Talk About Women

อยากให้นักการเมืองทั้งหลายอ่านเรื่องนี้..เผื่อจะคิดทำเพื่อประเทศมากขึ้น
&quot;มิวนิค&quot; จดหมายเปิดผนึกจากใจ &quot;คนไร้ประเทศ&quot; ถึง &quot;ชาวโลก&quot; <br>
สำหรับคนอายุ 40 ขึ้น คงไม่มีใครลืมโศกนาฏกรรมที่โอลิมปิค เมืองมิวนิค ในปี 1972 ได้ <br>
<br>
เมื่อนักกีฬาชาวยิว ถูกกลุ่มชาวปาเลสไตน์ที่เรียกตัวเองว่า &quot;กันยาทมิฬ&quot; บุกทำร้ายถึงห้องพัก แถมจับตัวประกันเพื่อเรียกร้องการมีอยู่ของประเทศ มีพื้นที่ให้ลูกหลานอยู่ ไม่ต่างจากการรบราฆ่าฟันของชาวยิวเมื่อครั้งสร้างประเทศ <br>
<br>
<br>
เป็นการสูญเสียที่นำมาสู่การดำรงอยู่...ไม่ว่าใครหน้าไหนที่ไร้ประเทศก็คิดเหมือนกันว่าคุ้ม!!! <br>
<br>
<br>
<br>
สตีเว่น สปีลเบิร์ก ผู้กำกับฯ สัญชาติ &quot;ยิว&quot; ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากับเรื่องราว &quot;กู้ชาติ&quot; ก็อดไม่ได้ที่จะหยิบเอารากเหง้าของตัวเองมาตีแผ่ใหม่ เพื่อบอกเล่า และเน้นย้ำถึงแง่มุม &quot;คนใน&quot; ที่ &quot;คนนอก&quot; อาจไม่รู้ <br>
<br>
<br>
เป็น &quot;มิวนิคปี 1972&quot; ฉบับ &quot;สปีลเบิร์ก&quot; ที่สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายของ &quot;สงคราม&quot; โดยเฉพาะที่เรียกว่า &quot;การก่อการร้าย&quot; ทั้งในฐานะ &quot;ผู้กระทำ&quot; และ &quot;คนถูกกระทำ&quot; <br>
<br>
เพื่อเป็นการโต้ตอบกลุ่มกันยาทมิฬ &quot;แอฟเนอร์&quot; (อีริค บาน่า) หน่วยข่าวกรองชาวอิสราเอล ถูกติดต่อจากนายกรัฐมนตรีชาวอิสราเอล ให้ลืมความสันติสุขไปชั่วครู่ เพื่อป้องกันผู้คน และประเทศของตัวเอง จากโศกนาฏกรรม เช่น มิวนิคที่ดูเหมือนไม่มีใครยื่นมือเข้าช่วยเหลือชาวยิว <br>
<br>
<br>
เขาและเพื่อนร่วมกลุ่มเลยมีเป้าหมายหลักในการ &quot;ตามเก็บ&quot; ตัวการสังหารโหดครั้งนี้ โดยที่เขาจะต้องตัดขาดจากครอบครัว ทำตัวเสมือนเป็นบุคคลไร้ตัวตน ไม่มีสัญชาติและความผูกพันใดๆ ต่อครอบครัว และประเทศอิสราเอล เพื่อตอกกลับการกระทำอันไร้มนุษยธรรมที่ไม่มีใครรับผิดชอบ <br>
<br>
การไล่ล่าของแอฟเนอร์ และเพื่อนจึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยความภูมิใจในภารกิจ ที่ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความขัดแย้งในจิตใจ โดยเฉพาะแอฟเนอร์ จากที่เคยเป็นตำรวจปกป้องผู้คน แต่กลับต้องทำงานเสมือนหนึ่งผู้ก่อการร้าย <br>
<br>
&quot;ผมบอกว่า เราดื่มเฉลิมฉลองกัน แต่ผมไม่ได้ดีใจนะ&quot; แอฟเนอร์ดื่มฉลองกับเพื่อนมือสังหารมือใหม่ ที่นับวันแต่ละคนก็เริ่มสูญเสียความเป็นตัวเองไปเรื่อยๆ เขาเองที่กำลังจะมีลูก ก็เริ่มไตร่ตรองทุกครั้งที่ต้องลงมือฆ่าใคร เพราะมันทำให้เขารู้สึกว่า ได้สูญเสียวิญญาณดีๆ ส่วนหนึ่งไปกับสิ่งที่เขาทำไป <br>
