Talk About Women

เรียนออนไลน์กับลูกอย่างไนให้สุขภาพจิตไม่พัง
<p style="text-align:center">
<img src="https://www.img.in.th/images/fdc70ed32aff2cf1c406c5b1b6e8dad4.jpg" /></p>

<p style="font-size:16px">ในช่วงที่ทั้งประเทศล็อกดาวน์และโรงเรียนยังไม่เปิดให้เด็กนักเรียนได้เข้าไปเรียนในโรงเรียน กิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาต่างๆต้องหยุดชะงักลง ไม่เพียงแต่โรงเรียนรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโรงเรียนเอกชนทุกแห่งและโรงเรียนนานาชาติที่มีหลักสูตรต่างๆ และทุกระดับชั้นไม่ว่าจะเป็น เตรียมอนุบาล อนุบาล ประถมศึกษา <a href="https://niva.ac.th/enrollment-procedure/">Secondary school</a> มัธยมศึกษา จนกระทั่งระดับอุดมศึกษาอย่างมหาวิทยาลัย ก็ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องมาจากความกังวลของภาครัฐและเอกชน ที่เมื่อเด็กๆกลับไปเรียนแล้ว และส่วนมากยังไม่ได้รับวัคซีน อาจจะเกิดการระบาดตามมาได้ </p>

<p style="font-size:16px">ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเตรียมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดี ก็คือการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและเชื้อไวรัส สามารถเรียนที่บ้านได้ ไม่ต้องออกไปข้างนอก และถ้าครอบครัวหรือบ้านไหนมีอินเตอร์เน็ทที่ดี ก็จะไม่มีอุปสรรคใดๆในการเรียน ข้อเสียนั้นก็มีไม่น้อยเลย เพราะบางวิชาและกิจกรรมไม่สามารถเรียรออนไลน์ได้ ต้องลงมือปฎิบัติถึงจะสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนต่างๆได้ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ใช่ทุกบ้านและทุกครอบครัวที่มีอินเตอร์เน็ทและเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการเรียนออนไลน์อย่างครบครัน ปัญหาที่ตามาอีกอย่างคือ สุขภาพจิตของทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองพ่อแม่จะต้องคอยดูแลเด็กๆในช่วงเรียนออนไลน์ ให้เด็กๆเหล่านั้นมีสมาธิและตั้งใจเรียน ส่วนความกดดันและความเครียดนั้นก็ไปตกที่ตัวพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องมาคอยกำกับดูแลบุตรหลาน ซึ่งเว็บไซต์ megawecare ได้แชร์บทความไว้ว่า เพื่อช่วยให้เด็กๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรยื่นมือเข้าไปช่วยให้ลูกหลานกลับมามีวิถีชีวิตที่สมดุล หรือใกล้เคียงกับสภาวะปกติให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับปัญหาสุขภาพที่เด็กๆ ต้องเผชิญ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและดูแลเขาได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็กในยุคที่ต้องเรียนออนไลน์นั้น เป็นแบบขยับตัวน้อย (Sendentary Lifestyle) เด็กขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวกลางแจ้ง เพราะต้องนั่งเรียนหน้าคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตตลอดทั้งวัน หรือครั้งละหลายๆชั่วโมงติดต่อกัน เกิดภาวะสมองล้าเพราะต้องจดจ่อและใช้พลังงานมากขึ้น นอกจากนี้แสงสีฟ้าจากการจ้องจอยังทำให้ตาแห้งตาล้า เพิ่มความเสี่ยงการเกิดปัญหาสายตาสั้น หรือเสี่ยงต่อการเป็นคอมพิมเตอร์วิชั่นซินโดรม การเรียนออนไลน์ไม่ได้ส่งผลเสียแค่กับสุขภาพกายเท่านั้น แต่การที่เด็กๆ จำเป็นต้องกักตัวอยู่แต่ในบริเวณบ้าน ไม่ได้ออกไปเล่นข้างนอกอย่างที่เคย ขาดการเล่นอย่างสร้างสรรค์และมีอิสระ ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ยังส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด บางคนมีอาการซึมเศร้า โดยจากข้อมูลพบว่าเด็กและวัยรุ่นในยุคนี้มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นถึง 37% สุขภาพโดยรวมแย่ลงเพราะทานอาหารที่มีโภชนาการที่ไม่สมดุล และอีกหลายปัญหาสุขภาพที่จะตามมาในอนาคต</p>






14 Sep 2021  |  Post by : heygorgeous

Comment



Insurance

Webboard
โพสต์โดย: aommee 2
โพสต์โดย: namfonnz 0
โพสต์โดย: Rattiya69 7
โพสต์โดย: aya_IY 4
โพสต์โดย: lacoste 0
โพสต์โดย: prnews 0
โพสต์โดย: pupe_pupe 1
โพสต์โดย: Tomorrowland-4ever 0

Interest Product