Talk About Women

10 ความรู้รอบ "ตด"
ไม่ว่าใครจะตดในรถ หรือตดในลิฟต์ FHM.in.th เชื่อว่าหนุ่มสาวคงเคยมีประสบการณ์ร่วมกัน ฉะนั้นจะแอบอ่าน หรือแอบตด กลิ่นความรู้ก็ยังคงทดไว้ในหัวสมอง...

เรื่อง/เรียบเรียง : สุปรีดี จันทะดี
fhm.in.th

16 Sep 2014  |  Post by : thememory
Comment 10

10. "มีถั่วมั้ย?" ในอินเดีย

Jammala Machaiah แห่ง Bhabha Atomic Research Centre ประจำเมือง Trombay ในอินเดีย ได้รายงานว่า การนำถั่วเหลืองมาอาบด้วยรังสีแกมม่า กรรมวิธีนี้จะลดปริมาณ oligosaccharide(สารชนิดหนึ่งซึ่งทำให้ตด)ในถั่ว โดยถั่วเหลืองที่ได้รับรังสีแกมม่านี้ จะทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลงถึง 70% ซึ่งต่างจากการแช่น้ำธรรมดา ปริมาณน้ำตาลจะลดลงเพียง 35% เท่านั้น จากงานวิจัยของ Machaiah นี้ มีความสำคัญสำหรับสังคมอินเดียอย่างมาก เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่าคนอินเดียนิยมกินถั่ว จึงทำให้การตดมีมากตามไปด้วย แต่การปลดปล่อยเช่นนี้ หากผิดสถานที่และเวลา จะทำให้คนใกล้ตัวทั้งหลายไม่สบายใจเอาได้ ดังนั้น เขาจึงทำการทดลองนำถั่วเหลืองไปอาบรังสี เพื่อจะทำให้คนอินเดียบริโภคถั่วเหลืองกันอย่างสบายใจมากขึ้น!!


...................................
PHOTO :
smileforestgroup.com
straitstimes.com
hqwallbase.com
static.feber.se
1.bp.blogspot.com
m2.facebook.com
seesimi.com
img.ibxk.com
animaldetective.blogspot.com
photobucket.com

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 9

9. เมื่อตัวสกั๊งค์ตด

สกั๊งค์ สัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าเหม็นที่สุดในโลก และโดดเด่นในเรื่องศิลปะการป้องกันตัว ไม่อย่างนั้นเจ้าสัตว์ตัวเล็กๆ ที่ว่า ทว่าภายนอกเหมือนไร้พิษสงก็คงจะสูญพันธ์ุไปจากโลกนี้นานแล้ว โดยธรรมชาติของสกั๊งค์ เมื่อเจอกับศัตรูมันจะชูหางเพื่อเป็นการหยั่งเชิง.. แต่จะยังไม่ตด ถ้าหยั่งเชิงแล้วศัตรูตัวนั้นยังไม่ถอยหนี หรือตรงกันข้าม กลับรุกรานมากกว่าเดิม ทีนี้มันก็จะปล่อยตดออกมาทันที ซึ่งในตดนี้จะมีของเหลวเป็นพิษชนิดพิเศษที่ชื่อว่า "บิวทิล เมอร์แคปเทน" ซึ่งแพร่กลิ่นได้ไกลเป็นกิโล ถ้าศัตรูตัวนั้นเผลอโดนเข้าไป นอกจากจะเหม็นและแสบร้อน โชคร้ายอาจถึงขั้นตาบอด วินาทีฉุกเฉินนั้น...มันก็จะฉวยโอกาสหนีไปจากสมรภูมิรบ

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 8

8. กลิ่นตด บำบัดโรค ได้จริงหรือ?

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอ็กซ์เตอร์ ประเทศอังกฤษ เผยงานวิจัยหลังจากกรณีศึกษาพบว่า "การดมกลิ่นตด” อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งและอีกหลายๆ โรคได้ โดย ดร.มาร์ก วูด เอ่ยถึงผลการศึกษาของเขาในเอกสารของมหาวิทยาลัยว่า แม้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยอาหาร จะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงคล้ายไข่เน่า แต่มันก็เป็นสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติของร่างกาย และกลิ่นตดที่ลอยจางๆ เข้าไปในจมูกอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง, โรคหลอดเลือดในสมองตีบ, โรคหัวใจ, โรคไขข้อ หรือแม้กระทั่งโรคสมองเสื่อม โดยมีผลในการปกป้องไมโตคอนเดรีย (mitochondria) และอาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การบำบัดรักษาโรคได้อีกหลายชนิด แต่ทั้งนี้ยังต้องอาศัยการศึกษาและค้นคว้ากันอย่างละเอียดต่อไป

