Talk About Women

เยื่อบุโพรงมดลูก
ขึ้นชื่อว่าจักรวาลนั่นกว้างใหญ่ไพศาลแล้ว <br>
แต่เชื่อไหมว่าอีกสิ่งหนึ่งที่ลึกลับซับซ้อนไม่แพ้กัน แต่อยู่ใกล้ตัวเรานิด <br>
เดียว <br>
นั่นก็คือ ร่างกายของมนุษย์นั่นเอง <br>
โดยเฉพาะอวัยวะภายในของผู้หญิง ที่แม้ผู้หญิงด้วยกันเองยังมองว่าเป็นจุดซ่อน <br>
เร้น <br>
และไม่ค่อยกล้าพูดถึง <br>
<br>
ด้วยเหตุนี้ &quot;เฮลท์ สเตชั่น&quot; รายการวาไรตี้เพื่อสุขภาพ จึงได้โครงการ <br>
&quot;รักษ์สุขภาพ กับเฮลท์ สเตชั่น&quot; ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำ จัดกิจกรรมให้ความรู้ <br>
เกี่ยวกับสุขภาพ <br>
โดยล่าสุดจับมือกับโรงพยาบาลนนทเวช พูดคุยกันในหัวข้อ <br>
&quot;รู้ทันโรคร้ายภายในผู้หญิง&quot; <br>
<br>
&quot;กว่า 40-60 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่มาปรึกษาปัญหาแผนกสูตินรีเวช <br>
จะพบปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แฝงมาค่อนข้างมาก ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ <br>
เพิ่มสูงขึ้น <br>
โดยการเกิดโรคนี้อาจเป็นได้กับผู้หญิงทุกวัยที่มีประจำเดือนแล้ว&quot; <br>
น.พ.ประทีป หาญอิทธิกุล ผอ.ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องนรีเวช <br>
และผู้เชี่ยวชาญสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนนทเวช <br>
เริ่มต้นการสนทนาด้วยการฉายสถานการณ์โรคภายในจุดซ่อนเร้นของผู้หญิงปัจจุบัน <br>
<br>
คุณหมอผู้เชี่ยวชาญ อธิบายต่อว่า <br>
สาเหตุของโรคนี้เชื่อว่าเกิดจากการไหลไม่ทันของประจำเดือน <br>
ทำให้ประจำเดือนย้อนกลับเข้าไปในท่อรังไข่ <br>
และไปฝังตัวภายในอวัยวะเจริญพันธุ์จนเกิดเป็นตุ่มเหมือนสิว ทำให้ท่อรังไข่คดงอ <br>
หรือตีบตัน <br>
หากปล่อยไว้ทุกครั้งที่มีประจำเดือนตุ่มสิวนี้ก็จะแตกและเลือดออก <br>
เมื่อทิ้งไว้นานอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคภายในอื่นๆ ตามมา อาทิ <br>
ช็อกโกแลตซีสต์ พังพืดในอุ้งเชิงกราน เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก <br>
หรือเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกในกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจลุกลามไปถึงตับ และปอดได้ <br>
อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยากด้วย <br>
<br>
นอกจากนี้แม้ยังไม่มีการพิสูจน์ออกมาเป็นที่แน่ชัด <br>
แต่ในวงการแพทย์เชื่อว่าโอกาสในการเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ <br>
ยังมาจากการได้รับสารฟอกสีที่มาจากอุตสาหกรรมพลาสติกอย่างท่อพีวีซี เป็นต้น <br>
<br>
&quot;โรคนี้เรียกว่าแล้วแต่โชคเลย เพราะผู้หญิงวัยไหนก็มีโอกาสเป็นทั้งนั้น <br>
ปกติร่างกายของเราจะสามารถขับประจำเดือนได้ทันอยู่แล้ว ยกเว้นบางคนเท่านั้น <br>
ที่ผ่านมาโรคนี้จะตรวจเจอยากในระยะเริ่มต้น เพราะจะเป็นเพียงตุ่มเล็กๆ <br>
ซึ่งส่วนใหญ่ที่ตรวจเจอเพราะความบังเอิญ <br>
สำหรับคนที่เคยเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสเป็นได้อีก ไม่ต่างจากคนที่ไม่เคยเป็น&quot; หมอ <br>
ประทีป กล่าวเสริม <br>
<br>
อย่างไรก็ตาม แม้ยังไม่มีวิธีป้องกันอย่างชัดเจน แต่อย่างน้อยก็มีวิธีสังเกต <br>
อาการ <br>
โดยสัญญาณอันตรายเริ่มแรกจะมีอาการเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ <br>
มีอาการปวดท้องน้อย เนื่องจากจังหวะบีบตัวของมดลูก <br>
แต่อาการปวดจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน <br>
ถ้าเป็นมากอาจจะปวดร้าวไปถึงหลัง เอว ก้นกบ และลงไปถึงขา <br>
ท้องจะอืดบวม และท้องเสียตามในช่วงมีประจำเดือน <br>
ในกรณีที่พังผืดไปรัดลำไส้จะทำให้เจ็บเวลาขับถ่าย บางรายอาจปัสสาวะบ่อย <br>
<br>
&quot;ส่วนมากเรามักจะได้ยินว่าเมื่อมีลูกแล้วจะไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ <br>
นั่นเพราะช่วงให้นมบุตร รังไข่จะไม่ทำงาน เยื่อพังผืดก็จะไม่เจริญเติบโต <br>
เพราะไม่มีอาหารไปหล่อเลี้ยง บริเวณที่เกิดตุ่มอักเสบก็จะหายไปเอง <br>
แต่กรณีนี้จะเป็นไปได้ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น&quot; <br>
<br>
เมื่อวิทยาการแพทย์ยังไม่สามารถเจาะจงได้ว่ากลุ่มช่วงอายุใดจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ <br>
คุณหมอจึงแนะนำว่า ในเบื้องต้นผู้หญิงโสดที่อายุ 30 <br>
ปีขึ้นไปก็ควรเริ่มมาตรวจภายในได้แล้ว เพราะแม้จะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก <br>
เหมือนกับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว แต่ก็จะมีโอกาสเป็นโรคภายในอื่นๆ ได้ <br>
<br>
&quot;ผู้หญิงเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป 4 ใน 10 คนมีโอกาสเป็นโรคภายในได้ <br>
แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังกลัวการไปตรวจภายใน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการรักษา <br>
แต่เดี๋ยวนี้การตรวจภายในผู้หญิงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด <br>
เพราะสามารถตรวจทางทวารหนักก็ได้ เนื่องจากโรคลักษณะนี้จะฝังตัวอยู่ทางด้านหลัง <br>
มากกว่า&quot; <br>
<br>
ประกอบกับปัจจุบันการผ่าตัดไม่จำเป็นต้องลงมีดใหญ่แล้ว <br>
แต่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมากว่า 20 ปี <br>
เพียงแต่เพิ่งนิยมเอาเข้ามาใช้ในวงการแพทย์ด้านสูตินรีเวชได้ประมาณ 5 ปีหลัง <br>
โดยกระบวนการจะเหมือนกับผ่าตัดใหญ่ แต่จะได้แผลเล็กช่วยให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว และ <br>
ไม่เจ็บมาก <br>
แต่จะใช้ได้ในกรณีที่ก้อนเนื้อที่ต้องการผ่าออกไม่ใหญ่มากนัก <br>
<br>
ต่อไปนี้เห็นทีคุณผู้หญิงจะต้องหมั่นสังเกตและรู้ทันร่างกายตนเองให้มากขึ้นซะ <br>
แล้ว <br>


