อยากทราบถึงส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อันตรายคะ |
---|
มีเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเขาหน้าดำและอีกหลายปัญหา คะ คือว่าทุกปัญหาสะสมบนหน้าเขาเลยคะ แล้วห่างกันมานานประมาณ 2 เดือนเจอกันอีกทีหน้าเขาใสเป็นสีชมพูเลยแบบไม่ต้องปัดแก้มด้วย ต้นเตยเลยถามเขา ๆ ก็เอาผลิตภัณฑ์ที่เขาใช้มาให้ดู รูสึกว่าเขาจะเขียนยี่ห้อว่า pure white แต่ไม่ใช่ของแอมเวย์นะคะ เขาซื้อมาจากจ.ราชบุรี คะ มันจะมีสบู่ โลชั่นเช็ดหน้า ครีมกลางวัน และครีมกลางคืน ต้นเตยเลยเอาโลชั่นเช็ดหน้ามาทดลองกันผงซักฟอกป้ายกระดาษทิชชูแล้วเอาโลชั่นหยดลงไป เป็นสีน้ำตาลไหม้เลยคะเพื่อนตกใจมากเลยโทรไปถามคนขาย เขาบอกว่ามันไม่อันตรายเลย แต่ว่ามันเป็นส่วนผสมของแอลกอล์ฮอล์เลยเป็นสีน้ำตาล เขารักษาผิวหน้ามาหลายร้อยคนแล้วไม่มีอะไร คือทุกคนที่ต้นเตยเห็นหน้าเขาใสมาก ๆๆๆ ต้นเตยอยากได้คำตอบว่าที่เป็นสีน้ำตาลเนี้ยะมันจะเป็นเฉพาะสารไฮโดรคิวโนนหรือหลาย ๆ ตัว คะ
23 Jun 2006 | Post by :
ต้นเตย
|
Comment 8 |
---|
ใช้ครีม-สบู่ ของหมอตะวันอยู่ที่เคยเป็นสิวและแผลเป็นก็หาย เกือบ 100% แต่พอเข้ามาดูสารอันตรายต่างๆ ก็รู้สึกกลัวเพราะว่าครีมไม่มี อย. ไม่มีที่ผลิตว่ามาจากใหน ก็เลยอยากรู้ว่า ครีมหมอตะวันมีอันตรายหรือเปล่าคะ ใครรู้ช่วยบอกหน่อยนะคะ เพราะเข้าไปดูแล้วมีชื่อหมอตะวัน แต่รูปภาพไม่มีแบบที่ใช้อยู่เลยค่ะ
22 May 2008 | Comment by :
gaf
|
Comment 7 |
---|
เครื่องสำอางค์ยี่ห้อ บาชิ (Baschi)ไม่ทราบว่ามีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือป่าวคะ เห็นมีขายทางอินเตอร์เน็ตด้วยเห็นเพื่อนใช้หน้าขาวมาก
4 May 2008 | Comment by :
00
|
Comment 6 |
---|
ครีมยานโกะมีสารอันตรายครับ รูปภาพนั้นมีอยู่ในเว็ปไซต์ของทาง อ.ย. www.fda.moph.go.th
2 Feb 2008 | Comment by :
joey
|
Comment 5 |
---|
อยากทราบว่ามีวิธีทดสอบหาสารอะไรบ้างคะในลิปสติก
6 Jun 2007 | Comment by :
ก้อ
|
Comment 4 |
---|
เครื่องสำอางค์ยี่ห้อ ยานโกะ ไม่ทราบว่ามีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือป่าวคะ เพราะเพื่อนใช้แล้วหน้าขาวมาก
24 Jun 2006 | Comment by :
ลีดา
|
Comment 3 |
---|
เท่าที่ทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพนะคะ จะใช้สารที่ผลัดผิว (แบบรุนแรง) ทำให้ผิวขาวขึ้น แต่ว่าจะเสี่ยงกับมะเร็งผิวหนังนะคะ แล้วก็เมื่อหยุดใช้ผิวจะเสียไปเลย หรือถ้าโชคร้ายผิวจะเสียตั้งแต่เริ่มใช้ ยังไงก็ต้องระมัดระวังหน่อยนะคะในเรื่องเครื่องสำอาง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเราได้อย่างมากเลยค่ะ เพราะจริงๆแล้วเซลล์ผิวเราไม่สามารถเปลี่ยนสีผิวได้อย่างถาวรนะคะ
23 Jun 2006 | Comment by :
StrawberryPinky
|
Comment 2 |
---|
สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการกำกับดูแล จึงมีการวางกรอบกำหนดตามกฎหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจนำไปปฏิบัติ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯจะติดตามตรวจสอบว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องสำอางอย่างถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงจำเป็นต้องสนใจเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ เพื่อที่จะได้นำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องสำอางทุกประเภทจะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เพราะเครื่องสำอางทุกชนิด ทุกประเภท จะต้องไม่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ หรือที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า " วัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง " สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะติดตามตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอางที่วางตลาดแล้ว ด้วยการเก็บตัวอย่างส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ เครื่องสำอางใดที่ตรวจวิเคราะห์พบว่ามีสารห้ามใช้ ถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือขายเครื่องสำอางดังกล่าว จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเครื่องสำอางมีอำนาจประกาศผลการตรวจสอบ หรือผลวิเคราะห์เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยให้ประชาชนทราบ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค (ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535) รายการสารห้ามใช้ของประเทศไทย รายการสารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางนั้น ขณะนี้มีจำนวน 38 รายการ ปรากฏอยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2536 2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2539 3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2545 รายละเอียดปรากฏตามภาคผนวก สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางทั้ง 38 รายการนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. สารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางโดยสิ้นเชิง ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น หากตรวจวิเคราะห์พบว่าเครื่องสำอางใดมีส่วนผสมของสารเหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย จะผิดกฎหมายทันที ตัวอย่างเช่น สารปฏิชีวนะ (antibiotics) เบนซีน(benzene) คาร์บอนไดซัลไฟด์(carbon disulfide) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เมทานอล(methanol) สารประกอบไนไตรต์ของโลหะ(metallic nitrites) คาร์บอนเตตราคลอไรด์(carbon tetrachloride) ทอกซิน(toxins,modified and non-modified) ไนโตรเบนซีน (nitrobenzene) ฮอร์โมนส์(hormones) โมโนเบนโซน หรือ โมโนเบนซิลอีเทอร์ของไฮโดรควิโนน หรือ พารา-เบนซิลออกซีฟีนอล(monobenzone or monobenzyl ether or hydroquinone or p-benzyloxyphenol) คลอโรฟอร์ม(chloroform) มินอกซิดิล(minoxidil) เมทิลีนคลอไรด์ หรือ ไดคลอโรมีเทน(methylene chloride or dichloromethane) เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์(benzoyl peroxide) เฮกซาคลอโรฟีน (hexachlorophene) กรดเรทิโนอิกหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "กรดวิตามินเอ" รวมทั้งอนุพันธ์ เอสเทอร์ และเกลือของสารนี้(retinoic acid, its derivatives esters and salts) กรดอะเซลาอิก(azelaic acid) พาดิเมท เอ (padimate A) ไพโรแกลลอล(pyrogallol) 2-แนพทอล(2-naphthol) และ ไบไธโอนอล (bithionol) เป็นต้น 2. สารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง โดยมีข้อยกเว้นว่าอาจปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้เพียงเล็กน้อย หรือหากจะมีการใช้ในเครื่องสำอางจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ตัวอย่างเช่น 2.1 ตะกั่ว สารประกอบของตะกั่วและแร่ธาตุตะกั่ว(lead , its compounds and minerals) จัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง แต่มีข้อยกเว้น คือ (1) อาจปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้ ในอัตราส่วนไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วน โดยน้ำหนัก (2) เฉพาะสารประกอบแอซีเทตของตะกั่ว (lead acetate) หากจะนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทแต่งผมดำ จะเข้าข่ายเป็นสารควบคุมพิเศษ มีอัตราส่วนสูงสุดที่ให้ใช้ คือ 0.6 % น้ำหนัก : น้ำหนัก โดยคำนวณในรูปโลหะตะกั่ว ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้จะต้องขึ้นทะเบียนตำรับให้เรียบร้อยก่อนการผลิต หรือนำเข้า 2.2 ปรอท สารประกอบของปรอท และแร่ธาตุ (mercury, its compounds and minerals) จัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง แต่มีข้อยกเว้น คือ (1) สารปรอทอาจปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้ ในอัตราส่วนไม่เกิน 0.5 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก (2) ถ้าเป็นเกลือฟีนิลเมอร์คุริก (phenyl mercuric