Talk About Women

เรื่องเบื้องหลังงานพระราชพิธี
ได้รับเรื่องนี้มาจาก forward email อ่านแล้ว อมยิ้ม และน้ำตาไหล <br>
รู้สึกปลื้มใจมากๆ ..อยาก <br>
ให้ทุกๆ คนได้ลองอ่านด้วย <br>
<br>
อยากให้เครดิตกับเจ้าของเรื่อง แต่ไม่ทราบว่า ผู้เขียนเรื่องน่าประทับใจนี้ <br>
เอาไว้ เป็นใคร แต่ <br>
เธอว่า.. เธอเป็น เลซอง ที่เข้าเฝ้า รับใช้กษัตริย์ในช่วงงานฉลองครองราชย์ 60 <br>
ปีในหลวง <br>
<br>
ยังไง ต้องขอขอบคุณมากๆ นะคะ ที่เขียนถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ แบบนี้ <br>
ให้พวกเราคนไทยอีกหลายๆ <br>
คนที่ไม่มีโอกาศได้อยู่ตรงนั้นฟัง ขอบคุณจริงๆ ค่ะ <br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
คณะของสวาซิแลนด์ <br>
ทำเอาชาวบ้านหัวใจเกือบวาย ด้วยการประกอบพิธีโดยคุณ &quot;Spiritualist&quot; <br>
ในคณะ <br>
เมื่อคราวเสด็จฯ พระที่นั่งอนันตฯ ตอนที่คณะจะเสด็จกลับ คุณ <br>
Spiritualist <br>
ซึ่งได้รับเชิญให้มากับกษัตริย์สวาซิแลนด์คนนี้ก็เดินกลับมาหาในหลวง <br>
แล้วก็ตะโกนเสียงดังมาก ท่าทางขึงขังราวกับจะเข้ามาทำร้าย <br>
แล้วก็เดินจากไป <br>
ขณะที่พระองค์ท่านพระพักตร์นิ่งมาก ๆ ส่วนทุกคนในที่นั้นหน้าซีดเผือด <br>
คืนนั้น ทหารของวังก็มาที่โรงแรมทันที <br>
เล่นเอานายตำรวจเกียรติยศของเราที่เป็นราชองครักษ์ให้กับคณะถึงกับลมใส่ <br>
แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรค่ะ ในวังสั่งให้มาสอบถามฝ่ายสวาซิแลนด์ว่า <br>
คุณหมอผีแกพูดว่าอะไร และท่าทางในขณะนั้นมีความหมายว่าอย่างไร <br>
คำตอบน่ารักมาก เค้าบอกว่า นั่นคือพิธีถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว <br>
แต่เสียดายมากที่ไม่สามารถทำได้อย่าง &quot;ครบเครื่อง&quot; <br>
เพราะตามปกติต้องมีชุดประจำชาติ (ซึ่งจะมีหอก และไม้เท้า) <br>
แต่โดยที่เราไม่อนุญาตให้พกอาวุธ <br>
(ยกเว้นเป็นเครื่องแต่งกายปกติของกษัตริย์ <br>
อาทิ ชุดของ <br>
king คูเวต และมาเลเซียซึ่งเหน็บกริชด้วย) <br>
จึงไม่สามารถทำได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง แล้วขอโทษมาด้วย <br>
คนที่ได้ยินเลยอมยิ้มกันไปตาม ๆ กัน <br>
....................................................................... <br>
................................... <br>
สมเด็จพระบรมนาถสีหมุนี <br>
วันเสด็จฯ ไปกองทัพเรือนั้น ประชาชนมารอรับเสด็จเนืองแน่น <br>
พระองค์ท่านทรงโบกพระหัตถ์อยู่ในรถ <br>
จนคุณตำรวจเกียรติยศทูลถามว่าทรงประสงค์จะให้เอากระจกลงหรือไม่ ตอนแรก <br>
พระองค์ท่านทรงปฏิเสธ แต่ในที่สุด <br>
เมื่อทอดพระเนตรเห็นฝูงชนที่บีบเข้ามาเรื่อย ๆ รถก็เคลื่อนไปได้ช้า <br>
จึงรับสั่งให้เอากระจกลง พอชาวบ้านเห็นก็ตะโกนกันใหญ่ว่า ทรงพระเจริญ <br>
พระองค์ท่านแย้มสรวลให้ จนมีเสียงผู้หญิงคนนึงตะโกนฝ่ามาจากฝูงชนว่า <br>
&quot;ทรงหล่อมาก ๆ&quot; <br>
คราวนี้พระองค์ท่านแย้มพระสรวลไม่หุบเลย <br>
....................................................................... <br>
