Talk About Women

พระราชนิพนธ์
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ“ในหลวง” ของพวกเรา
“ ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้างตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆว่า อย่าละทิ้งประชาชน อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่าถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะละทิ้งได้อย่างไร “
บทพระราชนิพนธ์ “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์ “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ในรูปแบบของการบันทึกความทรงจำ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อทีประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และได้พระราชทานให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวงวรรณคดี นี่คือพระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรม ที่พระองค์สนพระราชหฤทัยมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์
พ.ศ. 2537 ทรงแปลหนังสือเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ของวิลเลียม สตีเวนสัน จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง A Man called Intrepid
ในปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวทรงแปลหนังสือเรื่อง ติโต จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ของฟิลลิส ออติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของนายพลติโต
พระราชนิพนธ์แปล ทั้ง 2 เรื่อง สะท้อนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ และ พระปรีชาสามารถด้านภาษาที่โดดเด่น
นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และ ติโต เป็นหนังสือที่มียอดการพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่อง และมียอดจัดจำหน่ายรวมกันมากกว่า 250000เล่ม


13 Dec 2010  |  Post by : aommiefern
Comment 2
สายฝนแห่งน้ำพระราชหฤทัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารหลากหลายจังหวัดอย่างไม่เคยว่างเว้น ด้วยทรงตระหนักดีถึงปัญหาความแห้งแล้ง จากภาวะฝนทิ้งช่วงที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณเทือกเขาภูพานนั้น ทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมอยู่มาก แต่ไม่สามารถรวมตัวกันเกิดฝนได้ ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง จึงทรงมีพระราชดำริที่จะค้นหาวิธีการทำฝนตกด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า “ฝนเทียม” และได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้น ใน พ.ศ. 2512 โดยทรงร่วมศึกษาทดลอง และติดตามการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เอง ไม่เว้นแม้แต่การทดลองปฏิบัติการจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ยังความปลื้มปีติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะผู้ปฏิบัติการ และอาณาประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดมิได้
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา


20 Dec 2010  |  Comment by : aommiefern
Comment 1
ในประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากมายมีที่ดินไม่ถึง20ไร่ และผูกติดชีวิตไว้กับฟ้าฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่เกษตรเล็กๆเหล่านั้นจึงไม่อาจผลิตพืชผลเพื่อขายเพียงพอที่จะเลี้ยงปากท้องได้ทำอย่างไร ผืนดินจำนวนน้อยนิดอันเป็นต้นทุนเพียงอย่างเดียวของเกษตรกร จะสามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้เป็นเจ้าของได้อย่างพอเพียง ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันความเสี่ยงจากธรรมชาติที่ไม่แน่นอนได้ด้วยเหตุนี้ พระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ทุกข์ร้อนให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตพระราชดำริทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย ใช้เป็นแนวทางในการจัดการที่ดินและน้ำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแนวคิดของทฤษฏีใหม่ ใช้สำหรับการจัดการที่ดินแปลงเล็ก ประมาณ 10-15 ไร่ เพื่อช่วยให้เกษตรกรเลี้ยงตัวได้ มีข้าวพอกินตลอดปีโดยทรงกำหนดให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น4 ส่วน คือส่วนที่1 ขุดเป็นสระน้ำ 3 ไร่ส่วนที่2 ใช้ทำนาข้าว 5 ไร่ส่วนที่3 ให้ปลูกพืชชนิดต่างๆ 5 ไร่ เพื่อใช้เป็นอาหาร ให้เพียงพอตลอดทั้งปี หากเหลือจึงนำไปจำหน่ายส่วนที่4 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์อีก 5 ไร่ แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ ได้กลายมาเป็นประจักษ์ถึงความสำเร็จอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ ที่สามารถช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นทุกข์ยากในการดำรงชีวิตได้

15 Dec 2010  |  Comment by : aommiefern

Comment


>

Pooyingnaka Quiz

Webboard
โพสต์โดย: Momay 0
โพสต์โดย: NongLukBua 4
โพสต์โดย: panda0101 1
โพสต์โดย: njoyable 7
โพสต์โดย: lemonpink 3
โพสต์โดย: marisa_ket 0
โพสต์โดย: Grip 0
โพสต์โดย: wowwydeeja 0

Interest Product