salts) ที่ใช้เป็นวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์ประเภทที่ใช้บริเวณรอบดวงตา ให้ใช้ได้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.0065 คำนวณในรูปโลหะปรอท (3) ถ้าเป็นไทเมอโรซาลหรือไทโอเมอร์ซาล ( thimerosal or thiomersal)ที่ใช้เป็นวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์ประเภทที่ใช้บริเวณรอบดวงตา ให้ใช้ได้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.0065 คำนวณในรูปโลหะปรอท (4) ในกรณีที่มีการใช้สารใน (2) และ (3) ผสมรวมกัน ผลรวมของสารที่ใช้ต้องไม่เกินร้อยละ 0.0065 คำนวณในรูปโลหะปรอท ปรอทเป็นสารที่ทำให้เกิดการแพ้ หรือระคายเคืองได้อย่างรุนแรง ( potent allergen and sensitizer and skin irritation) อีกทั้งสารปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น สูดดมเข้าทางปอด หรือถูกดูดซึมผ่านทางลำไส้เล็กหากมีการกลืนกินสารนี้เข้าไป แม้แต่การทาที่ผิวหนังสารปรอทก็จะถูกดูดซึมเข้าไปสะสมในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบได้ เนื่องจากในอดีตเคยมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารปรอทเพื่อทำให้สีผิวจางลง(skin-bleaching) หรือเพื่อขจัดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ (acne freckles and/or brown spot , aged spot) และใช้เป็นสารกันเสีย (preservative)ในเครื่องสำอางประเภทต่างๆ ต่อมามีการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารปรอท และมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสารนี้เป็นอันตรายต่อร่างกายเกินกว่าที่จะให้ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่เมื่อพิจารณาในประเด็นของการนำสารปรอทมาใช้เพื่อเป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางนั้น พบว่าสารนี้มีข้อดีเด่น คือ สามารถยับยั้งการปนเปื้อนของเชื้อ Pseudomonas spp.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากการติดเชื้อ Pseudomonas spp. ที่ดวงตาอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ ดังนั้น จึงยังคงให้ใช้สารประกอบของปรอทในเครื่องสำอางได้ เฉพาะกรณีที่เป็นวัตถุกันเสียในเครื่องสำอางที่ใช้บริเวณรอบดวงตาเท่านั้น โดยอัตราส่วนสูงสุดที่ให้ใช้ไม่เกินร้อยละ 0.0065 น้ำหนัก: น้ำหนัก คำนวณในรูปโลหะปรอท ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2538 เรื่อง กำหนดวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง รายการสารห้ามใช้ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างจากกฎหมายไทย ดังเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ทั้งทางยาและทางเครื่องสำอาง จะถูกจัดเป็น Over-the-Counter Drug (ยาที่วางจำหน่ายทั่วไป ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อใช้เองได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์) ซึ่งมีกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มงวดกว่าเครื่องสำอาง ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องดำเนินการตามข้อกำหนด (monograph) เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามมีการกำหนดสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางไว้หลายรายการ ซึ่งมีความแตกต่างจากกฎหมายไทยบ้าง ในบางประเด็น ดังเช่น Hexachlorophene เป็นสารที่สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังไปก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาท (neurotoxic effect) จึงให้ใช้เป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางได้เฉพาะกรณีที่ใช้สารกันเสียชนิดอื่นไม่ได้ผล แต่ก็มีเงื่อนไขว่าใช้ได้ไม่เกิน 0.1% และห้ามใช้ในเครื่องสำอางที่สัมผัสกับเยื่อบุอ่อน เช่น ริมฝีปาก ในประเทศไทยกำหนดให้ Hexachlorophene เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ Mercury compound เนื่องจากสารปรอทสามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าไปสะสมในร่างกาย