Talk About Women

อยากให้นักการเมืองทั้งหลายอ่านเรื่องนี้..เผื่อจะคิดทำเพื่อประเทศมากขึ้น
"มิวนิค" จดหมายเปิดผนึกจากใจ "คนไร้ประเทศ" ถึง "ชาวโลก"
สำหรับคนอายุ 40 ขึ้น คงไม่มีใครลืมโศกนาฏกรรมที่โอลิมปิค เมืองมิวนิค ในปี 1972 ได้

เมื่อนักกีฬาชาวยิว ถูกกลุ่มชาวปาเลสไตน์ที่เรียกตัวเองว่า "กันยาทมิฬ" บุกทำร้ายถึงห้องพัก แถมจับตัวประกันเพื่อเรียกร้องการมีอยู่ของประเทศ มีพื้นที่ให้ลูกหลานอยู่ ไม่ต่างจากการรบราฆ่าฟันของชาวยิวเมื่อครั้งสร้างประเทศ


เป็นการสูญเสียที่นำมาสู่การดำรงอยู่...ไม่ว่าใครหน้าไหนที่ไร้ประเทศก็คิดเหมือนกันว่าคุ้ม!!!



สตีเว่น สปีลเบิร์ก ผู้กำกับฯ สัญชาติ "ยิว" ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากับเรื่องราว "กู้ชาติ" ก็อดไม่ได้ที่จะหยิบเอารากเหง้าของตัวเองมาตีแผ่ใหม่ เพื่อบอกเล่า และเน้นย้ำถึงแง่มุม "คนใน" ที่ "คนนอก" อาจไม่รู้


เป็น "มิวนิคปี 1972" ฉบับ "สปีลเบิร์ก" ที่สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายของ "สงคราม" โดยเฉพาะที่เรียกว่า "การก่อการร้าย" ทั้งในฐานะ "ผู้กระทำ" และ "คนถูกกระทำ"

เพื่อเป็นการโต้ตอบกลุ่มกันยาทมิฬ "แอฟเนอร์" (อีริค บาน่า) หน่วยข่าวกรองชาวอิสราเอล ถูกติดต่อจากนายกรัฐมนตรีชาวอิสราเอล ให้ลืมความสันติสุขไปชั่วครู่ เพื่อป้องกันผู้คน และประเทศของตัวเอง จากโศกนาฏกรรม เช่น มิวนิคที่ดูเหมือนไม่มีใครยื่นมือเข้าช่วยเหลือชาวยิว


เขาและเพื่อนร่วมกลุ่มเลยมีเป้าหมายหลักในการ "ตามเก็บ" ตัวการสังหารโหดครั้งนี้ โดยที่เขาจะต้องตัดขาดจากครอบครัว ทำตัวเสมือนเป็นบุคคลไร้ตัวตน ไม่มีสัญชาติและความผูกพันใดๆ ต่อครอบครัว และประเทศอิสราเอล เพื่อตอกกลับการกระทำอันไร้มนุษยธรรมที่ไม่มีใครรับผิดชอบ

การไล่ล่าของแอฟเนอร์ และเพื่อนจึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยความภูมิใจในภารกิจ ที่ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความขัดแย้งในจิตใจ โดยเฉพาะแอฟเนอร์ จากที่เคยเป็นตำรวจปกป้องผู้คน แต่กลับต้องทำงานเสมือนหนึ่งผู้ก่อการร้าย

"ผมบอกว่า เราดื่มเฉลิมฉลองกัน แต่ผมไม่ได้ดีใจนะ" แอฟเนอร์ดื่มฉลองกับเพื่อนมือสังหารมือใหม่ ที่นับวันแต่ละคนก็เริ่มสูญเสียความเป็นตัวเองไปเรื่อยๆ เขาเองที่กำลังจะมีลูก ก็เริ่มไตร่ตรองทุกครั้งที่ต้องลงมือฆ่าใคร เพราะมันทำให้เขารู้สึกว่า ได้สูญเสียวิญญาณดีๆ ส่วนหนึ่งไปกับสิ่งที่เขาทำไป