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 7

7. กฎหมาย "ห้ามตด"

มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการออกกฎหมายห้ามตดในที่สาธารณะหลัง 6 โมงเย็น และในประเทศมาลาวี โดย นายจอร์จ ชาพอนด้า รัฐมนตรีว่าการยุติธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งมาลาวี (ปี ค.ศ.2011) ก็เคยพิจารณาข้อเสนอ ห้ามตดในที่สาธารณะเช่นเดียวกัน โดยท่านรัฐมนตรีกล่าวว่า "คนเรารู้สึกว่าตัวเองได้รับอิสระการตดในที่สาธารณะมาเป็นเวลานานมากแล้ว และมันก็ส่งกลิ่นรบกวนคนรอบข้างได้ไม่น้อย" ถึงแม้การตดจะเป็นเรื่องธรรมชาติก็จริง แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ ซึ่งรัฐมนตรีชาพอนด้าให้เหตุผลว่า "คนเราสามารถปฎิบัติกันได้ง่ายๆ เพียงแค่เดินไปเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เมื่อรู้สึกว่าตนเองกำลังจะตดก็เท่านั้นเอง"

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 6

6. รัฐมนตรีแห่งเกาหลีใต้ ทำไมจึงเล็งเห็นความสำคัญของ "ตด"

นายคิม ยอง กวาน (Kim Young-hwan) รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ของเกาหลีใต้ได้เรียบเรียงหนังสือเล่มหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Does a Fart Cath Fire? หรือ ตดติดไฟได้ จริงหรือ? ออกวางจำหน่าย โดยมีจุดประสงค์อยากจะให้เด็กๆ ในเกาหลีใต้หันมาสนใจวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น และรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร ซึ่งผลสุดท้ายหนังสือที่ว่าก็ประสบผลสำเร็จ จากการติดอันดับหนังสือขายดีในเกาหลีใต้

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 5

5. ขนาดแมงยังตด

แมงตด เป็นชื่อที่คนไทยในภาคอีสานใช้เรียก (คนเหนือเรียกว่า แมงแต๊บ ส่วนคนใต้เรียกว่า แมงขี้ตด) ชื่อสามัญคือ Bombardier Beetles ชื่อวิทยาศาสตร์ Pherosophus (Phylum: Arthropoda) แมงตด เป็นแมลงจำพวกเดียวกันกับด้วงดิน ส่วนมากวางไข่เป็นกลุ่มอยู่ในโพรงใต้ดิน กองหิน หรือใต้เปลือกไม้ ตามบริเวณริมแอ่งน้ำเล็กๆ แพร่พันธุ์ในช่วงฤดูฝน และหากินอยู่กับพื้นดิน แมงตดเป็นแมงปีกแข็ง มีช่วงลำตัวยาว 17-21 มม. กว้าง 6.5-8 มม. ในโลกนี้มีกว่า 500 ชนิด แตกต่างกันออกไป แต่ที่พบในประเทศไทยแถบภาคอีสาน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ Pherosophus Javanus และ Pherosophus Occipitalis วิวัฒนาการสร้างให้มันมีพิษไว้สำหรับการป้องกันตัว เมื่อเวลาปล่อยพิษจะมีเสียงดังคล้าย "ตด" จึงได้ชื่อว่า "แมงตด"

