Talk About Women

4 เรื่องในและนอกร่มผ้าที่ (มัก) ไม่กล้าบอกใคร
1.ปัสสาวะเล็ด

อาจเป็นปัญหาของคุณแม่ยังสาวก็ได้ เพราะการคลอดบุตร ทำให้อุ้งเชิงกรานขยายและเปลี่ยนมุมระหว่างท่อปัสสาว ะกับกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจมีสาเหตุจากการเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกมาก หรือน้ำหนักตัวเกิน ทั้งนี้ การที่ปัสสาวะเล็ด 1-2 หยดไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อาจเกิดจากการหัวเราะ วิ่งจ็อกกิ้ง มีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การก้มตัวเก็บของที่พื้น

Try This บริหาร กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ลองนั่งบนโถชักโครก ปัสสาวะและพยายาม "ขมิบ" นับหนึ่งถึง 5 แล้วค่อยผ่อนอีก 10 วินาที ทำเช่นนี้ติดกัน 5 ครั้งต่อหนึ่งรอบแรกเริ่มให้ทำวันละ 10 รอบ แล้วค่อยเพิ่มเป็น 20 รอบ (รวมเป็นกลั้นปัสสาวะทั้งหมด 100 ครั้งต่อวัน)

2.ผายลม

การผายลมที่ไร้กลิ่นนั้นเกิดจากอากาศที่เรากลืนเข้าไ ป เวลากินอาหารหรือดื่มน้ำ แต่อีกประเภทที่เราต้องอุดจมูกนั้น จะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการย่อยในลำไส้ใหญ่ แต่หากคุณผายลมมากกว่า 12 ครั้งต่อวัน นั่นอาจเป็นเพราะคุณได้รับใยอาหารหรือดื่มน้ำอัดลมมา กเกินไป ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากการแพ้อาหาร (เช่น แล็กโทสหรือกลูเตน) และเป็นผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะหรือยาระบาย

Try This ดื่มชามินต์สิ เพราะน้ำมันจากมินต์มีเมนธอล ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในร ะบบย่อยอาหาร ชาอุ่น ๆ สักแก้วจะช่วยลดแก๊สในกระเพาะได้

3.ตกขาว

สำหรับหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ ตกขาวเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เพราะมันช่วยขับเซลล์ที่ตายแล้วออกมา ทำให้ผนังช่องคลอดหล่อลื่น และยังป้องกันการติดเชื้อได้อีกด้วย แต่ตกขาวของคุณควรจะใส มีสีขาวหรือออกเหลืองเล็กน้อย อาจมีกลิ่นอับจาง ๆ และอาจมามากกว่าปกติในช่วงที่คุณตกไข่ แต่ถ้าเนื้อของตกขาว กลิ่นหรือสีเปลี่ยนไปกะทันหัน (สีเขียวก็ไม่ดี) อาจมีอะไรบางอย่างผิดปกติแล้ว

Try This ปรับสมดุล กินอาหารที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์อย่าง โยเกิร์ต อย่าใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดชั้นในที่ทำมาจากผ้าซึ่งเ ก็บความชื้น อย่างผ้าไนลอน และก็อย่าลืมเปลี่ยนเสื้อผ้าชุ่มเหงื่อ หลังจากออกกำลังกายเสร็จค่ะ

4.ขนยุ่บยั่บ

ขนตามร่างกายเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณผู้หญิงมีหนวดเป็นแผงที่เหนือริมฝีปากบน คาง ระหว่างหน้าอก หน้าท้อง หรือต้นขาด้านใน มันอาจจะแสดงถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่เรียกว่า Polycystics Ovarian Syndrome ซึ่งอาจรวมถึงการมีสิว อ้วน ประจำเดือนมานานผิดปกติ หรือนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงยิ่งกว่า

Try This ไปพบแพทย์เถอะค่ะ หากคุณมีอาการหลายอย่างตามที่ได้กล่าวมา แพทย์อาจตรวจระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนในกระแสเลือด หรือตรวจอุ้งเชิงกรานและทำอัลตร้าซาวนด์ เพื่อหาความผิดปกติในรังไข่


26 Jun 2010  |  Post by : GGuruGirl
Comment 1
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ

23 Aug 2010  |  Comment by : think4u

Comment


>

Content-Seo

Webboard
โพสต์โดย: เหมียว <น่ารักอะนะ> 7
โพสต์โดย: 7-11 0
โพสต์โดย: buddy 2
โพสต์โดย: Momay 11
โพสต์โดย: รักชิน 3
โพสต์โดย: PRKTC 0
โพสต์โดย: mm 2
โพสต์โดย: 7-11 2

Interest Product