และก่อให้เกิดอันตรายหลายอย่าง เช่น allergic reactions, skin irritation และ neurotoxic manifestations การนำสารประกอบของปรอทมาใช้ในเครื่องสำอาง จะให้ใช้ได้เฉพาะเป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางที่ใช้รอบดวงตา ในกรณีที่ใช้สารกันเสียชนิดอื่นไม่ได้ผล โดยใช้ได้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกิน 0.0065 % คำนวณในรูปโลหะปรอท และยอมให้มีสารปรอทปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้ไม่เกิน 1 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก อนึ่ง ในประเทศไทยจัดให้สารปรอทเป็นสารห้ามใช้เช่นกัน แต่มีความเข้มงวดกว่า คือ ยอมให้มีสารปรอทปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้ไม่เกิน 0.5 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก Chlorofluorocarbon propellants ประเทศไทยก็ห้ามใช้สารนี้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ Bithionol จัดเป็นสารห้ามใช้เนื่องจากอาจก่อให้เกิด photo-contact sensitization และในประเทศไทยก็จัดเป็นสารห้ามใช้เช่นกัน Halogenated salicylanilides จัดเป็นสารห้ามใช้เนื่องจากอาจก่อให้เกิด photo-contact sensitization Chloroform จัดเป็นสารห้ามใช้เนื่องจากก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง (animal carcinogenicity) และในประเทศไทยก็จัดเป็นสารห้ามใช้เช่นกัน Vinyl chloride ซึ่งเป็นส่วนผสมใน aerosol product จัดเป็นสารห้ามใช้ เพราะเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogenicity) Zirconium - containing complexes เฉพาะในผลิตภัณฑ์ฉีดพ่น (aerosol cosmetic product) จัดเป็นสารห้ามใช้ เพราะอาจเป็นพิษต่อปอด (toxic effect on lungs ,including the formation of granuloma) Methylene chloride จัดเป็นสารห้ามใช้เนื่องจากก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง (animal carcinogenicity) และในประเทศไทยก็จัดเป็นสารห้ามใช้เช่นกัน รายการสารห้ามใช้ของสหภาพยุโรป ในสหภาพยุโรป ตาม ANEX II ของ Directive 76/768/EEC ได้กำหนด List of substances which must not form part of the composition of cosmetic products ซึ่งระบุชื่อสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง จำนวน 422 รายการ ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า ในจำนวนสาร 422 รายการนั้น มีจำนวน 34 รายการที่ ในประเทศไทยก็จัดเป็นสารห้ามใช้เช่นกัน ส่วนอีก 264 รายการ จัดเป็นสารที่ใช้ในการบำบัด รักษาโรค นอกจากนั้นพบว่าสารอื่นๆเป็น สีที่ประเทศไทยห้ามใช้ในเครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ ในอนาคต เมื่อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนปรับการกำกับดูแลเครื่องสำอางให้สอดคล้องกัน โดยจะนำหลักการของสหภาพยุโรปมาใช้ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าในเรื่องของสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางจะมีความชัดเจนกว่าเดิม จากการเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหามากที่สุด คือ เครื่องสำอางทาสิว ฝ้า ทำให้หน้าขาว ส่วนใหญ่ไม่มีสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม จึงเป็นเครื่องสำอางกลุ่มที่มีการกำกับดูแลไม่เข้มงวด สารห้ามใช้ที่พบบ่อยในเครื่องสำอางทาสิว-ฝ้า ทำให้หน้าขาว ได้แก่ 1. ปรอทแอมโมเนีย (Ammoniated mercury) สารนี้ถูกประกาศเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางทุกชนิด ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 เนื่องจากมีอันตรายต่อผู้บริโภค คือ ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ 2. ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) สารนี้ถูกประกาศเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง (ยกเว้นให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ประเภทย้อมผม) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากมีอันตรายต่อ ผู้บริโภค คือ ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่ผิวหน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย 3. กรดวิตามินเอ (Retinoic acid, its derivatives esters and salts) สารนี้ถูกประกาศเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางทุกชนิด ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2532 เนื่องจากมีอันตรายต่อผู้บริโภค คือ ทำให้หน้าแดง ระคายเคือง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเครื่องสำอางมี อำนาจประกาศผลการตรวจสอบ หรือผลวิเคราะห์เครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ ซึ่งจัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยให้ประชาชนทราบ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค นับถึงปัจจุบันได้มีการประกาศผลวิเคราะห์เครื่องสำอางอันตรายไปแล้ว 69 รายการ และเป็นเครื่องสำอางประเภททาสิว-ฝ้า ทำให้หน้าขาว ถึง 64 รายการ นอกจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาติดตามเฝ้าระวังความปลอดภัยของเครื่องสำอางที่วางขายในตลาดแล้ว ยังมีระบบติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยจัดส่งแบบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใผลิตภัณฑ์สุขภาพให้โรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ เมื่อแพทย์พบผู้ป่วยที่ได้รับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน) จะรายงานและส่งกลับมายังอย. เพื่อรวบรวมแล้วใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพต่อไป ข้อมูลรายงานการแพ้เครื่องสำอางที่ อย.ได้รับ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2533-2544 พบอาการอันไม่พึงประสงค์เนื่องจากเครื่องสำอางทาสิว-ฝ้า เป็นอันดับหนึ่งเกือบทุกปี และพบมากในหญิงช่วงอายุ 31-40 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญพันธุ์ อาจเนื่องจากมีปัญหาผิวหน้าดำคล้ำ หรือเป็นฝ้า เนื่องจากไม่สามารถหลบเลี่ยงแสงแดดได้ หรือเป็นผลมาจากการรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนส์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส์ภายในร่างกายเองด้วย จากรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากเครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า ทำให้หน้าขาว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย มีการลักลอบผสมสารห้ามใช้ พบว่าก่อให้เกิดอันตราย ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Hydroquinone หรือ Hydroquinone + Vitamin A acid พบอาการผื่นแดง คัน มีตุ่มนูน ร้อนวูบวาบ ผื่นแดงมีน้ำเหลืองไหล ผื่นระคาย หน้าแดง เปลือกตาบวมแดง ผิวบริเวณรอบดวงตาบวมแดง ผื่นแดงบริเวณใบหน้าและลำคอ ผิวหน้าสีดำคล้ำ การวินิจฉัยของแพทย์ระบุว่า Allergic Contact Dermatitis และแพทย์ระบุว่า Hyperpigmentation หลายราย 2. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Ammoniated Mercury พบอาการหน้าบวม (Diffuse edema)หน้าแดง เปลือกตาบวมแดง ผิวบริเวณรอบดวงตาบวมแดง ผื่นระคาย ผื่นแดงที่แก้มทั้งสองข้าง ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เคยประกาศผลวิเคราะห์ไปแล้ว หรือไม่มีฉลากภาษาไทย และพบว่าบางผลิตภัณฑ์อ้างว่าเป็นครีมสมุนไพรแต่กลับลอบผสมสารห้ามใช้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย
23 Jun 2006 | Comment by :
StrawberryPinky
|
Comment 1 |
---|