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 4

4. กำเนิด กางกางในดับกลิ่นตด

เราคงเคยชินกับลูกอมดับกลิ่นปาก สเปรย์ระงับกลิ่นกาย แล้วจะแปลกอะไร ถ้ามนุษย์จะคิดค้น "กางเกงในดับกลิ่นตด" ขึ้นมา ในสหรัฐอเมริกา ดร.ไมเคิล เลวิตต์ แห่ง Veterans Administration Medical Center ได้เริ่มต้นคิดค้นกางเกงในดับกลิ่นตด ด้วยการเสริมแผ่นสอดด้านในของกางเกงใน(inside pads) ซึ่งสามารถดูดซับกลิ่นผายลมได้ 55-77% และแผ่นหนุนรอบๆ กางเกงใน ก็ยังช่วยดูดซับกลิ่นได้อีก 20 % และปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ในญี่ปุ่นอย่าง บริษัท SEREN CO.,LTD. ซึ่งเป็นบริษัทสิ่งทอ ได้ผลิตจากการคิดค้นพัฒนาประสิทธิภาพกางเกงดับกลิ่นตดให้ได้อย่างทันท่วงที โดย นามิ โยชิดะ (Yoshida Nami) โฆษกประจำบริษัทกล่าวว่า เบื้องต้นมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลต่างๆ เป็นอันดับแรก ทว่ากลับได้รับความนิยมจากบรรดานักธุรกิจที่ต้องติดต่องานสำคัญกับผู้บริหารหลากหลายระดับ โดยกางเกงในที่ว่านี้ ผลิตมาจากเส้นใยเซรามิค สามารถดูดซับกลิ่นได้ชะงัดและเคลือบด้วยกลิ่นหอมจางๆ โดยจุดเริ่มต้นของการพัฒนากางเกงกำจัดกลิ่นนั่นคือ กลุ่มแพทย์ต้องการลดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยโรคลำไส้

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 3

3. "ตด" สำคัญต่อ NASA อย่างไร?

เนื่องจากอาหารทุกชนิดที่นักบินอวกาศรับประทานเข้าไปทั้งหมด ย่อมส่งผลต่อการตดด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งนักบินอวกาศจะขับออกมาในภายหลัง อีกทั้งนักบินอวกาศของสหรัฐฯ ต้องอาศัยอยู่ภายในบริเวณพื้นที่จำกัด และค่อนข้างคับแคบเป็นเวลานานๆ ดังนั้น NASA จึงต้องการให้บรรยากาศภายในยานไม่มีกลิ่น จำเป็นต้องควบคุมการผลิตอาหารที่นักบินอวกาศจะรับประทานเข้าไป

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 2

2. ผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง "ตด" ระดับโลก

ดร.ไมเคิล เลวิตต์ (Dr. Michael Levitt) แห่ง Veterans Administration Medical Center ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ผู้ที่คิดว่า "ตด" นั้นมีความสำคัญและเป็นปัญหาที่น่าสนใจ จึงทุ่มเททั้งชีวิตศึกษา ค้นคว้า วิจัยเรื่องตดนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว และได้เขียนบทความลงในวารสาร และหนังสือพิมพ์ต่างๆ อีกมากมาย จนทำให้วงวิชาการทั่วโลกต่างยอมรับว่า ดร.ไมเคิล เลวิตต์ คือ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตดระดับโลก

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory
Comment 1

1. ตด 1 วัน เท่ากับ เป่าลูกโป่ง 1 ลูก

นักโภชนาการได้ศึกษาพบว่า คนที่อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เวลากลืนน้ำลายนั้นจะกลืนอากาศลงท้องตามไปด้วย และในหมากฝรั่งจะมี Sorbitol หรือสารให้รสหวานแทนน้ำตาล เวลาย่อยจะทำให้เกิดแก๊สมาก จึงมีผลทำให้ตดมาก แต่ถ้าไม่อยากตดมากแล้วล่ะก็... นักโภชนาการแนะนำว่า เวลาซื้อหมากฝรั่งควรอ่านฉลากก่อนว่ามีส่วนผสมของ Sorbitol ไหม? และสำหรับอาหารค้างคืนที่นำไปแช่ตู้เย็น นั่นจะเป็นการกระตุ้นจุลินทรีย์ในอาหารให้ทำการผลิตแก๊ส การทานอาหารที่อุ่นซ้ำๆ จึงทำให้ตดบ่อย แต่ตดก็ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ วันหนึ่งๆ เราจะปลดปล่อยแก๊สออกมา 0.5-1 ลิตร/วัน เฉลี่ยอยู่ราวๆ 10 ครั้ง/วัน หรือมากพอที่จะบรรจุลูกโป่งได้ 1 ลูก

16 Sep 2014  |  Comment by : thememory

Comment


>

Pooyingnaka Quiz

Webboard
โพสต์โดย: minmanee 12
โพสต์โดย: ople 1
โพสต์โดย: sopida 0
โพสต์โดย: boongbing 5
โพสต์โดย: namka 1
โพสต์โดย: Rattiya69 0
โพสต์โดย: rosena 0
โพสต์โดย: ployploy 3

Interest Product