Talk About Women

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล
ชูตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ (Thailand Trust Mark:TTM)
ตอกย้ำมูลค่าเพิ่มภาพลักษณ์สินค้าไทย พร้อมรับเศรษฐกิจอาเซียน
“Trust Quality” (Thailand Trust Mark : TTM)
คือ เครื่องหมายรับรองสินค้าและบริการชั้นนำของไทยในตลาดโลก

“คุณภาพที่ทั่วโลกมั่นใจได้ ของสินค้าไทย”

จากความสำเร็จของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เคยสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand’s Brand) มาตั้งแต่ปี 2542 จนกลายเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลกที่มีต่อประเทศไทยในฐานะแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลายและพิถีพิถัน (Diversity & Refinement)

จวบจนถึงปี 2555 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม รองรับเป็นฐานการผลิตและการค้าในฐานะกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดนโยบายขยายตลาดสินค้าและบริการของไทยทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการปรับปรุงตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand’s Brand) เป็นตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) อันเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ด้านการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ประเทศในฐานะผู้ผลิตและส่งออกสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมทั้งสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าและบริการของไทยจากสินค้าของประเทศคู่แข่ง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอย่างยั่งยืน

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า Thailand Trust Mark คือ เครื่องหมายรับรองสินค้าและบริการชั้นนำของไทยในตลาดโลก โดยหลังจากมีการศึกษาวิจัยความคาดหวังของผู้บริโภคในปัจจุบันแล้ว การสื่อสารภาพลักษณ์ใหม่นี้จะเป็นการเน้นย้ำจุดแข็งและความแตกต่างของสินค้าไทยมากขึ้น นอกเหนือจากการเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่หลากหลายแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นจากการกำหนด Brand Positioning ของตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ “Trusted Quality” (Thailand Trust Mark : TTM) คือ “คุณภาพที่ทั่วโลกไว้วางใจได้” ของสินค้าไทยในทุกมิติ คือ 1) Trust Worthiness มีการผลิตสินค้า/บริการที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ทั่วโลกให้ความไว้วางใจได้ 2) Eco-conscious มีขั้นตอนการผลิตที่คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ 3) Socially responsible มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นนี้จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของภาคการส่งออก จากคุณสมบัติที่แตกต่างและความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย เป็นการยกระดับภาพรวมอุตสาหกรรมไทยและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ

“ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์จะได้รับประโยชน์ โดยกรมฯ จะเป็นผู้ยกระดับภาพลักษณ์ประเทศ ผ่านตราสินค้าสัญลักษณ์ TTM ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ เป็นการช่วยเปิดตลาดใหม่ในต่างประเทศได้สะดวกขึ้น และลดปัญหาการถูกกดราคา ต่อราคา และปัญหาการย้ายฐานการสั่งซื้อสินค้า ช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับช่องทางจัดจำหน่าย ไม่ให้ถูกกำหนดโดยผู้ซื้อฝ่ายเดียว” ม.ล.คฑาทอง กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการใช้ตราสัญลักษณ์ TTM

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ TTM ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการพิจารณาเป็นพิเศษเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมของกรมฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น งานแสดงสินค้า คณะผู้แทนการค้า กิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าและซุเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ และโอกาสในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านสื่อต่างๆ ของกรมฯ เป็นต้น

“ในทางกลับกันการรับรู้ถึงตราสัญลักษณ์ TTM จะทำให้ผู้บริโภคในตลาดโลกมั่นใจได้ว่าได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นการขยายตัวของยอดส่งออกทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มการจ้างงานลดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยที่ได้เห็นสินค้าไทยไปประสบความสำเร็จในตลาดโลก” ผอ.คนเดิมเสริม

สำหรับอุตสาหกรรมที่สามารถขอรับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark : TTM สามารถแบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 2 ประเภทกว้างๆ ได้แก่ 1)ประเภทสินค้า ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร (อาทิ สินค้าเกษตร สินค้าผักผลไม้สดและแปรรูป สินค้าอาหารทะเลสดและแปรรูป สินค้าปศุสัตว์), กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก (อาทิ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สินค้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบสินค้าวัสดุก่อสร้าง สินค้าเม็ดพลาสติก สินค้าเครื่องจักรกล และส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์พลาสติก), กลุ่มอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ (อาทิ สินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนสินค้าที่ใช้บนโต๊ะอาหารและในครัว ของเล่น ของขวัญของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน เคหะสิ่งทอ สินค้าเครื่องเขียน ของใช้โต๊ะทำงาน), กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น (อาทิ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเครื่องหนังและรองเท้า สินค้าแฟชั่นเสื้อผ้าและสิ่งทอ) และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ (อาทิ สินค้าเครื่องมือแพทย์ สินค้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม สินค้าเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สปา) 2)ประเภทธุรกิจบริการ ได้แก่ ธุรกิจบริการรักษาพยาบาล (โรงพยาบาล/คลินิก), ธุรกิจบริการส่งเสริมสุขภาพ (สปา) และธุรกิจบริการการศึกษานานาชาติ

ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการ ที่สนใจสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) สามารถตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ใช้ตรา TTM ได้ที่ สถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2507 8273, 0 2507 8274 หรือ www.ditp.go.th , www.thailandtrustmark.com หรือ ttm@ditp.go.th /ttmditp@gmail.com หรือสอบถามข้อมูลเบื้องต้นที่ DITP Call Center 1169


22 Oct 2014  |  Post by : nukyoka

Comment


>

Content-Seo

Webboard
โพสต์โดย: arianaf 0
โพสต์โดย: Momay 8
โพสต์โดย: orratai 0
โพสต์โดย: linlin2333 1
โพสต์โดย: pimpannarak 8
โพสต์โดย: เมเม 4
โพสต์โดย: 7-11 6
โพสต์โดย: Momay 7

Interest Product