<br>
แต่ก็เหมือนโลกเล่นตลกกับเขา แอฟเนอร์ที่กำลังจะสังหาร &quot;หัวโจก&quot; กลับต้องเจอกับ &quot;อาลี&quot; กลุ่มก่อการร้ายที่เขาตามสังหารอยู่เข้าอย่างจัง <br>
<br>
ที่ว่าน่าหัวเราะก็คือ เขาและอาลีได้พูดคุยถึงการรบราฆ่าฟันระหว่างชาวยิว และชาวปาเลสไตน์ โดยที่อาลีไม่รู้เลยว่า แท้จริงแล้วคนที่อยู่ตรงหน้าคือคนที่พยายามฆ่าพวกเขา เช่นเดียวกับที่เขาพยายามทำ <br>
<br>
<br>
&quot;เราพยายามทำให้คนทั้งโลก ทั้งจักรวาลหันมามองเรา&quot; อาลีบอกกับแอฟเนอร์ที่ถามว่าสุดท้ายสงครามจะจบที่ไหน...จบยังไง? <br>
<br>
&quot;เราไม่มีที่อยู่มาตลอด ก่อนหน้ามิวนิค ก่อนเราฆ่ายิว อิสราเอลก็ฆ่าเราอยู่แล้ว&quot; อาลีว่า ขณะที่แอฟเนอร์ก็ออกความเห็นว่า การฆ่ายิวจะทำให้โลกสงสารยิว และมองปาเลสไตล์เป็นสัตว์เดรัจฉาน <br>
<br>
&quot;โลกจะได้รู้ว่ายิวทำให้เราเป็นสัตว์เดรัจฉานได้สักแค่ไหน?&quot; คือคำตอบที่อาลีประกาศ และว่าคนมีบ้านจะกลับอย่างแอฟเนอร์ไม่รู้หรอกว่า ความรู้สึกของคนที่ไม่มีบ้านให้กลับเป็นยังไง <br>
<br>
&quot;Home is everything. (บ้านคือทุกสิ่งทุกอย่าง)&quot; อาลีบอก <br>
<br>
<br>
เพราะงั้นการสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้ สุดท้ายมันก็คุ้มค่า หากมีบ้านให้อุ่นใจ <br>
<br>
ย้อนกลับมาดู คนที่มีบ้านเกิด มีประเทศคุ้มหัวนอน คงไม่รู้สึกสะทกสะท้าน หรือแบกรับความรู้สึกของคนไม่มีบ้านจะกลับไปพักพิง ต้องระเห็ดระเหินเป็นคนอพยพตลอดเวลาว่ามันเป็นยังไง ลำบากใจแค่ไหน <br>
<br>
แต่ในหนัง แอฟเนอร์ที่แม้จะมีประเทศให้กลับ ก็ไม่มีโอกาสจะกลับ ไม่ต่างจากคนไร้บ้านอย่างอาลี <br>
<br>
<br>
ซึ่งเป็นเรื่องที่สปีลเบิร์กถ่ายทอดได้อย่างน่าคิด โดยเฉพาะบทสนทนาที่ตีแผ่ได้ &quot;โคตรเจ๋ง&quot; ที่เขาสามารถตีประเด็นลึกๆ ของปัญหายิว ปาเลสไตล์ที่กินเวลาร่วมร้อยปีได้เห็นภาพ <br>
<br>
ยิ่งข้อมูลในหนังที่พยายามโยงกลุ่ม &quot;กันยาทมิฬ&quot; กับหน่วยข่าวกรอง &quot;ซีไอเอ&quot; ของสหรัฐอเมริกา โดยการบอกเป็นนัยๆ ว่า การที่นักการเมืองอเมริกาไม่ถูกแตะต้องนั้น เป็นเพราะซีไอเอ จ่ายเงินให้กลุ่มกันยาทมิฬ ก็ทำให้คนดูรู้สึกว่า แท้แล้วเบื้องหลังปัญหาการก่อการร้ายต่างๆ ดันมีอเมริกาเป็นคนหนุนหลัง <br>
<br>
เพราะงั้นท่ามกลางสงครามที่ดำเนินไป ความปวดร้าวในใจของ &quot;ผู้สังหาร&quot; ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ไม่เคยเหือดหาย จนเริ่มกลายเป็นความเคยชิน ทุกครั้งที่พวกเขาฆ่าใครไป ก็เริ่มเป็นเหมือนกิจวัตรประจำวัน เหมือนตื่นขึ้นมา กินข้าว ฆ่าคน กินข้าว แล้วก็นอน <br>
