Talk About Women

โรค Attention Deficit Trait
โดย ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th

ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของ Multitasking หรือไม่ครับ?
คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่
สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลาย ๆ อย่างไปในขณะเดียวกัน เช่นในขณะที่กำลังเช็ค
อีเมลทางคอม
พิวเตอร์ ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน
หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุม
ก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่
ข้างหน้า

ในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่า มีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลาย
อย่างในขณะเดียว
กัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด

แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ Multitasking นั้น กลับ
เป็นสาเหตุประการหนึ่ง
ของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน ที่เราเรียก Attention Deficit Trait หรือ ADT
โรคนี้เป็นโรคที่
เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่
บังคับให้คนทำงานจะต้อง
ทำงานด้วยความรวดเร็วมากขึ้น ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอด
เวลา ไม่มีเวลาหรือ
โอกาสได้สงบพัก

ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบข้างนะครับว่า เป็นโรคนี้หรือ
ไม่?

ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม 2548
ในบทความ
ชื่อ
Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell ซึ่งเป็น
จิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้
เชี่ยวชา­ในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้งหลาย คุณหมอท่านนี้ทำการรักษา
อาการ Attention Deficit Disorder หรือ ADD มากว่า 25 ปี และ โรค ADD นี้
เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทย
โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น

ผู้เขียนบทความนี้เขาพบว่า ในช่วงหลังๆ เริ่มมีผู้ให­่เข้ามารับการรักษาใน
อาการที่คล้ายกับโรคสมาธิสั้น
กันมากขึ้น แต่เมื่อวินิจฉัยดูก็ไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้น แต่เป็นโรคอีกชนิด
หนึ่งที่มีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น
คุณหมอท่านนี้เลยตั้งชื่อใหม่ว่าเป็น Attention Deficit Trait หรือ ADT โดย
สาเหตุของ ADT จะ
ต่างจากโรคสมาธิสั้น เนื่องจากโรคสมาธิสั้นจะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและ
สภาวะแวดล้อม แต่ ADT
นั้น จะมาจากสภาวะแวดล้อมเป็นหลัก

ผู้ที่เป็นโรค ADT นั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใด
งานหนึ่งได้นานๆ ก็จะถูกดึง
ดูดด้วยงานอย่างอื่น มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้
อื่นเห็น) ไม่ค่อยอดทน มี
ปั­หาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) การจัดลำดับความสำคั­ และการบริหาร
เวลา

โรค ADT นี้ มักจะเริ่มก่อเกิดขึ้นเมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง
ขึ้นเรื่อยๆ การที่มีความรู้สึกว่ามี
งานด่วน หรือสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ และ
ท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วน
เหล่านั้นให้สำเร็จ จะเป็นบ่อเกิดที่สำคั­ของโรค ADT เพราะเมื่อเรามีงานที่
เร่งด่วน หรือจำเป็นเข้า
มาเรื่อยๆ เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น อีกทั้งไม่บ่นไม่
โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่ม
ขึ้น เราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ และ
เวลาของเราไม่
เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา ดังนั้น เมื่อเจอกับปริมาณงาน
ที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วน
ขึ้น เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลา พยายามทำงานให้เสร็จโดย
เร็ว

การทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆ หนึ่ง
(Unfocused) แต่ในขณะ
เดียวกัน บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวาย ดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มี
ปั­หาอะไรเกิดขึ้น

ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรค ADT จะก่อให้เกิดปั­หาอะไรขึ้น?
ง่ายๆ ก็คือ ทำให้สมองเราสู­
เสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง จะส่งผลให้
งานที่ออกมาเป็นงาน
ที่เร็วแต่ไม่ลึก จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลง การที่สมองเรา
จะต้องรับ
วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการแก้ไขปั­หา
อย่างสร้างสรรค์ก็ลด
ลง อีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น

โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับ เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวด
ล้อมในการทำงาน ที่ต้องการ
ความรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สมองเราจะต้องรับและประมวลผล
ข้อมูลต่างๆ มากขึ้นกว่า
เดิม วัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบัน ก็เป็นสาเหตุสำคั­อย่างหนึ่งที่ทำให้เรา
เกิดโรคนี้ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งความสำคั­ของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเรา
ต้องการความเร็วมากขึ้น
เรื่อยๆ (เรามักจะคิดว่าในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน ดังนั้น ผู้ที่มีความ
เร็วมากกว่าจะทำงานได้
มากกว่า)

ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์ ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด
ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม "ปิดประตู" เนื่อง
เพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง

***ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเป็นโรค ADT กันบ้างไหมครับ ผมลองสังเกตตัวเองก็
รู้สึกว่าเป็นเหมือนกันครับ
ทั้งสาเหตุและอาการก็เหมือนกับที่คุณหมอเขาเขียนไว้ในบทความของเขาเลยครับ
เพียงแต่ท่านผู้อ่านอย่า
เพิ่งตกใจนะครับ ถ้ารู้สึกว่าตนเองเป็น ADT เนื่องจากคนแต่ละคนจะมีวิธีการ
ในการบริหารและจัดการ
กับโรค ADT ที่ต่างกัน (เนื่องจากสมองของคนแต่ละคนต่างกัน)***


1 Dec 2006  |  Post by : PangRum
Comment 2
ขอบคุณ...คุณPangRumมากๆนะค่ะที่เอามาให้อ่าน มุกอ่านแล้วมุกรู้ตัวเลยค่ะว่ามุกเป็นโรคนี้อยู่ เพราะตอนนี้งานมุกเยอะมาก ทั้งProject แผนธุรกิจ แระการเป็นหัวหน้าห้อง การเป็นสภานักเรียน ช่วงนี้กีฬาเป็นนักกีฬาอีก เด๋วนี้นะค่ะทานข้าวไปด้วยต้องอ่านหนังสือสอบไปด้วยเพราะที่วิทยาลัยจะเรียนไปสอบไป นั่งรถก็ต้องนั่งอ่านหนังสือไปด้วย แม้กระทั่งเข้าห้องน้ำ นั่งหาข้อมูลในการทำProject ก็จะนั่งทานข้าวไปด้วย คุยโทรศัพท์เรื่องงานกับเพื่อนไปด้วยโดยการประชุมสายนะค่ะ เด๋วนี้ปล่อยเวลาให้ว่างให้ไร้สาระเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้เลย เพราะตอนนี้เรียน ปวช.3แล้วจะจบแล้วงานเยอะมากๆ ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ได้นอนวันละ 1-2 ชม.เท่านั้น ตอนนี้สงสารตัวเองมากๆเลยตอนนี้โทรมมากๆ แต่จะคิดเสมอว่าจะไม่ท้อต่อให้เหนื่อยแค่ไหน เพราะเราขยันและมุ่งมั่นในวันนี้ มันทำให้เราประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า ถึงแม้อายุแค่ 18แต่ต้องรับผิดชอบอะไรมากมายก็จะทน เพื่ออนาคต ขอบคุณอีกครั้งนะค่ะที่เอามาให้อ่านตอนแรกกะว่าจะไม่อ่านเพราะกลัวล่าช้าในาการทำงาน แต่พอได้อ่านแล้วไม่รู้สึกว่าเสียเวลา รู้สึกว่ามันมีค่ามากๆ ขอบคุณนะค่ะ

1 Dec 2006  |  Comment by : สาวอาชีวะ
Comment 1
เหอะๆ พี่ก็คงจะเป็นนะคะเนี่ย เพราะชอบทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน

1 Dec 2006  |  Comment by : SweetNokk

Comment


>

Content-Seo

Webboard
โพสต์โดย: FerrariJung 0
โพสต์โดย: GoneHin 20
โพสต์โดย: PrincessAngel 12
โพสต์โดย: prnews 0
โพสต์โดย: Mentalist 1
โพสต์โดย: mymedia 0
โพสต์โดย: Momay 2
โพสต์โดย: maxima consultants 0

Interest Product