ <br>
<br>
แต่ถ้าเราและคนในครอบครัวมีการปฏิบัติตามคำสอนอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เราจะได้ก็คือการเรียนรู้เท่าทันกับอารมณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่หลงไหลไปกับความสุขขณะเดียวกันก็ไม่จมกับความทุกข์ ฯลฯ หากเรามีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจขณะเดียวกันก็มีหลักธรรมคำสอนเป็นเครื่องชี้นำทางครอบครัวก็จะมีแต่ความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตแน่นอนค่ะ <br>
<br>
เชื่อค่ะว่าสำหรับการดำรงและดำเนินไปของครอบครัวนั้น มีหลากหลายเรื่องให้คิดคำนึง ทั้ง 24 เรื่องที่นำเสนอนี้ อาจน้อยไปสำหรับหลายๆ ครอบครัว ดิฉันจึงอยากชวนคุณๆ ผู้อ่าน ซึ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่ช่วยกันตรวจตราและเพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้เป็นหลักคิดแนวทางการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแต่ละครอบครัวค่ะ.

13 Jun 2006  |  Post by : PrincessAngel
Comment 2
มีประโยชน์มากจริงๆคับ

14 Jun 2006  |  Comment by : ช คนนึ่ง
Comment 1
ขอบคุณค่ะ <br>
<br>
ขอบคุณหลายๆๆค่ะ <br>


13 Jun 2006  |  Comment by : nongploy-ploy

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: nui 12
โพสต์โดย: Patrapon 21
โพสต์โดย: pampamna 3
โพสต์โดย: mammoth 16
โพสต์โดย: StrawberryPinky 1
โพสต์โดย: Lemonade 0
โพสต์โดย: PRKTC 0
โพสต์โดย: Bowsx 4

Interest Product