<br>
เมื่อบวกกับจิตใจที่อ่อนล้า และหาคำตอบกับการฆ่าที่ขัดกับหลักธรรมคำสั่งสอนอย่างแรงของยิวไม่ได้ <br>
<br>
&quot;สงครามที่มีกฎเกณฑ์ มีความพอดีพอเหมาะมันอยู่ตรงไหน?&quot; เลยกลายเป็นคำถามคาใจของใครหลายคน <br>
<br>
<br>
ขณะที่สัจธรรมเดียวที่พบท่ามกลางสงครามก็คือ ทุกครั้งที่มีคนตาย ก็จะมีคนที่โหดมากกว่ามาทดแทนเสมอ เป็นวงจรไม่มีวันจบ เช่นเดียวกับการจมอยู่กับความชิงชังไม่ได้ทำให้เรามีความสงบสุข นั่นคือ ความจริงที่ยิวพร่ำสอน <br>
<br>
ยิ่งฟังยิ่งดูก็รับรู้ถึงความกดดัน และความขัดแย้งในตัวเอง ของคนที่ตกอยู่ในสองสถานะ คือเป็นทั้งผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำได้เข้าอกเข้าใจ <br>
<br>
อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นหนังที่สร้างโดยคนยิวอย่างสปิลเบิร์ก ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่มุมมองโดยรวมของเรื่องจะเอื้อให้คนดูเห็นอกเห็นใจคนยิวมากกว่า พวกที่ใครต่อใครก็ตั้งฉายาว่า &quot;พวกก่อการร้าย&quot; ที่แท้จริงแล้ว หากคิดเสียว่า ไม่ว่าใครก็อยากมีบ้านพักพึงให้อุ่นใจ <br>
<br>
<br>
ทุกคนบนโลกก็คงมีความเห็นอกเห็นใจ ไม่แบ่งแยกว่าใครเป็นใครได้มากกว่านี้ <br>
<br>
ย้อนกลับมายังปัญหาภาคใต้ของเมืองไทย ที่ไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนปรนกันง่ายๆ แล้ว ก็อยากจะให้หลายๆ ฝ่าย คิดเสียใหม่ว่า อย่างน้อยๆ พวกเรา &quot;คนไทย&quot; ก็ยังโชคดีที่ไม่ต้องไปแย่งแผ่นดินกับใคร จะไม่ดีกว่าหรือหากทำให้แผ่นดินที่เราเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า &quot;บ้าน&quot; กลายเป็นสถานที่แห่งความสุขอย่างที่อาลีบอกไว้ว่า <br>
<br>
&quot;Home is everything.&quot; <br>
<br>
<br>
อยากให้ประเทศไทยมีสิ่งที่ดีขึ้นมากกว่าที่เป็นปัจจุบันนี้จริงๆ เลย นึกถึงเมื่อก่อน <br>
อากาศดี ๆ คนใจดี มีน้ำใจ สมัยนี้เจอได้น้อยมาก ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีข่าว <br>
ฆาตกรรมกันทุกวัน ข่าวการเมืองก็มีแต่เรื่องแย่ ๆ หวังว่าสักวันประเทศไทยจะมี <br>
สิ่งดี ๆ เข้ามา

28 Aug 2006  |  Post by : PangRum
Comment 1
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ที่โลกไม่สงบสุขทุกวันนี้ก็เพราะเหตุนี้

30 Aug 2006  |  Comment by : john lennon

Comment



Insurance

Webboard
โพสต์โดย: rave 3
โพสต์โดย: จุ๊บแจ 1
โพสต์โดย: nami 5
โพสต์โดย: pangnam24 2
โพสต์โดย: felling 2
โพสต์โดย: golf1 5
โพสต์โดย: JB 0
โพสต์โดย: saikafam 1

Interest Product