22 Nov 2006  |  Post by : PangRum
Comment 3
หนูน่าจะอยู่นัยกลุ่มเสี่ยงแน่เลย <img src="pic/b3.gif">เพราะเวลามีอารายกันนะเลือดออกเกือบทุกทีเลย <img src="pic/b15.gif">

7 Jun 2008  |  Comment by : นิ
Comment 2
เดี๋ยวนี้โรคภัยไข้เจ็บเยอะแยะ อะไรที่ดี ๆ แนะนำให้ได้เสมอค่ะ <br>
เพื่อทุก ๆ คนจะได้ดูแลตัวเองให้ดี ๆ นะคะ <br>
ที่สำคัญจิตใจก็ต้องดูแลด้วยนะ <br>
<br>
ยินดีเสมออยู่แร้นนน มีไรดี ๆ จะมาโพสต์อีกค่ะ <br>
เนอะพี่อ้อมเนอะ

22 Nov 2006  |  Comment by : PangRum
Comment 1
ขอบคุณคุณแป้งร่ำมากนะคะ สำหรับ FWD ดีๆให้อ้อมค่ะ มีประโยชน์ มีสาระมากค่ะ

22 Nov 2006  |  Comment by : Rattiya69

Comment



Insurance

Webboard
โพสต์โดย: timeup 1
โพสต์โดย: PaLa 10
โพสต์โดย: น้องหงส์หยก 3
โพสต์โดย: kokohappy 0
โพสต์โดย: kissmarclovers8 0
โพสต์โดย: Polyle 1
โพสต์โดย: NongLukBua 0
โพสต์โดย: kidschool 0

Interest Product