Talk About Women

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ค่ะ
อยากถามพี่ๆที่มีประสบการ์ณนะค่ะ พอดีปีหน้าเตรียมตัวจะมีน้องนะค่ะ
ก็เลยอยากถามพี่ๆที่เป็นคุณแม่แล้วหรือมีความรู้เรื่องนี้ ว่าเขาจะตรวจอะไรบ้างหรอค่ะ แล้วเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างค่ะ ต้องงดน้ำหรืองดอาหารอะไรหรือป่าวค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

3 Jan 2008  |  Post by : joom
Comment 4
ขอบคุณค่ะ พี่นก

15 Jan 2008  |  Comment by : joom
Comment 3
Preparing for Pregnancy เช็คกายใจให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์

ในสภาพสังคมเมืองปัจจุบัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้านเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฎการณ์ “แต่งงาน” ช้าลงไปด้วย นั่งนึกเล่นๆ กว่าจะมีสามีดีๆ สักคนอายุคงปาเข้าไปเลขสี่ซะแล้ว
ดังนั้นสาวๆ ที่คิดจะสร้างครอบครัวให้สมบูรณ์ด้วยการมีบุตร จึงต้องเริ่มวางแผนแต่เนิ่นๆ เพื่อให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในการมีบุตรที่สมบูรณ์ที่นี้คุณต้องเริ่มต้นสำรวจตัวเองและสามีแล้วล่ะค่ะว่า พร้อมหรือยัง ? ทางหนึ่งที่ทำได้คือการจูงมือเข้าไปขอคำปรึกษาสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดแต่ถ้าจะลองเริ่มต้นง่ายๆจากตัวคุณเองก่อนเรามีหลักง่ายๆ มาแนะนำค่ะ

อายุ ที่เหมาะสมของผู้หญิงคือ ช่วงอายุประมาณ 20-30 ปี แต่ถ้าคิดจะมีบุตรเมื่อาอยุล่วงเกิน 30 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น ทั้งเรื่องการมีบุตรยากและมีบุตรที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ถ้าแม่อายุมากกว่า 35 ปี โอกาสมีลูกเปน Down Syndrome ก็จะมากขึ้นด้วย เรื่องอย่างนี้ควรรีบปรึกษาสูตินารีแพทย์เป็นการด่วน

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ควรทำก่อนตั้งครรภ์ โดยสูตินารีแพทย์จะตรวจเช็คสุขภาพความพร้อมต่าง ๆ เช่น

การตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปสู่ลูกเช่น หัดเยอรมัน ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนและไม่เคยเป็นหัดเยอรมัน ควรฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครภ์และให้คุมกกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน เพราะถ้าเป็นโรคนี้ช่วงตั้งครรภ์จะส่งผลต่อความพิการจะส่งผลต่อความพิการของทารกได้ ไวรัสตับอีกเสบ บี (Hepatitis B) Chickenpox ไข้สุกใส ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคและคุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือนเช่นเดียวกัน Toxoplasmosis โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิตที่ปนในอาหารดิบ

ตรวจทางพันธุกรรม แพทย์จะซักประวัติโรคทางพันธุกรรมทั้งตัวคุณและสามี แล้วพิจารณาว่าลูกของคุณจะมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยคือ โรคธารัสซีเมีย

โรคของแม่ที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
- เบาหวาน ถ้าหากก่อนตั้งครรภ์ไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดี ว่าที่คุณแม่มีโอกาสแท้ง และทารกพิการได้สูง
- ความดันโลหิตสูง ควรควบคุมความดันให้ดี เพราะอาจเกิดภาวะตั้งครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดก่อนกำหนดได้
- ลูบัส ( SLE ) ผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้มาก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- ลมชัก ยาบางชนิดอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์
- ข้อสำคัญ สำหรับผู้ปวยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงชื่อและขนาดของยาที่ใช้ เพราะยาบางชนิดมีผลต่อทารกในครรภ์

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ โดยเฉพาะในเขตชุมชนหรือแหล่งเชื้อโรค นั่นเพราะเจ้าเชื้อโรคที่แอบแฝงในอากาศ อาจทำให้ร่างกายของคุณเป็นไข้หวัดหรือติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่าย รวมถึงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งบางโรคมีผลติดต่อถึงคุณเอง เช่น มดลูกอักเสบ ท่อรังไข่ตัน มีบุตรยาก หรือมีผลต่อทารกในครรภ์ ซึ่งแพทย์จะซักประวัติและหากสงสัยก็จะเพาะเชื้อจากปากมดลูก และเจาะเลือดเพื่อให้แน่ใจว่า คุณปลอดภัยจากโรคหรือไม่

รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ คุณควรใส่ใจในการเลือกทานอาหารให้ครบทุกส่วน ผักสดผลไม้ และควรรับประทานกรดโฟลิกวันล 400 mg. เพื่อลดการเกิดโรคสมองและไขสันหลังผิดปกติ และมีบุตรที่แข็งแรงสุขภาพดีอีกด้วย

น้ำหนัก และความแข็งแรงของร่างกาย คุณควรฟิตร่างกายตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ โดยเริ่มจากควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน เมื่อคิดจากสัดส่วนความสูงเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนตั้งครรภ์ อย่าให้น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป และระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรลดความอ้วนอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ทารกขาดสารอาหาร ขณะเดียวกันก็ไม่ควรให้น้ำหนักช่วงตั้งครรภ์เพิ่มมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาวะคลอดยากได้

การดูแลสิ่งแวดล้อม หมั่นตรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวว่า มีสิ่งที่เป็นภัยต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น ยาฆ่าแมลง ใยแก้ว สารตะกั่ว รังสี ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่บริเวณนั้นทันที และหากคุณเลี้ยงแมว ควรเจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อtoxoplasma หรือไม่เพราะเชื้อนี้จะทำให้ร่างกายพิการแต่กำเนิด แต่ถ้าตั้งครรภ์แล้ว ยังไม่มีภูมิต่อเชื้อก็ควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมว

การเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับคุณผู้หญิงสมัยใหม่ที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ รวมไปถึงสามีก็สูบด้วย ควรละเลิกเสีย เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตั้งครรภ์ยาก และมีผลเสียต่อทารกด้วย เช่น พิการ น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย คลอดก่อนกำหนด จำไว้นะคะว่า งดเหล้าบุหรี่ ลดการดื่มกาแฟ พักผ่อนให้เพียงพอ หยุดความเครียด แลวก็ทำจิตใจให้สดใส

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ หากคุณและสามีต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน หรือแม้กระทั่งเวลาส่วนตัว คงต้องคิดทบทวนดูให้ดีๆ เพราะการมีลูกสักหนึ่งคน คุณทั้งคู่ต้องเสียสละเวลาอันยิ่งใหญ่ เพื่อดูแลให้ความรักความอบอุ่นตั้งแต่ทราบว่ามี “ลูก” ขึ้นมาจนกระทั่งเขาเกิดและเติบโตกว่าจะพึ่งพาตัวเองได้ เมื่อตัดสินใจได้แล้วก็ปรึกษาสูตินารีแพทย์ได้เลย อ้อ ! สำหรับคุณควรจดบันทึกวันที่ประจำเดือนมาทุกครั้งนะคะเพื่อนำข้อมูลปรึกษากับแพทย์ถึงวันที่ไข่ตก และวันที่เหมาะสมในการร่วมเพศ

การเงิน โบราณว่า “มีลูกหนึ่งคนจนไปเจ็ดปี” คุณควรคำนึงถึงความสามรถในการหารายได้ และขนาดของครอบครัวที่เหมาะสม เพราะค่าใช้จ่ายตั้งแต่วินาทีแรกที่คุณทราบว่ามี “เขา” ก็มีมากมายมหาศาลเลยเชียว ตั้งแต่การเลี้ยงดูเรื่องอาหารการกิน เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้จิปาถะฯ ปกติจะตกประมาณ 15-25% ของรายทั้งครอบครัว คิดมีลูกคิดวางแผนเก็บเงินไว้ด้วยยิ่งดี

แล้วถ้าคุณ “เช็ค” ความพร้อมเรียบร้อยแล้ว ก็อย่ารอช้าที่จะมีบุตรเลย เดี๋ยวจะโตไม่ทันใช้นะคะ

10 Jan 2008  |  Comment by : SweetNokk
Comment 2
การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์



เป็นการดีที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีแพทย์จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกเป็นประจำ และให้หยุดรับประทานยาคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือนแพทย์จะแนะนำวันที่เหมาะสมจะมีเพศสัมพันธ์และมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูง หญิงวัยที่พร้อมจะมีบุตรควรดูแลตัวเองให้พร้อมที่จะมีบุตรโดยเฉพาะการดูแลก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากว่าความพิการของเด็กบางครั้งอาจจะเกิดก่อนการตั้งครรภ์เนื่องจาการติดเชื้อ โรคของมารดา ขาดสารอาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อได้ทารกที่สมบูรณ์ควรเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ดังนี้