ขอเอาบทความของกรมควบคุมเครื่องสำอางมาให้อ่านกันนะคะ อันตรายในเครื่องสำอาง 1. สิว-ฝ้า ขณะนี้มีเครื่องสำอางหลายยี่ห้อที่วางขายในร้านค้า ศูนย์เครื่องสำอาง แผงลอย รถเร่ หรือผู้เร่ขาย โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เป็นเครื่องสำอางที่อ้างสรรพคุณทาสิว ทาฝ้า ฝ้ากันแดด หรืออ้างสรรพคุณทำให้หน้าขาว แต่ลักลอบใช้สารที่ห้ามใช้ ที่ตรวจพบแล้วคือ พบว่ามีการลักลอบใช้สารปรอทแอมโมเนีย, สารไฮโดรควิโนน รวมทั้งกรดวิตามินเอ(เรติโนอิค แอซิด) สารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อผิวหน้ารวมทั้งอาจเป็นอันตรายต่อระบบอวัยวะภายในร่างกายอีกด้วย ตัวอย่างเช่น สารปรอทแอมโมเนีย ทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ สารไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง อาจเกิดจุดด่างขาวที่หน้า หรือผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย กรดวิตามินเอ เป็นตัวยาที่อันตราย ทำให้ผิวหน้าแดง แพ้รุนแรง แสบร้อน อักเสบ ใช้แล้วผิวหน้าลอก การหลีกเลี่ยงการเป็นฝ้า ทำได้ง่ายหากสามารถปฏิบัติเป็นประจำ โดยการหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดฝ้า อาจใช้ผ้าโพกหน้า กางร่ม หรือสวมหมวกปีกกว้าง หลีกเลี่ยงความร้อนจากเตา และทำจิตใจให้แจ่มใส เบิกบาน ไม่เครียด 2. อันตรายจากการทำเบบี้เฟซ การทำเบบี้เฟซนั้นเป็นการลอกผิวด้วยสารเคมี ซึ่งแพทย์ได้ทำกันมานานแล้ว เพื่อขจัดริ้วรอย แผลเป็น จุดด่างดำ ความหยาบกระด้างของผิวหนัง โดยสารเคมีจะไปกระตุ้นให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออกไป เผยให้เห็นผิวหนังชั้นในซึ่งเนียนเรียบกว่าเดิม สารเคมีที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเข้าข่ายเป็นยา การลอกผิวด้วยสารเคมีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้มาก เพราะถ้าสารเคมีแทรกซึมลงสู่ผิวหนังลึกเกินไป จะทำให้เกิดความเจ็บปวด และอาจเกิดเป็นแผลเป็นถาวร อีกทั้งปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารเคมีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจเกิดการแพ้ การระคายเคืองได้ ดังนั้น การลอกผิวจึงควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะแพทย์จะเลือกทั้งชนิด และความเข้มข้นของสารเคมี วิธีใช้ อย่างเหมาะสม รวมทั้งหากมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หรือโรคแทรกซ้อนใดๆ จะได้บำบัดรักษาได้ทันท่วงที จะเกิดผลดีและปลอดภัยกว่าการไปลอกผิวตามร้านเสริมสวย 3. สารตะกั่วในเครื่องสำอาง สารตะกั่ว สารประกอบของตะกั่วและแร่ธาตุตะกั่ว ( lead , its compounds and minerals) จัดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เพราะสารนี้หากถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเด็กๆ แต่ในวัตถุดิบบางชนิดที่นำมาผลิตเครื่องสำอางอาจมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่บ้าง กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาจพบตะกั่วได้ในอัตราส่วนไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก หากพบว่าผลิตภัณฑ์ใดมีสารตะกั่วเกินกว่านี้ จะเข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีเครื่องสำอางเพียงประเภทเดียวที่อนุญาตให้มีส่วนผสมของสารตะกั่วได้ คือ ผลิตภัณฑ์แต่งผมดำ แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์นี้อาจเป็นอันตรายรุนแรงต่อผู้ใช้ จึงมีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดในระดับเป็นเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ และสารตะกั่วที่จะนำมาใช้ต้องอยู่ในรูปสารประกอบแอซีเทตของตะกั่ว ( lead acetate ) เท่านั้น โดยมีอัตราส่วนสูงสุดที่ให้ใช้คือ 0.6 % ( คำนวณในรูปโลหะตะกั่ว ) ผลิตภัณฑ์นี้จะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อยก่อนวางจำหน่าย สังเกตได้ง่ายๆว่าที่ฉลากจะมีข้อความ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" อยู่ใกล้เลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. และเวลาใช้อย่าลืมปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัดด้วย 4. ติดเชื้อจากเครื่องสำอาง ในบางโอกาสคุณสุภาพสตรีอาจได้รับบริการเสริมสวยแต่งหน้าจากช่างเสริมสวย ซึ่งถ้าหากช่างใช้อุปกรณ์ชิ้นนั้นๆกับลูกค้าหลายคน โดยไม่มีวิธีการทำความสะอาดที่ถูกต้อง คุณก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อผ่านมาทางอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ได้ หรือแม้แต่เครื่องสำอางที่วางให้ทดลองใช้อยู่ตามร้านค้าต่างๆ ก็อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้เช่นกัน รวมทั้งการหยิบยืมเครื่องสำอางใช้กันในหมู่เพื่อนฝูง เป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี ดังนั้น พึงระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อจากการใช้เครื่องสำอางร่วมกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้แปรงปัดขนตา หรืออายแชโดว์ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคตาแดง หรือใช้พู่กันทาปากร่วมกับผู้ที่เป็นโรคเริม ท่านก็มีโอกาสได้รับเชื้อโรคเหล่านี้ไปด้วยนะคะ ทางที่ดีแล้ว เครื่องสำอางควรเป็นของใช้เฉพาะบุคคล ไม่ควรหยิบยืม หรือใช้ร่วมกับผู้อื่นค่ะ 5. การแพ้เอเอชเอ ปัจจุบันเครื่องสำอางหลายชนิดนิยมผสมสารเอเอชเอลงไป เอเอชเอ หรือที่มีชื่อเต็มว่า อัลฟ่า ไฮดรอกซี่ แอซิด นั้น เป็นสารประเภทกรดอ่อนๆที่จะช่วยกระตุ้นการหลุดลอกของเซลผิวหนังชั้นนอก เซลชั้นล่างซึ่งอยู่ในสภาพดีก็จะเลื่อนขึ้นมาแทนที่ ทำให้แลดูผิวเนียนสดใสกว่าเดิม ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผสมสารเอเอชเอพึงระวังไว้เสมอว่า เมื่อไปกระตุ้นให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออกไปเร็วกว่าปกติ ผิวหนังชั้นในซึ่งบอบบางกว่าซึ่งเลื่อนขึ้นมาแทนที่นั้น ย่อมมีโอกาสเกิดอันตรายจากแสงแดดมากกว่าปกติ ดังนั้น ต้องระวังไม่ให้บริเวณที่ใช้เครื่องสำอางผสมเอเอชเอโดนแสงแดด โดยอาจใช้ครีมผสมสารป้องกันแสงแดดทาไว้ในเวลากลางวันก็ได้ ส่วนเรื่องการแพ้นั้น เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ผู้ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ผสมสารเอเอชเอเป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ด้วยการใช้เครื่องสำอางในปริมาณเล็กน้อยทาที่บริเวณท้องแขน ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ถ้าไม่มีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้นแสดงว่าใช้ได้
23 Jun 2006 | Comment by :
StrawberryPinky
|
Greenforst ชั้นเก็บหนังสือบนโต๊ะ จัดระเบียบบนโต๊ะทำงาน ประหยัดพื้นที่
สั่งซื้อ https://shope.ee/2ApaFLMwzPราคา 175 บาท
ลิปอโลเวร่า 99% ลิปว่านหางจระเข้ PEIYEN aloe vera ( 1 แท่ง )ลิปบาล์มว่านหางจระเข้ ลิปสติกอุณหภูมิเปลี่ยนสีธรรมชาติสีชมพู
สั่งซื้อ https://shope.ee/2q5NPYedczราคา 6 บาท
Intensive care Hand Cream Healthy Hands & Nail 2 หลอด
สั่งซื้อ https://shope.ee/7KYY7nYIbaราคา 299 บาท
โต๊ะทํางาน โต๊ะทำงานไม้ พร้อมชั้นวางหนังสือ โต๊ะเรียน โต๊ะคอมพิวเตอร์ โต๊ะไม้ 4 ชั้น ชั้นวางหนังสือ โต๊ะเขียนหนังสือ
สั่งซื้อ https://shope.ee/99zSImHbe7ราคา 759 บาท
DUDEE เบาะรองนั่งสไตล์มินิมอลน่ารัก รุ่น 226 เหมาะสมทุกการใช้งาน ขนาดใหญ่ นั่งสบาย สามารถถอดซักได้ แบรนด์ : DUDEE ขนาดของสินค้า : 60*50 CM วัสดุภายใน : ใยสังเคราะห์ เนื้อผ้านุ่ม สัมผัสสะบาย สีไม่ซีด
สั่งซื้อ https://shope.ee/1qDAnbIrZNราคา 269 บาท
อุปกรณ์แคะขี้หู สเตนเลส ทำความสะอาดหู 6 ชิ้นต่อเซต
สั่งซื้อ https://shope.ee/6Uyte7bzbOราคา 4 บาท
SRICHAND ศรีจันทร์น้ำตบสกิน มอยส์เจอร์ เบิร์ส เอสเซนส์ ขนาด 150 มล. / ตัวนี้ดีมากจริงๆ
สั่งซื้อ https://shope.ee/8A6EDdgTZKราคา 435 บาท
คุกกี้กล่องแดงในตำนาน เอาจริงทั้งอร่อยและกล่องก็มีประโยชน์เด้อ
สั่งซื้อ https://shope.ee/5ASXO21h06ราคา 83 บาท
เครื่องดักยุง รุ่น 80M002T โคมดักยุงระบบสัมผัส ดูดยุงร้ายให้ตายในทันที แบบ 360 องศา ปกป้องคนที่คุณรัก โคมดักยุง
สั่งซื้อ https://shope.ee/2q5i0ANLU2ราคา 555 บาท
รองเท้าทำจากขนแกะนุ่มสบายประเทศเกาหลีใต้รองเท้าแตะในบ้าน
สั่งซื้อ https://shope.ee/8pMVebSHZTราคา 8 บาท
เก้าอี้ 2in1 เป็นทั้งเก้าอี้และโซฟาเบด
สั่งซื้อ https://shope.ee/7AEc1tiRfxราคา 3799 บาท
เสื้อคอจีน Micro Plus สีเหลืองอ่อน
สั่งซื้อ https://shope.ee/603SRwzdmTราคา 200 บาท