Talk About Women

ความพอเพียง
ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพื้นฐานเกิดมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
พระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้และการรู้จักความพอประมาณ ทรงเตือนสติประชาชนไม่ให้ประมาท มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งแนวคิดดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียงทรงเน้นหลักการพึ่งตนเองในระดับครอบครัว ผสานกับความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น ก่อนที่จะเชื่อมโยงสู่ระบบธุรกิจในสังคมภายนอก
อีกทั้งยังพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชนเข้าร่วมมือกัน เพื่อศึกษาและพัฒนากิจการเกษตรกรรมของไทยอย่างจริงจัง ด้วยทรงตระหนักดีว่า การเกษตรนี้เองที่เป็นรากฐานอันแท้จริง ให้กับพัฒนาการที่ยั่งยืนของประเทศดังพระราชดำรัสที่ว่า “ ถ้าชนบทอยู่ได้ บ้านเมืองก็อยู่ได้”
ผลลัพธ์จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ สำแดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายทุกระดับ ต่างก็ต้องหันมาทบทวนทิศทางของการพัฒนาประเทศเท่าที่ผ่านมา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงพระราชทาน จึงนับเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนไทย ได้ดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รักการประมาณตน และดำรงชีวิตอย่างรู้จัก คิด อยู่ ใช้ กิน อย่างพอเพียง
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา


