Talk About Women

มูลนิธิโครงการหลวง
กว่า 30 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขา
ด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล จึงก่อให้เกิด “มูลนิธิโครงการหลวง” ตามแนวพระราชประสงค์ เพื่อลดปัญหาการปลูกฝิ่น และการตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร และช่วยชาวเขาที่มีฐานะยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ให้ยั่งยืน
การดำเนินงานของโครงการหลวง จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ ที่เคยถูกบุกรุกทำลายจากการปลูกฝิ่น ให้กลายเป็นผืนดินที่ได้รับการปกป้อง เป็นป่าอนุรักษ์ และแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจอันอุดมสมบูรณ์ ที่ให้ผลผลิตงดงาม ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีที่ดินทำกินอย่างถาวร โดยไม่ต้องอพยพ เร่รอนอีกต่อไป
ผลงานของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่แพร่หลายและยอมรับ ถึคงความสำเร็จในการกำจัดสารเสพติดโดยสันติวิธี ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขา การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ประจำปี 2531
ปัจจุบันโครงการหลวงมีการค้นคว้าวิจัยทางการเกษตรในที่สูง ซึ่งเป็นเกษตรสาขาใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้สามารถปลุกพืชเมืองหนาวที่มีราคาแพงในเมืองไทยได้ นับเป็นการพัฒนาการเกษตรและช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
มูลนิธิโครงการหลวง จึงมิได้ช่วยเหลือเฉพาะคนบนดอยสูงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อคนทั้งประเทศและทั้งโลก
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา


7 Dec 2010  |  Post by : aommiefern
Comment 1
โครงการตามพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ มีหลายโครงการ และหลายวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การรักษาต้นน้ำลำธาร การผลิตไฟฟ้า การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม การบรรเทาอุทกภัย และเพื่อ ประโยชน์อเนกประสงค์ นับถึง พ.ศ. 2529 มีจำนวนทั้งสิ้น 764 โครงการ แยกจำนวนตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในภาคเหนือมี 319 โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 174 โครงการ ภาคกลางมี 153 โครงการ ภาคใต้มี 80 โครงการ รวมทั้งหมด 746 โครงการ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร ใน ภาคเหนือมี 8 โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 1 โครงการ รวม 9 โครงการ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้ามีเฉพาะในภาคเหนือรวม 3 โครงการ โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มมีเฉพาะในภาคใต้ 19 โครงการ โครงการบรรเทาอุทกภัย ในภาคกลางมี 4 โครงการ ภาคใต้มี 1 โครงการ รวมเป็น 5 โครงการ โครงการเพื่อประโยชน์อเนกประสงค์ ในภาคเหนือมี 1 โครงการ ภาคใต้มี 1 โครงการ รวมเป็น 2 โครงการ โครงการที่สำคัญ ๆ คือ
โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองหอย บริเวณบ้านหนองหอย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มก่อสร้างและเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2516 กรมชลประทาน รับผิดชอบ จัดสร้างเป็นโครงการแหล่งน้ำโครงการแรกในภาคเหนือ มี วัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นห้วยแม่รอกที่บริเวณบ้านหนองหอย ให้ราษฎรมีน้ำใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเพาะปลูกพืชผักและพืชเมืองหนาวในพื้นที่ เพาะปลูกประมาณ 300 ไร่
โครงการระบายน้ำพรุบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2524 เพื่อระบายน้ำ ออกจากพรุลงทะเล แก้ไขปัญหาอุทกภัยของพื้นที่รอบๆ พรุในฤดูฝน และเพื่อ จัดสรรที่ดินบริเวณขอบพรุซึ่งน้ำแห้งประมาณ 119,000 ไร่ กรมชลประทาน รับผิดชอบขุดลอกคลอง สร้างประตูระบายน้ำ ขุดคลองระบายน้ำ และสร้าง อาคารประกอบต่างๆ
โครงการมูโนะ จังหวัดนราธิวาส
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 และเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 กรมชลประทาน วางโครงการและก่อสร้างสนองพระราชดำริเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับการป้องกัน และบรรเทาอุทกภัย เพื่อการระบายน้ำออกจากที่ลุ่ม และการชลประทาน เพื่อ การเพาะปลูกให้แก่ราษฎร ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโกลก และราษฎรอำเภอ ตากใบ
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ตำบลแคมป์สน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
เริ่มเมื่อ พ.ศ.2519 เพื่อพัฒนาหมู่บ้านในลักษณะหมู่บ้านอาสาสมัคร ป้องกันตนเอง โดยพัฒนาพื้นที่ดิน จำนวน 44,000 ไร่ ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง จังหวัดเพชรบูรณ์กับจังหวัดพิษณุโลก ให้แก่ทหารผ่านศึก ทหารกองหนุน อาสา สมัครและครอบครัว พัฒนาแหล่งน้ำ ปรับปรุงลักษณะพื้นที่บริเวณขอบอ่างเก็บน้ำ ให้สามารถเพาะปลูกไม้ผล ไม้ฟืน และพืชอื่นๆ ตามหลักวิชาการ ส่งเสริมการ เพาะปลูกปลาเพื่อเลี้ยงในบ่อและเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
โครงการแม่งัด จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2520 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2528 เป็นโครงการ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคเหนือ โดยกรมชลประทานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำ มีระบบส่งน้ำชลประทานให้แก่พื้นที่ ท้ายอ่าง รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ 188,000 ไร่ สามารถส่งน้ำให้ราษฎรเพาะ ปลูกได้ตลอดปี และบรรเทาอุทกภัยจากลำน้ำแม่ปิง
โครงการน้ำเชิน จังหวัดขอนแก่น
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2520 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2521 เป็นโครงการพัฒนา แหล่งน้ำขนาดกลางให้แก่ราษฎร ในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอ คอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยเขื่อนทดน้ำและอาคารประกอบและมีระบบ ส่งน้ำไปเชื่อมกับโครงการสหกรณ์ลำน้ำเชิน สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนประมาณ 25,000 ไร่และในฤดู แล้งได้อีกประมาณ 15,000 ไร่
โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านสร้างแก้ว หมู่บ้านส้างแก้ว ตำบลส้างแก้ว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2520 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2521 เป็นโครงการแรก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างเขื่อนดินปิดกั้นลำห้วยธรรมชาติ มีระบบการส่ง น้ำและรับน้ำกระจายไปยังพื้นที่ 500 ไร่ ให้เพาะปลูกและอุปโภคบริโภคได้ตลอด
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2521 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ราษฎรได้ใช้ อุปโภคบริโภค และทำการเกษตรแหล่งน้ำในโครงการมีดังนี้ ฝายและอ่างเก็บน้ำคลองน้ำเขียว อำเภอสระแก้ว อ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำห้วยขัน ฝายห้วยซับ ฝายห้วยพยุง ฝายโป่ง ประทุน ฝายคลองยาง และระบบส่งน้ำในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร อ่างเก็บน้ำและระบบคลองส่งน้ำท่ากะบาก อำเภอสระแก้ว


9 Dec 2010  |  Comment by : aommiefern

Comment


>

Pooyingnaka Quiz

Webboard
โพสต์โดย: YooYah 8
โพสต์โดย: minning 1
โพสต์โดย: girlgroup 0
โพสต์โดย: HHA 6
โพสต์โดย: Momay 2
โพสต์โดย: PR BMAC 0
โพสต์โดย: bilikis 5
โพสต์โดย: killinmewithluv 1

Interest Product