- การได้รับ Folic acid เป็นประจำ

- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต

การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

Folic acid มีประโยชน์อะไร
ก่อนการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกหญิงมีครรภ์ควรได้รับ folic acid เนื่องจากวิตามินนี้สามารถป้องการความทางสมองและประสาทไขสันหลังได้ (called neural tube defects {NTDs}] และยังป้องกันปากแหว่ง และเพดานโหว่ได้ แนะนำให้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ และอุดมไปด้วย folic acid เช่น น้ำส้ม ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช และควรได้รับเสริมวันละ 4 มิลิกรัมก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือนจน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

- สำหรับผู้ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดแพทย์จะหาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์

- ตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปหาลูกเช่น

Rubella:(German measles) หรือหัดเยอรมัน ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนและไม่เคยเป็นโรคหัดเยอรมันควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่แน่นใจว่าเคยเป็นโรคหัดเยอรมัน หรือเคยฉีดวัคซีนหรือไม่ อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน และให้คุมกำเนิดหลังจากฉีด 3 เดือน

Hepatitis B ไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ทุกราย เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาทุกราย สำหรบมารดาที่ยังไม่มีภูมิ หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์

Chickenpox ไข้สุกใสผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สุกใส และให้คุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน

Toxoplasmosis เกิดจากเชื้อปาราสิตที่ปนในอาหารดิบๆ

3.โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น
Thalassemia โรคที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพ่อและแม่มีพันธุกรรมแฝงอยู่ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค

Sickle-cell disease และTay-Sachs disease เกิดในเชื้อชาติอื่น

4.โรคของมารดาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
โรคเบาหวาน หากไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดีเด็กที่เกิดมามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้

ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน

โรคลูปัส Systemic lupus erythematosus (SLE)ผู้ป่วยที่มีโรคนี้จะมีโอกาสทีจะแท้ง หรือคลอดก่อนกำเนิดสูง ควรจะปลอดจากอาการของโรคอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์

โรคลมชัก Seizures ยาบางชนิดอาจมีผลต่อเด็กดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์

ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ถึงชื่อยา และขนาดยาที่ใช้เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก

+++จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง

- หยุดสุราโดยเด็ดขาดเนื่องจากสุราจะทำให้เด็กเกิดมามีความพิการได้

- หยุดสูบบุหรี่ และยาเสพติดเนื่องจากเด็กที่เกิดมาจะพิการและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ

- หยุดการอาบน้ำร้อน หรือการซาวน่าในช่วงแรกการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความพิการทางสมอง NTDs

- ให้ดื่มกาแฟน้อยกว่าวันละครึ่งแก้วเนื่องจาก caffeine จะทำให้แท้งได้

- งดการสัมผัสแมวหรือรับประทานอาหารดิบเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อ

- ห้ามสวนช่องคลอดเอง

10 Jan 2008  |  Comment by : SweetNokk
Comment 1
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

• ตรวจร่างกายทั่งไปโดยสูติ-นรีแพทย์
• การตรวจหมู่เลือด ABO (Blood group)
• การตรวจหมู่เลือด RH (Rh group)
• การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (C.B.C.)
• ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBs Ag)
• ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี (Anti HBs)
• ตรวจกามโรค (VDRL)
• ตรวจภูมิคุ้มกันไวรัสเอดส์ (Anti HIV)
• ตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IG)
อัตราค่าบริการ
ราคา 1,690 บาท
แนะนำรายการตรวจเพิ่มเติม
• ตรวจภายในและตรวจหามะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) ในราคา 600 บาท
• ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง (Hemoglobin Typing) ในราคา 500 บาท
• ตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูก ThinPrep ในราคา 1300 บาท
• ตรวจหาความเสี่ยงโรคธารัสซีเมีย (Hemoglobin E) ในราคา 250 บาท

อันนี้ของโรงพยาบาลเปาโลนะคะ

670/1 Phaholyothin Rd., Samsennai, Phayathai, Bangkok 10400
Tel: 0-2279-7000-9 Fax: 0-2279-4293

10 Jan 2008  |  Comment by : SweetNokk

Comment


>

Pooyingnaka Quiz

Webboard
โพสต์โดย: krong 0
โพสต์โดย: นพมาศ วนะภูติ 4
โพสต์โดย: battz 9
โพสต์โดย: M 3
โพสต์โดย: gungjam 5
โพสต์โดย: oneman 11
โพสต์โดย: ararae 16
โพสต์โดย: คนสุขภาพดี 3

Interest Product