Talk About Women

เจาะลึกอันตราย “ฟิลเลอร์” สวยทางลัด แต่เสี่ยงชีวิต
“ฟิลเลอร์” (Filler) หรือ “สารเติมเต็ม” ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในศัลยกรรมเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นการเติมเต็มร่องริ้วรอยบนใบหน้า เพื่อทำให้ใบหน้าดูเต่งตึง อ่อนกว่าวัย หรือการฉีดเสริมเพิ่มเพียงเล็กน้อยในส่วนต่างๆ เช่น ร่องแก้ม, ใต้ตา,จมูก, คาง, ริมฝีปาก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้การฉีดฟิลเลอร์จะเป็นวิธีการที่ง่าย แต่ก็มีข้อเสียและให้ผลไม่คงทนถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการฉีดฟิลเลอร์ไม่ถูกบริเวณ ปริมาณไม่เหมาะสม และแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงาม รพ.บางมด กล่าวว่า “ฟิลเลอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ฟิลเลอร์ ที่มีมาตรฐานรับรองจาก อย.ถูกต้องตามหลักการแพทย์ เช่น Hyaluronic Acid (HA), คอลลาเจน เป็นต้น กับอีกประเภทคือ ฟิลเลอร์ ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น น้ำมันมะกอก, ซิลิโคนเหลว เป็นต้น ซึ่งสารเติมเต็มเหล่านี้ ทางการแพทย์ห้ามนำมาฉีด เพราะอาจเกิดผลแทรกซ้อนได้”

สำหรับการนำฟิลเลอร์มาใช้ในการศัลยกรรมเสริมความงามนั้น จะเป็นการใช้เพื่อเติมเต็มร่องผิว หรือริ้วรอยเล็กๆ น้อยๆ เช่น บริเวณร่องแก้ม, บริเวณใต้ตา เป็นต้น แต่หากเป็นการศัลยกรรมเสริมหน้าอก, เสริมสะโพก, การเสริมจมูก ควรเสริมด้วยวัสดุซิลิโคนที่ได้รับมาตรฐานและการรองรับ จะมีความปลอดภัยกว่า

“การฉีดฟิลเลอร์จะสามารถฉีดได้ในบางบริเวณ และมีบางบริเวณที่ห้ามฉีด เช่น หน้าอก ซึ่งโดยทั่วไปมากกว่า 90% การเสริมหน้าอก จะใช้วิธีการเสริมด้วยถุงซิลิโคน เพราะมีรูปทรง ขนาดให้เลือกรวมทั้ง มีความปลอดภัยสูงกว่าฟิลเลอร์ เพราะการฉีดด้วยฟิลเลอร์ ต้องใช้ปริมาณมาก และอาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ เช่น เกิดโอกาสไหลลงมาที่หน้าท้อง หัวเหน่า ขาหนีบ หรือต้นขาได้ เกิดการอักเสบติดเชื้อ รูปทรงไม่แน่นอน แข็ง เป็นก้อนได้

เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก ถึงแม้จะทำแล้วสวยในช่วงต้น แต่ถ้าระยะยาว มีผลแทรกซ้อนทางการแพทย์ ก็ถือว่าไม่ปลอดภัย ซึ่งทำอย่างไรจะปลอดภัย หลักง่ายๆ ก็คือ ต้องรู้จักเลือกแพทย์ รู้จักเลือกสถานพยาบาล วัสดุอุปกรณ์ต้องถูกต้องตามหลักการแพทย์ ที่สำคัญ อย่าหลงเชื่อรีวิวมากเกินไป ขอให้ดูรีวิวความรู้ตามหลักทางการแพทย์ที่ถูกต้องว่า วิธีการทำอย่างไร การดูแลตัวเองก่อนและหลังควรทำอย่างไร ผลแทรกซ้อนเป็นอะไรได้บ้างจะดีกว่า” นพ.ธนัญชัย กล่าวทิ้งท้าย


21 Sep 2018  |  Post by : PR BMAC

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: nobb 0
โพสต์โดย: iamkong99 3
โพสต์โดย: este_essence 2
โพสต์โดย: swifty0010 4
โพสต์โดย: aime_clinic 0
โพสต์โดย: four400 0
โพสต์โดย: happyberry 1
โพสต์โดย: lovelymoment 1

Interest Product