Talk About Women

บันทึกไดอารีโคลิค ติดตามอาการ ลูกร้องไม่หยุด
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายๆ คนอาจจะได้เผชิญกับอาการโคลิค อาการที่ทารกร้องไห้ไม่หยุดและไม่มีสาเหตุ จึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของแพทย์และคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องคอยติดตามลักษณะอาการของลูกน้อย เพื่อให้รู้ว่ามีสาเหตุจากอะไรและควรดูแลรักษาอาการเบื้องต้นอย่างไรบ้าง
อาการโคลิคจะสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกายุ 2 – 3 สัปดาห์ และหายไปเองเมื่ออายุ 4 – 6 เดือน ซึ่งระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของ เด็กร้องไห้ เพราะมักจะร้องตอนเย็นและตอนกลางคืน เวลาไปพบแพทย์จึงไม่อาจสังเกตเห็นอาการร้องไห้อย่างรุนแรงของทารกได้โดยตรง คุณพ่อคุณแม่จึงต้องอธิบายลักษณะการร้องไห้ให้แพทย์รู้อย่างละเอียดด้วยการจดบันทึกไดอารีโคลิค ติดตามอาการเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง
โดยให้คุณพ่อคุณแม่จดสาเหตุที่อาจจะทำให้ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คือ เริ่มจดบันทึกทันที่หลังจากลูกน้อยเริ่มร้องไห้ โดยสังเกตอาการต่อไปนี้
- เด็กร้องไห้เพราะกินนมอิ่มเกินไป
- อิ่มแล้วไม่อุ้มพาดบ่าให้เรอนม
- มีแก๊สในท้อง ท้องแข็ง
- ท้องผูกหรือท้องเสีย
- โรคภูมิแพ้หรือผื่นผ้าอ้อม
- น้ำมูกไหลและหายใจเสียงดัง
- กินนมน้อย น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
การจดบันทึกการร้องไห้ทั้งปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้น ลักษณะความรุนแรงของการร้องไห้ เช่น แผดเสียงดัง กำหมัดแน่น จิกมือจิกเท้า ดิ้นไปมา และยังต้องจดบันทึกว่าเกิดอาการร้องไห้ วันไหน กี่ชั่วโมง การให้นมหรือการนอนหลับเป็นอย่างไร สังเกตการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย และระบบทางเดินหายใจ ให้คุณพ่อคุณแม่จดบันทึกสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ระบุสาเหตุของอาการโคลิคได้ สิ่งที่ดีกว่านั้นคือ การถ่ายวิดีโอสั้น ๆ บันทึกในช่วงที่ลูกน้อยร้องไห้ ช่วยให้แพทย์สังเกตสภาพร่างกายและพฤติกรรมของลูกน้อยในช่วงเวลาที่เกิดอาการโคลิค เพื่อประเมินอาการง่ายขึ้น และเมื่อได้รับการรักษาและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้งแล้วยังต้องบันทึกว่าลูกมีอาการดีขึ้นไหม
เมื่อเด็กร้องไห้ ติดต่อกันนานหลายชั่วโมงส่งผลเสียต่อลูกน้อยในระยะยาว เกิดผลกระทบด้านความเครียดทำให้เด็กกินนมน้อยลง นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ขณะที่คุณพ่อคุณแม่มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของลูกก็จะไม่เป็นไปตามวัย มีพฤติกรรมก้าวร้าว เอาแต่ใจ และเลี้ยงยาก เพราฉะนั้นจึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์โดยทันทีหากสงสัยว่ามีอาการโคลิค
เมื่อเห็นผลเสียระยะยาวแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ที่สังเกตเห็นอาการโคลิคแต่เนิ่น ๆ ควรประเมินสภาพของลูกน้อยอย่างถี่ถ้วน รีบพาไปพบแพทย์ตรวจสอบให้แน่ใจ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการรักษาทั้งแบบให้ยาภายใต้วินิจฉัยของแพทย์ หรือไม่ใช้ยาซึ่งจะมีวิธีการรักษาหลายตัวเลือก ทดลองวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ได้เร็วขึ้นและถูกวิธี แม้อาการโคลิคนี้จะสามารถหายไปเองเมื่อทารกอายุ 4 – 6 เดือน


15 Feb 2020  |  Post by : unyana

Comment



Insurance

Webboard
โพสต์โดย: fuji 18
โพสต์โดย: 1150 21
โพสต์โดย: ditsupa09 39
โพสต์โดย: Rattiya69 2
โพสต์โดย: bb98765 7
โพสต์โดย: สาวพเนจร 5
โพสต์โดย: luna45 0
โพสต์โดย: sahoko 3

Interest Product