แต่ก็เหมือนโลกเล่นตลกกับเขา แอฟเนอร์ที่กำลังจะสังหาร "หัวโจก" กลับต้องเจอกับ "อาลี" กลุ่มก่อการร้ายที่เขาตามสังหารอยู่เข้าอย่างจัง

ที่ว่าน่าหัวเราะก็คือ เขาและอาลีได้พูดคุยถึงการรบราฆ่าฟันระหว่างชาวยิว และชาวปาเลสไตน์ โดยที่อาลีไม่รู้เลยว่า แท้จริงแล้วคนที่อยู่ตรงหน้าคือคนที่พยายามฆ่าพวกเขา เช่นเดียวกับที่เขาพยายามทำ


"เราพยายามทำให้คนทั้งโลก ทั้งจักรวาลหันมามองเรา" อาลีบอกกับแอฟเนอร์ที่ถามว่าสุดท้ายสงครามจะจบที่ไหน...จบยังไง?

"เราไม่มีที่อยู่มาตลอด ก่อนหน้ามิวนิค ก่อนเราฆ่ายิว อิสราเอลก็ฆ่าเราอยู่แล้ว" อาลีว่า ขณะที่แอฟเนอร์ก็ออกความเห็นว่า การฆ่ายิวจะทำให้โลกสงสารยิว และมองปาเลสไตล์เป็นสัตว์เดรัจฉาน

"โลกจะได้รู้ว่ายิวทำให้เราเป็นสัตว์เดรัจฉานได้สักแค่ไหน?" คือคำตอบที่อาลีประกาศ และว่าคนมีบ้านจะกลับอย่างแอฟเนอร์ไม่รู้หรอกว่า ความรู้สึกของคนที่ไม่มีบ้านให้กลับเป็นยังไง

"Home is everything. (บ้านคือทุกสิ่งทุกอย่าง)" อาลีบอก


เพราะงั้นการสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้ สุดท้ายมันก็คุ้มค่า หากมีบ้านให้อุ่นใจ

ย้อนกลับมาดู คนที่มีบ้านเกิด มีประเทศคุ้มหัวนอน คงไม่รู้สึกสะทกสะท้าน หรือแบกรับความรู้สึกของคนไม่มีบ้านจะกลับไปพักพิง ต้องระเห็ดระเหินเป็นคนอพยพตลอดเวลาว่ามันเป็นยังไง ลำบากใจแค่ไหน

แต่ในหนัง แอฟเนอร์ที่แม้จะมีประเทศให้กลับ ก็ไม่มีโอกาสจะกลับ ไม่ต่างจากคนไร้บ้านอย่างอาลี


ซึ่งเป็นเรื่องที่สปีลเบิร์กถ่ายทอดได้อย่างน่าคิด โดยเฉพาะบทสนทนาที่ตีแผ่ได้ "โคตรเจ๋ง" ที่เขาสามารถตีประเด็นลึกๆ ของปัญหายิว ปาเลสไตล์ที่กินเวลาร่วมร้อยปีได้เห็นภาพ

ยิ่งข้อมูลในหนังที่พยายามโยงกลุ่ม "กันยาทมิฬ" กับหน่วยข่าวกรอง "ซีไอเอ" ของสหรัฐอเมริกา โดยการบอกเป็นนัยๆ ว่า การที่นักการเมืองอเมริกาไม่ถูกแตะต้องนั้น เป็นเพราะซีไอเอ จ่ายเงินให้กลุ่มกันยาทมิฬ ก็ทำให้คนดูรู้สึกว่า แท้แล้วเบื้องหลังปัญหาการก่อการร้ายต่างๆ ดันมีอเมริกาเป็นคนหนุนหลัง

