Talk About Women

การนอนหลับระยะสั้นหลายๆ ครั้งให้ผลเหมือนกับการนอนยาว 8 ชั่วโมงหรือไม่?
การนอนหลับในระยะสั้นหลายๆ ครั้งเราเรียกว่า polyphasic sleep ครับ ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยกลไกเวลาทางชีวภาพ (chronobiology) ในเมืองบอสตันเชื่อคลอดิโอ สแตมปี (Claudio Stampi)ถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในเรื่องการนอนหลับระยะสั้นนี้ครับ เนื่องจากเป็นแพทย์ ความสนใจในการล่องเรือทำให้เขาพค้นพบความจริงที่ว่า ผู้แข่งเรือมักจะใช้การงีบหลับเป็นช่วงๆ แทนการหลับยาวเต็มอิ่มนี้ในการแข่งขันที่มีระยะทางไกล สแตมปีได้สังเกตเห็นว่าผู้ที่หลับระยะสั้นหลายๆ ครั้งสามารถเข้าสู่ระยะการนอนหลับลึกหรือที่เรียกว่า REM sleep ได้ และพวกเขาก็สามารถทำแบบทดสอบทางการจดจำได้ดีอีกด้วย เขายังสังเกตเห็นอีกว่าคนที่เริ่มหลับระยะสั้นหลายๆ ครั้งมักจะปรับตัวเข้ากับการนอนเช่นนี้ได้ดีอีกด้วย

มีคำกล่าวอ้างว่า นักคิดที่มีชื่อเสียงในสมัยก่อนเช่น เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin), โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison), และลีโอนาร์โด ดาวินซี (Leonardo da Vinci) ล้วนเป็นผู้ที่นอนหลับระยะสั้นหลายๆ ครั้ง อย่างไรก็ตาม มันยากที่จะบอกว่านักคิดทั้งสามคนนี้เป็นผู้ที่นอนหลับระยะสั้นที่ประสบความเร็จ ในปัจจุบันคำอ้างที่ว่าลีโอนาร์โด ดาวินซีเป็นผู้ที่นอนหลับระยะสั้นหลายๆ ครั้งนั้นถือเป็นเรื่องเล่าเท่านั้นครับ

ความกังวลในเรื่องนี้ก็คือ มันมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการนอนเต็มอิ่มปกติหรือไม่ครับ ในการนอนหลับปกติ มนุษย์จะผ่านการนอนหลับช่วงต่างๆ งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทกว้างๆ คือ ระยะหลับลึก (Rapid Eye Movement; REM) และระยะที่ไม่ใช่หลับลึก (Non-REM; NREM) ในช่วงหลับลึกนั้น สมองเรายังคงทำงานอยู่ ซึ่งทำให้เกิดการฝันนั่นเองครับ ในช่วงที่ไม่ใช่หลับลึก เราอาจจะหลับตื้นๆ (light sleep) เช่นเมื่อคุณเริ่มเคลิ้มหลับ หรือช่วงที่ร่างการมีการเคลื่อนไหวแต่สมองมีการทำงานน้อย ร่างกายของคนเราจะวนเวียนระยะเหล่านี้ตลอดทั้งคืน และการหลับลึกมักจะเกิดขึ้นหลังจากนอนหลับไปแล้ว 90 นาทีครับ

การศึกษาหลายชิ้นได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าการผ่านระยะการนอนหลับเหล่านี้มีความสำคัญต่อสุขภาพดีเมื่อตื่นขึ้นแล้วครับ การศึกษาในสัตว์หลายชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการอดนอนให้ผลในด้านลบต่อร่างกายตัวอย่างเช่น การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร the American Journal of Physiology แสดงให้เห็นว่าหนูจะตายถ้ามันอดนอนเป็นเวลาประมาณสองสัปดาห์ งานวิจัยอื่นๆ ค้นพบว่าการอดนอนผลเสียต่อร่างกายเหมือนกับผลจากการดื่มแอลกอฮอล์มากกล่าวคือ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ การตอบสนองและการตัดสินใจช้าลง อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากอดนอนมีมากมายเช่นอาการซึมเศร้าและโรคเบาหวานชนิดที่สอง (type-2 diabetes)อีกด้วย การศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกแสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการเผาผลาญกลูโคสจะลดลงเมื่ออดนอน ซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวานได้ครับ

ปริมาณการนอนหลับที่จำเป็นในแต่ละวันจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลครับ การนอนหลับ 8 ชั่วโมงเป็นปริมาณการนอนหลับที่จำเป็นโดยเฉลี่ย ซึ่งได้มาจากการศึกษาของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา คำอธิบายของวิลเลียม ซี. เดอมองต์ (William C. Dement) ในหนังสือ The Promise of Sleep กล่าวว่า ผู้ถูกทดลองจะอยู่ในห้องที่ไม่มีหน้าต่างที่เพียงการเปิด-ปิดไฟ ซึ่งจะไปกระตุ้นการนอนหลับเท่านั้น ปริมาณการนอนหลับของผู้ถูกทดลองจะเพิ่มมากขึ้นจนถึง 14 ชั่วโมง แต่ในที่สุดแล้ว พวกเขา(เกือบจะทุกคน)ต้องการการนอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จำนวนชั่วโมงดังกล่าวเป็นเพียงค่าเฉลี่ยและไม่ใช่ค่าที่ถูกต้องเป๊ะๆ คนบางคนอาจจะทำกิจกรรมได้ดีหลังจากนอนเพียง 5-6 ชั่งโมงเท่านั้นครับ

ปริมาณการนอนหลังที่คุณต้องการขึ้นอยู่กับพันธุกรรม กิจกรรมที่อาจทำให้คุณอยู่ในภาวะตื่นเช่นการดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่ นาฬิกาชีวภาพ และกิจกรรมทางร่างกายที่บ่งบอกว่าต้องการการนอนหลับแล้วอีกด้วยครับ สแตมปีกล่าวว่าถ้าร่างกายเราสามารถทำงานได้ในระยะเวลาที่สั้นลง การหลับลึกของคุณสามารถปรับให้เกิดขึ้นในเวลาที่สั้นลงได้ แม้คนส่วนใหญ่จะไม่หลับถึงจนกว่าจะถึง 90 นาทีหลังจากนอนหลับแล้วก็ตาม คนที่นอนหลับระยะสั้นหลายๆ ครั้งมักจะเข้าสู่ภาวะหลับลึกได้หลังจากนอนหลับไปแล้ว 30 นาทีครับ

คุณควรจำไว้ว่า ถึงแม้ว่าการนอนหลับระยะสั้นๆ จะมีประสิทธิภาพและร่างกายเราสามารถปรับให้เข้ากับมันได้ แต่คนเราต้องการการนอนหลับที่แตกต่างกันไปครับ เพราะฉะนั้น คุณควรจะนอนหลับให้เต็มอิ่มแบบยาวตลอดคืนจะดีกว่าครับ

ขอขอบคุณ Nulex group



7 Jan 2008  |  Post by : Rattiya69

Comment


>

Pooyingnaka Quiz

Webboard
โพสต์โดย: Tecnogasthai 0
โพสต์โดย: inin 8
โพสต์โดย: appbee 6
โพสต์โดย: dudesweet 0
โพสต์โดย: Manee_Meekhao 6
โพสต์โดย: ยิ้มแย้ม 2
โพสต์โดย: aungaing38 8
โพสต์โดย: june 5

Interest Product