7 Dec 2010  |  Post by : aommiefern
Comment 1
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการที่บังเกิดผลดีต่อสภาพชีวิตของเหล่าพสกนิกรทั้งมวล ทรงสนพระราชหฤทัยในการ พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างทั่วถึงเสมอ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมนั้น เป็นที่ประจักษ์ไปทั่วทิศานุทิศ ทรงเป็น "กษัตริย์นักพัฒนา" ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งในการใช้หลักวิชาการพัฒนาสังคมในเชิง สหวิทยาการ นับตั้งแต่การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกลอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท โดยการรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงพลวัตรของชุมชนอย่างครบถ้วน ทุกแง่มุม ทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีพระอัจฉริยภาพเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการโครงการพัฒนาอีกด้วย
โครงการบรรเทาปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ เป็นตัวอย่างหนึ่งของโครงการพัฒนาสังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเมือง ที่มีการนำหลักวิชาการพัฒนาสังคมมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและถ้วนทั่ว โดยได้ พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเทคนิคและกระบวนการต่าง ๆ ในการกำหนดและจัดเตรียมรายละเอียดของโครงการ การ จัดองค์กรและระบบงาน การจัดทำแผนปฏิบัติการ การบริหารการเงินและงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การควบคุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจราจร วิธีการและมาตรการที่จะอำนวยให้สามารถ นำแผนและโครงการไปปฏิบัติอย่างได้ผลที่เป็นรูปธรรม การวิเคราะห์พื้นที่เป้าหมาย การจัดทำแผนงานโครงการ การประสาน แผนในระดับต่าง ๆ ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อ การวางแผนและการบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเอตทัคคะในทุกสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาสังคม ซึ่งส่งผลให้ทรงสามารถ ผสมผสานความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน การจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ เป็นตัวอย่างของโครงการพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ชนบท ที่นำหลักวิชาการพัฒนาสังคมมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผลและครบถ้วน แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนา ทรงเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในเบื้องต้น จึงต้องดำเนินการจูงใจและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ทรงตระหนักถึงการพัฒนาคน ก่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาทั้งปวง มีพระราชดำริอันทรงคุณค่ายิ่ง ซึ่งมีใจความว่า "โครงการต่าง ๆ นั้น ต้องสามารถแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ราษฎรกำลังประสบอยู่อย่างรีบด่วนและมีผลในระยะยาว โดยที่การพัฒนานั้นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ความจำเป็น และประหยัด ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ประชาชนต้องสามารถ พึ่งตนเองได้ ในที่สุด" ในการพัฒนาสังคมจำเป็นต้องมี ตัวอย่างของความสำเร็จ เป็นอีกประการหนึ่งที่ทรงเน้นให้เห็นความสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นในแต่ละศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของพสกนิกร พร้อมกับพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงบำเพ็ญพระ ราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทั้งในชุมชนชนบทและชุมชนเมือง จึงได้รับประโยชน์ เป็นอเนกอนันต์ตลอดมาจากโครงการพัฒนาสังคมอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๒,๔๐๐ โครงการ ได้แก่ โครง การพัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาการเกษตร โครงการพัฒนาสงเคราะห์และ ส่งเสริมอาชีพ โครงการพัฒนาสวัสดิการสังคม โครงการพัฒนาการคมนาคมและการสื่อสาร โครงการพัฒนาการสาธารณสุข โครงการพัฒนาการศึกษาและการวิจัย และโครงการต่าง ๆ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลาย เป็นต้น
พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาสังคม ที่ได้ทรงบำเพ็ญด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะอย่างไม่ลดละดังที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างใน เบื้องต้น ยังผลให้เกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อความอยู่เย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎร์ทั่วพระราชอาณาจักร อีกทั้งยังเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาวิชาพัฒนาสังคมอีกด้วย สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเห็นสมควรขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นราชสดุดีเฉลิม พระเกียรติให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และวงวิชาการพัฒนาสังคมสืบไป
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ดังนี้
"……เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิตประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำ อย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ….."
"……ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ ก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กันก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน…."
"กรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรองดองกัน ประสานกันตาม ธรรมดาแต่ละฝ่ายต้องมีศูนย์ของตน แต่ว่าอาจจะมีงานถือว่าเป็นศูนย์ของตัวเอง คนอื่นไม่เกี่ยวข้อง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็น ศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกอง ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษา อยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์……."
จากพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นก็พอจะสรุปได้ว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแนวทางและ วัตถุประสงค์ ดังนี้คือ
๑. ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเปรียบเสมือน "ต้นแบบ" ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและ ตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ
๒. แลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฎิบัติ และประชาชน การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆ ที่ได้ผลแล้วควรจะ นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ควรเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและการปฏิบัติ เป็นแหล่งความรู้ของ ราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา ระหว่าง คน ๓ กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริม และราษฎร
๓. พัฒนาแบบผสมผสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่งจะเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่ควรจะเป็น เป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่ลักษณะหนึ่ง ๆ นั้น จะสามารถใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะทางใด ทางหนึ่ง แต่พยายามใช้ความรู้มากสาขาที่สุด แต่ละสาขาก็ให้เป็นประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่นๆ และระบบของศูนย์ การพัฒนาฯ ก็ควรเป็นการผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบด้วย
๔. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและระบบราชการไทยมีปัญหานี้โดยพื้นฐาน เป็นสิ่งบั่นทอน ประสิทธิภาพของการทำงาน การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทุกแห่งจึงเน้นการประสานงาน ประสานแผนงาน ระหว่าง กรม กอง และส่วนราชการต่างๆ
๕. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นการดำเนินงานในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปาชีพในลักษณะของ "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิต" เมื่อผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ก็จะได้รับความรู้รอบด้าน นอกจากนี้ยังนำผลการศึกษา ไปส่งเสริมกับหมู่บ้านเป้าหมาย เรียกว่า "หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ" โดยการให้เกษตรกรเข้ามารับการอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ หลักสูตรต่างๆ เช่น การเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ การขยายพันธุ์ การเลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมออก ไปแนะนำส่งเสริมในหมู่บ้าน หรือเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้วยตนเองหรือเข้ามาเป็นหมู่คณะ


9 Dec 2010  |  Comment by : aommiefern

Comment


>

Content-Seo

Webboard
โพสต์โดย: StrawberryPinky 1
โพสต์โดย: PrayTa 0
โพสต์โดย: jean33 1
โพสต์โดย: ChoConut 3
โพสต์โดย: Luknammmmm 0
โพสต์โดย: 7chapp 4
โพสต์โดย: ananta.sale 0
โพสต์โดย: overseas 0

Interest Product