Talk About Women

โรค Attention Deficit Trait
โดย ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ <a href=mailto:pasu@acc.chula.ac.th>pasu@acc.chula.ac.th</a><br>
<br>
ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของ Multitasking หรือไม่ครับ? <br>
คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่ <br>
สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลาย ๆ อย่างไปในขณะเดียวกัน เช่นในขณะที่กำลังเช็ค <br>
อีเมลทางคอม <br>
พิวเตอร์ ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน <br>
หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุม <br>
ก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ <br>
ข้างหน้า <br>
<br>
ในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่า มีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลาย <br>
อย่างในขณะเดียว <br>
กัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด <br>
<br>
แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ Multitasking นั้น กลับ <br>
เป็นสาเหตุประการหนึ่ง <br>
ของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน ที่เราเรียก Attention Deficit Trait หรือ ADT <br>
โรคนี้เป็นโรคที่ <br>
เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่ <br>
บังคับให้คนทำงานจะต้อง <br>
ทำงานด้วยความรวดเร็วมากขึ้น ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอด <br>
เวลา ไม่มีเวลาหรือ <br>
โอกาสได้สงบพัก <br>
<br>
ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบข้างนะครับว่า เป็นโรคนี้หรือ <br>
ไม่? <br>
<br>
ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม 2548 <br>
ในบทความ <br>
ชื่อ <br>
Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell ซึ่งเป็น <br>
จิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้ <br>
เชี่ยวชา&amp;shy;ในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้งหลาย คุณหมอท่านนี้ทำการรักษา <br>
อาการ Attention Deficit Disorder หรือ ADD มากว่า 25 ปี และ โรค ADD นี้ <br>
เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทย <br>
โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น <br>
<br>
ผู้เขียนบทความนี้เขาพบว่า ในช่วงหลังๆ เริ่มมีผู้ให&amp;shy;่เข้ามารับการรักษาใน <br>
อาการที่คล้ายกับโรคสมาธิสั้น <br>
กันมากขึ้น แต่เมื่อวินิจฉัยดูก็ไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้น แต่เป็นโรคอีกชนิด <br>
หนึ่งที่มีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น <br>
คุณหมอท่านนี้เลยตั้งชื่อใหม่ว่าเป็น Attention Deficit Trait หรือ ADT โดย <br>
สาเหตุของ ADT จะ <br>
ต่างจากโรคสมาธิสั้น เนื่องจากโรคสมาธิสั้นจะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและ <br>
สภาวะแวดล้อม แต่ ADT <br>
นั้น จะมาจากสภาวะแวดล้อมเป็นหลัก <br>
<br>
ผู้ที่เป็นโรค ADT นั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใด <br>
งานหนึ่งได้นานๆ ก็จะถูกดึง <br>
ดูดด้วยงานอย่างอื่น มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้ <br>
อื่นเห็น) ไม่ค่อยอดทน มี <br>
ปั&amp;shy;หาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) การจัดลำดับความสำคั&amp;shy; และการบริหาร <br>
เวลา <br>
<br>
โรค ADT นี้ มักจะเริ่มก่อเกิดขึ้นเมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง <br>
ขึ้นเรื่อยๆ การที่มีความรู้สึกว่ามี <br>
งานด่วน หรือสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ และ <br>
ท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วน <br>
เหล่านั้นให้สำเร็จ จะเป็นบ่อเกิดที่สำคั&amp;shy;ของโรค ADT เพราะเมื่อเรามีงานที่ <br>
เร่งด่วน หรือจำเป็นเข้า <br>
มาเรื่อยๆ เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น อีกทั้งไม่บ่นไม่ <br>
โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่ม <br>
ขึ้น เราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ และ <br>
เวลาของเราไม่ <br>
เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา ดังนั้น เมื่อเจอกับปริมาณงาน <br>
ที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วน <br>
ขึ้น เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลา พยายามทำงานให้เสร็จโดย <br>
เร็ว <br>
<br>
การทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆ หนึ่ง <br>
(Unfocused) แต่ในขณะ <br>
เดียวกัน บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวาย ดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มี <br>
ปั&amp;shy;หาอะไรเกิดขึ้น <br>
<br>
ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรค ADT จะก่อให้เกิดปั&amp;shy;หาอะไรขึ้น? <br>
ง่ายๆ ก็คือ ทำให้สมองเราสู&amp;shy; <br>
เสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง จะส่งผลให้ <br>
งานที่ออกมาเป็นงาน <br>
ที่เร็วแต่ไม่ลึก จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลง การที่สมองเรา <br>
จะต้องรับ <br>
วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการแก้ไขปั&amp;shy;หา <br>
อย่างสร้างสรรค์ก็ลด <br>
ลง อีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น <br>
<br>
โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับ เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวด <br>
ล้อมในการทำงาน ที่ต้องการ <br>
ความรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สมองเราจะต้องรับและประมวลผล <br>
ข้อมูลต่างๆ มากขึ้นกว่า <br>
เดิม วัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบัน ก็เป็นสาเหตุสำคั&amp;shy;อย่างหนึ่งที่ทำให้เรา <br>
เกิดโรคนี้ โดยเฉพาะ <br>
อย่างยิ่งความสำคั&amp;shy;ของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเรา <br>
ต้องการความเร็วมากขึ้น <br>
เรื่อยๆ (เรามักจะคิดว่าในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน ดังนั้น ผู้ที่มีความ <br>
เร็วมากกว่าจะทำงานได้ <br>
มากกว่า) <br>
<br>
ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์ ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด <br>
ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม &quot;ปิดประตู&quot; เนื่อง <br>
เพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง <br>
<br>
***ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเป็นโรค ADT กันบ้างไหมครับ ผมลองสังเกตตัวเองก็ <br>
รู้สึกว่าเป็นเหมือนกันครับ <br>
ทั้งสาเหตุและอาการก็เหมือนกับที่คุณหมอเขาเขียนไว้ในบทความของเขาเลยครับ <br>
เพียงแต่ท่านผู้อ่านอย่า <br>
เพิ่งตกใจนะครับ ถ้ารู้สึกว่าตนเองเป็น ADT เนื่องจากคนแต่ละคนจะมีวิธีการ <br>
ในการบริหารและจัดการ <br>
กับโรค ADT ที่ต่างกัน (เนื่องจากสมองของคนแต่ละคนต่างกัน)*** <br>