.................... <br>
มีคนหลังไมค์มาถามเราว่า เราไปทำอะไรมาเหรอ <br>
ถึงรู้เรื่องที่เอามาเล่าเนี่ย <br>
ก็ขอตอบละกันว่าไปเป็น &quot;เลซอง&quot; มาค่ะ <br>
เลซอง (liaison) คือเจ้าหน้าที่ประสานงานให้กับคณะของพระราชอาคันตุกะ <br>
ทุกคณะจะมีเลซองประจำคณะละ 2 คนขึ้นไป หลัก ๆ <br>
คือเป็นเลซองตัวพระประมุข 1 <br>
คนและผู้ช่วยเลซอง 1 คน แต่หากมีพระชายา / <br>
พระสวามีโดยเสด็จด้วยก็จะเพิ่มเลซองอีก 1 คน (ของมาเลเซียกับญี่ปุ่น <br>
มีคณะละ <br>
4 คน เนื่องจากคณะใหญ่มาก ญี่ปุ่นมีผู้ตามเสด็จประมาณ 200 คน) <br>
พูดถึงเลซองแล้วก็คิดถึงสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน <br>
และเจ้าหญิงแมรี่แห่งเดนมาร์ก <br>
เกร็ดน่ารัก ๆ เรื่องนี้คือว่า ทั้งสองพระองค์เคยเป็นสามัญชนมาก่อน <br>
(ควีนซิลเวียเป็นชาวเยอรมัน ส่วนเจ้าหญิงแมรี่เป็นชาวออสเตรเลีย) <br>
และเคยเป็นเลซอง จึงได้พบกับกษัตริย์สวีเดน และเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก <br>
เมื่อท่านเสด็จฯ ไปเยือนประเทศบ้านเกิดของทั้งสองพระองค์ <br>
<br>
เอ้อ ไม่อยากบอกเลยว่าข้อมูลนี้เลยเป็นแรงบันดาลใจให้สาว ๆ <br>
หลายคนอยากเป็นเลซองให้กับคณะ ๆ หนึ่ง <br>
ซึ่งไม่ต้องบอกก็คงรู้กันดีนะคะว่าเป็นคณะไหน <br>
แต่.. เสียใจด้วยจ้า คณะนั้น เค้าจัดเลซองผู้ชายให้แล้ว (ฮือ เสียดาย) <br>
....................................................................... <br>
.................................... <br>
<br>
บรูไนกับมาเลเซีย <br>
คืนวันที่ 12 ราว ๆ 2 ยาม เห็นจะได้ เจ้าหน้าที่สถานทูตบรูไน 3 คน <br>
มาที่โรงแรม Shangri-La และได้ขอพบเลซองมาเลเซีย แล้วก็บอกว่า <br>
ควีนบรูไนมีของมาถวายองค์รายา ประไหมสุหรี อากง (ควีนมาเลเซีย) <br>
ต้องถวายให้ได้ในคืนนั้น <br>
ของนั้นเป็นถุงกระดาษสีน้ำตาลเล็ก ๆ มี scotch tape พัน ๆ อยู่ <br>
ดูแล้วไม่เรียบร้อยเลยแม้แต่น้อย <br>
แต่เจ้าหน้าที่บรูไนมีเอกสารมาให้เซ็นรับอย่างดี <br>
และยืนยันต้องถวายให้ได้ <br>
โชคดีว่าขณะนั้น ทรงประทับเสวยพระกระยาหารมื้อดึกอยู่ ยังไม่เข้าบรรทม <br>
ราชเลขาธิการมาเลเซียจึงได้นำของดังกล่าวเข้าไปถวายโดยใส่พาน <br>
แต่มิได้แกะห่อออกดู จึงทรงรับสั่งให้แกะห่อ <br>
เอ่อ ทายสิคะว่าของในห่อที่ดูไร้ค่ามาก ๆ คืออะไร <br>
<br>
มันคือ เครื่องเพชรค่ะ เครื่องเพชรอันใหญ่เบ้ง ประกอบด้วยพัชราวลัย <br>
(สร้อยคอ) <br>
กุณฑล (ต่างหู) และกำไลข้อพระกรอีก 1 คู่ <br>
(ปาดเหงื่อ 1 ที) งานนี้ เลซองเกือบซวยค่ะ เธอสารภาพกับดิฉันว่า <br>
คิดว่าจะแอบเอาไปโยนทิ้งอยู่แล้ว <br>
เพราะสภาพของห่อดีกว่าห่อขนมไข่หงส์นิดเดียว <br>
! <br>
....................................................................... <br>
....................................................................... <br>
....................................................................... <br>
.... <br>
speech ประวัติศาสตร์ที่จับใจคนทั้งโลกขององค์สุลต่านแห่งบรูไนค่ะ <br>
ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว <br>
ท่านได้ทรงขอข้อมูลจากฝ่ายไทยเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <br>
เพื่อเตรียมการยกร่าง <br>
และคำถามที่ถามกันมากมากเหลือกเกินว่าใครคือผู้ยกร่าง <br>
ผู้ร่างก็คือ องค์สุลต่านนั่นเองค่ะ <br>
ยืนยันจากเจ้าหน้าที่โต๊ะบรูไนของกระทรวงการต่างประเทศ <br>
ที่นั่งทำงานอยู่ข้าง <br>
ๆ ดิฉันเนี่ยแหละเพราะเธอเป็นคนให้ข้อมูลท่านไปเองค่ะ <br>
<br>
และท่านทรงยกร่างเองและรัฐมนตรีต่างประเทศ เพียงเตรียมเป็นประเด็นสั้น <br>
ๆ <br>
(pointers) <br>
ให้ทราบว่าทรงปลาบปลื้มพระทัยยิ่งกับความเอาพระทัยใส่ของในหลวงของเรา <br>
<br>
ที่ทรงรับสั่งแสดงความยินดีกับองค์สุลต่านที่พระชายาชาวมาเลเซียมีประสูติกาลพระโอรสเพียง <br>
1 สัปดาห์ก่อนเสด็จมาประเทศไทย <br>
<br>
อยากจะบอกว่า ภาษาอังกฤษที่ใช้นั้น ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเลย <br>
เป็นภาษาที่แสนจะง่าย ธรรมดาสามัญ แต่เมื่อประกอบกันขึ้นเป็น speech <br>
แล้ว <br>
กลับซาบซึ้งกินใจอย่างยิ่ง <br>
<br>
....................................................................... <br>
....................................................................... <br>
...................................................................... <br>
พ.ต.ท.เชิดชาย ชมธวัช วัย 64 ปี นายตำรวจเกษียณ <br>
ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 <br>
ที่ได้รับพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้าพระประมุขแห่งญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด <br>
คุณลุงเชิดชาย เล่าย้อนเวลาเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา <br>
เมื่อครั้งที่ยังรับราชการในตำแหน่ง รองผกก.หน.สภ.อ.ขุนยวม <br>
จ.แม่ฮ่องสอน <br>
ได้พบว่าในพื้นที่ อ.ขุนยวม <br>
<br>
มีข้าวของเครื่องใช้ของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกหลงเหลืออยู่กระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก <br>
<br>
เลยมีความคิดริเริ่มที่จะรวมรวมสิ่งที่หลงเหลือจากประวัติศาสตร์เหล่านี้รวมกันไว้ <br>
เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้กับคนรุ่นหลัง <br>
จึงเริ่มสะสมและเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 <br>
ขึ้นนับแต่นั้นมา <br>
คุณลุงก็ได้รับหนังสือเชิญจากสถานทูตญี่ปุ่น <br>
<br>
โดยมีข้อความเชิญตัวคุณลุงเองและภรรยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตและสมเด็จพระจักร <br>
พรรดินีมิชิโกะ <br>
<br>
ในวันที่ 13 มิ.ย. <br>
โดยข้อความทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษและเขียนชื่อคุณลุงเป็นภาษาไทย <br>
และเจ้าหน้าที่ก็ได้มอบภาพถ่ายของทั้งสองพระองค์ให้กับคุณลุงด้วย <br>
หน้าที่ได้จัดลำดับให้ผมเข้าเฝ้าเป็นลำดับที่ 3 <br>
จากผู้ที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้ากว่า 40 คน <br>