เพราะงั้นท่ามกลางสงครามที่ดำเนินไป ความปวดร้าวในใจของ "ผู้สังหาร" ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ไม่เคยเหือดหาย จนเริ่มกลายเป็นความเคยชิน ทุกครั้งที่พวกเขาฆ่าใครไป ก็เริ่มเป็นเหมือนกิจวัตรประจำวัน เหมือนตื่นขึ้นมา กินข้าว ฆ่าคน กินข้าว แล้วก็นอน

เมื่อบวกกับจิตใจที่อ่อนล้า และหาคำตอบกับการฆ่าที่ขัดกับหลักธรรมคำสั่งสอนอย่างแรงของยิวไม่ได้

"สงครามที่มีกฎเกณฑ์ มีความพอดีพอเหมาะมันอยู่ตรงไหน?" เลยกลายเป็นคำถามคาใจของใครหลายคน


ขณะที่สัจธรรมเดียวที่พบท่ามกลางสงครามก็คือ ทุกครั้งที่มีคนตาย ก็จะมีคนที่โหดมากกว่ามาทดแทนเสมอ เป็นวงจรไม่มีวันจบ เช่นเดียวกับการจมอยู่กับความชิงชังไม่ได้ทำให้เรามีความสงบสุข นั่นคือ ความจริงที่ยิวพร่ำสอน

ยิ่งฟังยิ่งดูก็รับรู้ถึงความกดดัน และความขัดแย้งในตัวเอง ของคนที่ตกอยู่ในสองสถานะ คือเป็นทั้งผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำได้เข้าอกเข้าใจ

อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นหนังที่สร้างโดยคนยิวอย่างสปิลเบิร์ก ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่มุมมองโดยรวมของเรื่องจะเอื้อให้คนดูเห็นอกเห็นใจคนยิวมากกว่า พวกที่ใครต่อใครก็ตั้งฉายาว่า "พวกก่อการร้าย" ที่แท้จริงแล้ว หากคิดเสียว่า ไม่ว่าใครก็อยากมีบ้านพักพึงให้อุ่นใจ


ทุกคนบนโลกก็คงมีความเห็นอกเห็นใจ ไม่แบ่งแยกว่าใครเป็นใครได้มากกว่านี้

ย้อนกลับมายังปัญหาภาคใต้ของเมืองไทย ที่ไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนปรนกันง่ายๆ แล้ว ก็อยากจะให้หลายๆ ฝ่าย คิดเสียใหม่ว่า อย่างน้อยๆ พวกเรา "คนไทย" ก็ยังโชคดีที่ไม่ต้องไปแย่งแผ่นดินกับใคร จะไม่ดีกว่าหรือหากทำให้แผ่นดินที่เราเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า "บ้าน" กลายเป็นสถานที่แห่งความสุขอย่างที่อาลีบอกไว้ว่า

"Home is everything."


อยากให้ประเทศไทยมีสิ่งที่ดีขึ้นมากกว่าที่เป็นปัจจุบันนี้จริงๆ เลย นึกถึงเมื่อก่อน
อากาศดี ๆ คนใจดี มีน้ำใจ สมัยนี้เจอได้น้อยมาก ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีข่าว
ฆาตกรรมกันทุกวัน ข่าวการเมืองก็มีแต่เรื่องแย่ ๆ หวังว่าสักวันประเทศไทยจะมี
สิ่งดี ๆ เข้ามา

28 Aug 2006  |  Post by : PangRum
Comment 1
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ที่โลกไม่สงบสุขทุกวันนี้ก็เพราะเหตุนี้

30 Aug 2006  |  Comment by : john lennon

Comment


>

Content-Seo

Webboard
โพสต์โดย: fabagust 1
โพสต์โดย: truslenbloc 0
โพสต์โดย: BABYBITCH 1
โพสต์โดย: morning 1
โพสต์โดย: tpk 3
โพสต์โดย: jingjung 3
โพสต์โดย: DarkAngel 2
โพสต์โดย: jedsada1986 1

Interest Product