Talk About Women

โรคกระเพาะ...อันตรายของคนกรุง

ปัจจุบันนี้ ชีวิตคนในเมืองใหญ่อาจต้องเผชิญกับความเร่งรีบ ความเครียด และสารพันปัญหาไม่วายเว้นในแต่ละวัน จนทำให้คุณลืมไปว่าจำเป็นต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลา จนวันแล้ววันเล่าอาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหารของคุณก็มีอันจะต้องสร้างความรำคาญใจให้คุณเล่น หรือไม่ก็ร้ายแรงจนถึงขั้นกระเพาะทะลุจนคุณต้องหมดเงินไปไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เราจึงมีวิธีดีๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดกับอวัยวะอันสุดแสนจะสำคัญสำหรับคุณ


ก่อนอื่นคุณควรจะต้องทำความเข้าใจกับภาวะของโรคกระเพาะก่อน โดยปกติผนังของกระเพาะอาหารนั้นจะมีความหนาพอที่จะช่วยป้องกันการสัมผัสกันของน้ำย่อย และกรดในกระเพาะอาหารกับบริเวณที่เป็นชั้นของหลอดเลือดและระบบประสาท อันเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นตามมา นอกจากนี้หากคุณเป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง นั่นก็อาจจะทำให้บรรดาเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า H. pylori พากันยกโขยงมาอาศัยกันตามผนังเยื่อบุที่ถูกทำลาย และซอกเล็กซอกน้อยภายในกระเพาะอาหาร แน่นอนว่าคุณจะต้องรักษาแผลกันนานยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุสำคัญอื่นๆ อย่าง การใช้ยาแก้ปวดบางชนิดที่กัดกระเพาะบ่อยๆ รวมทั้งพวกที่มีความเครียด ดื่มสุรา และสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือแม้แต่การทานอาหารรสจัดที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ดังนั้นเมื่อคุณรู้อย่างนี้แล้ว คุณก็จะควรที่จะจัดการกับชีวิตของคุณเองให้ดีขึ้น ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจไปทำร้ายกระเพาะของคุณ

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยทางด้านโภชนาการและสารอาหารที่คุณอาจจะต้องดูแลกันเป็นพิเศษ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่โยงเรื่องของอาหารและโภชนาการเข้ากับโรคกระเพาะ ตัวอย่างเช่น อาหารในกลุ่มไฟเบอร์ ซึ่งอาจได้จากกากใยที่มากับผักและผลไม้ หรือจากการรับประทานไฟเบอร์เสริม รวมทั้งไฟเบอร์ขนาดเล็กที่ได้จาก ว่านหางจระเข้ (Alovera) ที่ช่วยป้องกันไม่ให้กรดสัมผัสกับเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยตรง และยังช่วยเร่งการสมานแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการใช้วิตามินและเกลือแร่ อาทิเช่น วิตามิน A ขนาดรับประทาน 10,000 IU/ วัน จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังเยื่อบุ หรือการรับประทานวิตามิน C ประมาณ 2-3 กรัม/วัน จะช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคในกระเพาะอาหาร รวมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีการใช้แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ที่จับกับกรดอะมิโน L-Carnosine เพื่อสร้างเป็นโมเลกุลที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการต้านแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากความเครียด รวมทั้งยังช่วยปกป้องเซลล์เยื่อบุบริเวณกระเพาะอาหารจากกรดและน้ำย่อย ดังนั้นจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเร่งการสมานแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้นได้

จากปัจจัยต่างๆ และแนวทางเพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้นจำเป็นจะต้องอาศัย การดูแลตนเอง เป็นอย่างดี เนื่องจากโดยธรรมชาติของโรคกระเพาะอาหารแล้ว มักจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หรือไม่ก็รักษา ให้หายขาดได้ยาก ดังนั้นแนวทางป้องกันและเสริมสร้างร่างกายของคุณให้แข็งแรงนั้น จึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ก่อนที่โรคกระเพาะอันแสนน่ารำคาญจะเกิดขึ้นกับคุณ


24 Dec 2007  |  Post by : Rattiya69

Comment


>

Content-Seo

Webboard
โพสต์โดย: Rujira56 1
โพสต์โดย: Momay 0
โพสต์โดย: Ninelove 0
โพสต์โดย: อยากรู้ 4
โพสต์โดย: คนขี้เหงา 2
โพสต์โดย: rakna 5
โพสต์โดย: Beauty Sky 0
โพสต์โดย: tb 1

Interest Product