<br>
เมื่อได้เข้าเฝ้าพระจักรพรรดิอากิฮิโตได้สัมผัสมือกับผมและตรัสผ่านล่ามว่ารู้สึกขอบคุณ <br>
<br>
และขออภัยที่ทำให้ผมต้องเดินทางมาไกลและตรัสว่าในนามของประชาชนชาวญี่ปุ่นและในนามของปร <br>
ะมุขของประเทศญี่ปุ่น <br>
ขอขอบคุณที่ได้จัดสร้าง <br>
พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวขึ้นมาและฝากความระลึกถึงชาวบ้าน 3 <br>
คนที่ไม่มีโอกาสเดินทางมาด้วย <br>
<br>
ซึ่งในการพูดคุยพระองค์ทรงมีอัธยาศัยอย่างไมตรีและไม่ถือตัวสร้างความปีติให้กับผมและภรรยาอย่า <br>
งที่สุด <br>
โดยการเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา <br>
สมเด็จพระจัรพรรดิอากิฮิโตได้พระราชทานจอกเงิน <br>
ที่มีตราราชวงศ์ญี่ปุ่นประทับอยู่ให้กับผมและภรรยาด้วย&quot; <br>
คุณลุงเชิดชาย ยังบอกด้วยว่า <br>
<br>
พิพิธภัณฑ์สงครามโลกมีความสำคัญกับชาวญี่ปุ่นและคนไทยที่ผ่านพ้นประวัติศาสตร์ร่วมกันโดยเฉพาะเส้ <br>
นทางเดินทัพที่พาดผ่าน <br>
<br>
อ.ขุนยวม เรียกกันว่าเป็น &quot;เส้นทางโครงกระดูก&quot; <br>
โดยขณะนั้นทหารฝ่ายพันธมิตรได้ปิดล้อมกองทหารญี่ปุ่น <br>
ตั้งแต่เมืองโอคิมาของอินเดียตอนใต้ <br>
ไล่ลงมาผ่านอิรวดีของพม่าและเข้าสู่ภาคเหนือของไทยที่ อ.ขุนยวม <br>
ซึ่งยุกธการปิดล้อมครั้งนั้นได้ทำให้ทหารญี่ปุ่นต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก <br>
และเนื่องในปีนี้เป็นปีมงคล <br>
คุณลุงจึงตั้งใจถวายพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ <br>
2 <br>
<br>
ให้เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระจักรพรรดิอากิฮิโตแห่งญี่ปุ่น <br>
และปฏิญาณว่า <br>
<br>
จะตั้งใจดำเนินการสะสมสิ่งของในอดีตรวมทั้งเป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อไปด้วย <br>
....................................................................... <br>
....................................................................... <br>
........................ <br>
<br>
แม่ค้าผลไม้ที่เจ้าชายแห่งลักเซมเบิร์ก ได้เสด็จฯเยี่ยมชมตลาด <br>
และทรงลองเสวยทุเรียน ซึ่งคุณแม่ค้า สาว 2 พี่น้อง <br>
เจ้าของร้าน“นันท์-น้อย” <br>
เล่าถึงความประทับใจและระทึกใจต่อเจ้าชายหนุ่มว่า <br>
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังขายผลไม้อยู่หน้าร้าน <br>
ปรากฎว่าบริเวณหน้าตลาด อตก.มีผู้คนคึกคักผิดปกติ <br>
เลยรู้ว่ารอชมพระบารมีของเจ้าชาย คุณแม่ค้าและน้องสายก็ตื่นเต้นดีใจ <br>
ที่มีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาชมตลาด <br>
(ขอแทรกค่ะ) แถมการเสด็จครั้งนี้ <br>
ท่านทรงพระดำเนินมาตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส มายังตลาด <br>
คิดดูว่าทั้งร้อนทั้งไกลขนาดไหน <br>
คุณแม่ค้าเล่าอย่างเห็นภาพว่า <br>
“มาถึงพระองค์ท่านก็เลี้ยวมาที่ร้านของดิฉันทันที <br>
พระองค์ทรงหยุดมองทุเรียนที่วางขายอยู่หน้าร้าน <br>
ซึ่งดิฉันก็บอกกับล่ามของพระองศ์ว่า สามารถชิมได้ <br>
