Talk About Women

รู้ได้อย่างไร เมื่อป่วยทางจิต
การเจ็บป่วยทางจิตได้ก้าวเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตของบุคคลนั้นๆ อาจมีคำถามว่าจะทำอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดขึ้น แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะอยู่กับโรคจิตนั้นอย่างไร ที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้น้อยที่สุดยิ่งไปกว่านั้น

บุคคลที่ป่วยทางจิตจะสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้เท่าเทียมกับผู้อื่น รวมถึงการได้รับการปฏิบัติจากคนในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีในฐานะมนุษย์คนหนึ่งซึ่งการจะอยู่อย่างไร เมื่อป่วยทางจิตนั้นเป็นประเด็นที่น่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง

สิ่งที่สำคัญที่ทุกคนควรตระหนักและถือเป็นหลักปฏิบัติ 4 ข้อด้วยกัน ดังนี้

1.ผู้ที่เป็นโรคจิตมีโอกาสเสี่ยงต่อการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเดิมที่ทำให้ป่วยซ้ำอีก ดังนั้นญาติผู้ดูแล ควรตระหนักถึงความเปราะบางง่ายต่อการเจ็บป่วยซ้ำของผู้ที่เป็นโรคจิต

2.หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ 3 ลักษณะดังนี้

- การเพิ่มความขัดแย้ง และการวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างบุคคลต่อหน้าผู้ที่เป็นโรคจิต

- การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้ที่เป็นโรคจิตมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ

- การตัดขาดจากเครือข่ายทางสังคมของตนเอง

3.การลดความคาดหวัง ญาติผู้ดูแลควรเข้าใจธรรมชาติของโรคจิตเวชว่าผู้ที่เป็นโรคจิตมักจะมีอาการซึม เฉย ไม่กระตือรือร้น หรือมักจะนอนมากเกินไป ดูเหมือนไม่ขยันเท่าที่ควร ญาติผู้ดูแลไม่ควรคิว่าผู้ที่เป็นโรคจิตนั้นแกล้ง ควรให้ความเข้าใจและยอมรับสภาพ และให้การช่วยเหลือด้วยความรัก ความเมตตา เอาใจใส่ และความสม่ำเสมอ โดยการช่วยกระตุ้น บอก เตือน ยึดหลักของความผ่อนปรน เนื่องจากการกระตุ้นที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปในผู้ที่เป็นโรคจิตทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี นั่นเอง

ญาติผู้ดูแลควรจะเรียนรู้จังหวะให้ดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคจิตและญาติผู้ดูแล ซึ่งหลักของการกระตุ้นผู้ที่เป็นโรคจิต มีหลักง่ายๆดังนี้

- การยอมรับผู้ที่เป็นโรคจิต

- จู้จี้หรือบ่นให้น้อยที่สุด

- อย่ากระตุ้นผู้ที่เป็นโรคจิตมากเกินไป

- อย่าแสดงความกระตือรือร้นต่อผู้ที่เป็นโรคจิตมากเกินไป

4.การสร้างเครือข่ายทางสังคม ผู้ที่เป็นโรคจิตและครอบครัวมักแยกตัวออกจากสังคม ทำให้มีเครือข่ายทางสังคมค่อนข้างน้อย ส่งผลให้ไม่สามารถพูดระบายถึงความเจ็บป่วยของผู้ที่เป็นโรคจิตได้ ทำให้ครอบครัวเกิดความเครียดได้ง่าย ขาดแหล่งสนับสนุนทางสังคม แต่หากครอบครัวมีการติดต่อกับสังคมภายนอก และมีความอิสระ จะทำให้ช่วยลดความตึงเครียดและสามารถขยายเครือข่ายและแหล่งช่วยเหลือทางสังคมให้กว้างขวางขึ้น

รูปแบบการติดต่อภายนอกครอบครัวที่แนะนำประกอบด้วย

- การพูดคุยเกี่ยวกับความไม่สบายใจ ความตึงเครียด ความต้องการ การได้รับการประคับ ประคอง การให้กำลังจากบุคคลอื่น

- การใช้ความสามารถส่วนบุคคล การเสียสละ และความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น เพื่อคงไว้ซึ่งการยกย่อง และนับถือตนเอง

จากข้อแนะนำทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากญาติผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัวสามารถนำไปปฏิบัติได้ก็จะทำให้ญาติผู้ดูแลและผู้ที่เป็นโรคจิตอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขตลอดไป

"คนไม่ใช่หุ่นยนต์ ต้องการความรักความเข้าใจ"

Souce:: กรุงเทพธุรกิจ

29 Jul 2005  |  Post by : StrawberryPinky

Comment


>

Pooyingnaka Quiz

Webboard
โพสต์โดย: m3031111 1
โพสต์โดย: BABYBITCH 0
โพสต์โดย: fh400 0
โพสต์โดย: MING1994 2
โพสต์โดย: Sara_123 6
โพสต์โดย: PRKTC 0
โพสต์โดย: carrie 4
โพสต์โดย: malihom 0

Interest Product