1 Dec 2006  |  Post by : PangRum
Comment 2
<font color=FF00FF> ขอบคุณ...คุณPangRumมากๆนะค่ะที่เอามาให้อ่าน มุกอ่านแล้วมุกรู้ตัวเลยค่ะว่ามุกเป็นโรคนี้อยู่ เพราะตอนนี้งานมุกเยอะมาก ทั้งProject แผนธุรกิจ แระการเป็นหัวหน้าห้อง การเป็นสภานักเรียน ช่วงนี้กีฬาเป็นนักกีฬาอีก เด๋วนี้นะค่ะทานข้าวไปด้วยต้องอ่านหนังสือสอบไปด้วยเพราะที่วิทยาลัยจะเรียนไปสอบไป นั่งรถก็ต้องนั่งอ่านหนังสือไปด้วย แม้กระทั่งเข้าห้องน้ำ นั่งหาข้อมูลในการทำProject ก็จะนั่งทานข้าวไปด้วย คุยโทรศัพท์เรื่องงานกับเพื่อนไปด้วยโดยการประชุมสายนะค่ะ เด๋วนี้ปล่อยเวลาให้ว่างให้ไร้สาระเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้เลย เพราะตอนนี้เรียน ปวช.3แล้วจะจบแล้วงานเยอะมากๆ ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ได้นอนวันละ 1-2 ชม.เท่านั้น ตอนนี้สงสารตัวเองมากๆเลยตอนนี้โทรมมากๆ แต่จะคิดเสมอว่าจะไม่ท้อต่อให้เหนื่อยแค่ไหน เพราะเราขยันและมุ่งมั่นในวันนี้ มันทำให้เราประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า ถึงแม้อายุแค่ 18แต่ต้องรับผิดชอบอะไรมากมายก็จะทน เพื่ออนาคต ขอบคุณอีกครั้งนะค่ะที่เอามาให้อ่านตอนแรกกะว่าจะไม่อ่านเพราะกลัวล่าช้าในาการทำงาน แต่พอได้อ่านแล้วไม่รู้สึกว่าเสียเวลา รู้สึกว่ามันมีค่ามากๆ ขอบคุณนะค่ะ </font>

1 Dec 2006  |  Comment by : สาวอาชีวะ
Comment 1
เหอะๆ พี่ก็คงจะเป็นนะคะเนี่ย เพราะชอบทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน

1 Dec 2006  |  Comment by : SweetNokk

Comment



Insurance

Webboard
โพสต์โดย: pk400 0
โพสต์โดย: PRKTC 0
โพสต์โดย: ได้โปรดช่วยด้วย 5
โพสต์โดย: fanta 4
โพสต์โดย: joo12 0
โพสต์โดย: jirative 1
โพสต์โดย: สาวหมวย 3
โพสต์โดย: Paola 1

Interest Product