พระองค์มีท่าทีสนใจ <br>
และยิ้มแย้มที่ได้เห็นทุเรียน <br>
แต่ทางผู้ติดตามบอกว่าพระองค์ไม่สามารถชิมได้ <br>
เพราะเกรงว่าจะท้องเสีย แต่พอล่ามได้บอกกับพระองค์ว่า <br>
แม่ค้าอยากให้ชิม <br>
พระองค์จึงตรัสว่าจะลองชิม <br>
แล้วผู้ติดตามก็ได้ให้ดิฉันเช็ดมีดให้สะอาด <br>
แล้วเอาไม้มาให้พระองค์จิ้มเสวย แต่ปรากฎว่าพระองศ์ทรงใช้มือหยิบเสวย <br>
พร้อมชมว่า อร่อยมากๆ“ <br>
คุณแม่ค้าเล่ามาถึงตรงนี้ ก็ยิ้มปลื้ม ก่อนจะบอกว่า “เสวยทุเรียนเสร็จ <br>
ดิฉันก็ถวาย มังคุดให้เสวยต่อ ซึ่งพระองค์ก็ชอบมากอีกเช่นกัน <br>
ดิฉันเลยบอกผู้ติดตามว่าจะขอถวายผลไม้ให้ได้ไหม แต่ทางผู้ติดตามบอกว่า <br>
จะขอซื้อ เพราะถ้าถวาย ก็กลัวว่าแม่ค้าจะขาดทุน <br>
เพราะต้องซื้อเป็นจำนวนมาก” <br>
เท่านั้นแหละ เธอถึงยอมใจอ่อน ตัดใจขายทุเรียนให้พระองค์ท่านไป 4 กิโล <br>
ราคา 1 <br>
พันบาท แล้วก็แถมผลไม้อย่างอื่นให้ด้วย <br>
คุณพี่แม่ค้าเล่าตอนนี้อย่างปลื้มสุดๆ อีกว่า <br>
“พระองค์ท่านถามดิฉันว่าทำไมต้องให้ฟรี <br>
ดิฉันบอกว่าพระองค์เป็นแขกของในหลวง <br>
พระเจ้าแผ่นดินที่ดิฉันเคารพรักมาก เมื่อพระองค์มาเยือนประเทศไทย <br>
มาเป็นแขกของพระเจ้าแผ่นดิน ดิฉันก็ต้องต้อนรับให้ดีที่สุดเช่นกัน <br>
พอล่ามแปลให้ฟัง พระองค์ท่านก็ทรงยิ้มแย้ม “ <br>
<br>
หลังจากวันนี้ คุณพี่แม่ค้าก็มีเหตุระทึกใจเกิดขึ้น เพราะวันถัดมา <br>
จู่ๆ <br>
ก็มีโทรศัพท์ของบุคคลผู้ไม่คุ้นเคย โทรมาหา <br>
และบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสายสืบ สน.บางซื่อ พอรู้เท่านั้นแหละ <br>
คุณพี่แม่ค้าต๊กกะใจ “นึกว่าพูดอะไรออกไป” <br>
แต่ปรากฎว่า คุณพี่ตำรวจนายนั้น โทรมาบอกว่า <br>
“คืนนั้นเจ้าชายทรงนอนไม่หลับ <br>
เพราะยังคิด และประทับใจในคำพูดที่ดิฉันมีต่อพระเจ้าแผ่นดิน <br>
และปลื้มใจที่มีประชาชนชาวไทยรักในหลวงมากมายขนาดนี้” <br>
...โอย ฟังแล้วปลื้มหัวใจเจ้าค่ะ <br>
คุณพี่แม้ค้าเลย ตบท้ายว่า ที่เจ้าชายทรงเสด็จฯ มาเสวยทุเรียนที่ร้าน <br>
ดิฉันรู้สึกดีใจมาก และถือเป็นวาสนาว่าครั้งหนึ่งในชีวิต <br>
เคยมีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งเสด็จมา <br>
ดิฉันว่าประชาชนของประเทศลักเซมเบิร์กบางคน <br>
ยังไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านเหมือนดิฉัน <br>
ถ้าเป็นไปได้ดิฉันอยากให้ท่านเสด็จมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง” <br>
คุณพี่แม่ค้าว่างั้น ...ฮึ โชคดีกว่าอิฉันอีกนะคุณพี่ หุหุ

19 Jul 2006  |  Post by : PangRum
Comment 2
ประทับใจมาก ๆ ค่ะ <br>


24 Jul 2006  |  Comment by : honnie
Comment 1
น่ารักจังเลยค่ะ โดยเฉพาะเรื่องสุดท้ายประทับใจจริงๆเลย

19 Jul 2006  |  Comment by : ปลายฝน

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: supphakrit 0
โพสต์โดย: PangRum 5
โพสต์โดย: torika 4
โพสต์โดย: teya 9
โพสต์โดย: secondtry 0
โพสต์โดย: Mammoth 1
โพสต์โดย: tootar555 4
โพสต์โดย: Zackwk 0

Interest Product