BUNYA DEVA

ลูกนอนกรน ลูกหายใจติดขัดขณะนอน แนะนำขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและรักษานอนกรนในเด็กอย่างละเอียด

แนะนำการตรวจวินิจฉัย และรักษาลูกนอนกรนเบื้องต้น



ลูกนอนกรน ลูกหายใจติดขัดขณะนอน แนะนำขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและรักษานอนกรนในเด็กอย่างละเอียด
ลูกนอนกรน ลูกนอนหายใจติดขัด เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเพราะ เป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เมื่อเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจขึ้น ทำให้มีอาการหลับๆตื่นๆตลอดทั้งคืน และส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ รวมถึงพฤติกรรมด้วย ก่อนอธิบายถึงการวินิจฉัยและแก้นอนกรน ขอเท้าความถึงสาเหตุของอาการนอนกรนในเด็กก่อนค่ะ

สาเหตุที่ลูกนอนกรน และ ลูกหายใจติดขัด อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น 
 

1. ต่อมทอลซินหรือต่อมอะดีนอยด์โต: 

ต่อมอะดีนอยด์คือ ต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ตำแหน่งตั้งอยู่บริเวณหลังโพรงจมูก โดยส่วนมากพบว่า การที่ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โตมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เนื่องจากต่อมทอนซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับต่อมอะดีนอยด์ เมื่อต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตมากเกินไปจากการติดเชื้อ ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจและเป็นที่มาของอาการนอนกรนในเด็ก นี่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการหายใจไม่สะดวกและอาการนอนกรนในเด็ก 

 
2. โครงหน้าผิดปกติ:

ลักษณะใบหน้าของคนที่นอนกรนโดยส่วนมากคือบุคคลที่มีโครงหน้าสั้น โดยเฉพาะขากรรไกรล่าง ทำให้ลิ้นไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นที่มาของอาการนอนกรนในเด็ก 

 
3. โรคอ้วน:  

จากการศึกษาพบว่า เด็กที่มีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มที่จะเข้าข่ายเป็น “เด็กนอนกรน” มากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ โรคอ้วนสามารถทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากยิ่งขึ้น 

 
4. โรคภูมิแพ้: 

โรคภูมิแพ้อาจส่งผลให้ลูกนอนกรน เพราะเด็กรู้สึกระคายเคืองทั้งในจมูกและลำคอ ซึ่งอาจทำให้หายใจได้ยากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเด็กนอนกรนหรือลูกหยุดหายใจขณะหลับ 



ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย และแก้นอนกรนในเด็ก
อาการนอนกรนในเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงเด็กโตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนั้นจึงต้องมีการวินิจฉัยอาการและมีขั้นตอนการรักษาดังต่อไปนี้ 

1. ซักถามประวัติและอาการของเด็กเบื้องต้น 

2. ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำในโรงพยาบาลหรือที่บ้านตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การตรวจการนอนหลับกับทาง Vital Sleep Clinic จะเป็นการตรวจที่บ้าน เพื่อได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด  

3. หลังตรวจเสร็จ รอผลประมาณ 3-7 วัน ก็สามารถเข้ามาฟังผลตรวจที่คลินิก 

4. ตรวจร่างกายเพิ่มเติมตั้งแต่บริเวณศีรษะ ใบหน้า หู คอ จมูก และช่องปาก การตรวจปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้อาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การ X-ray บริเวณศีรษะด้านข้างเพื่อดูความกว้างของทางเดินหายใจ 
หลังทราบถึงความรุนแรงของอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับแล้ว แพทย์ก็จะเป็นคนแนะนำวิธีแก้นอนกรนที่เหมาะสำหรับน้องที่สุด ส่วนวิธีหลักๆ ที่แพทย์จะแนะนำสำหรับการรักษานอนกรน มีดังต่อไปนี้ 

การรักษาเด็กนอนกรนด้วยเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) เป็นวิธีที่แพทย์มักแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่เพื่อแก้อาการลูกนอนกรนเพราะ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก เหมาะสำหรับเด็กเล็กถึงเด็กโต และเมื่อถ้าเทียบกับผลลัพธ์แล้ว ถือว่าคุ้มค่ากับราคา 
การรักษาเด็กนอนกรนด้วยการฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) เป็นอีกวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะ กระบวนการนี้ออกแบบมาเพื่อรักษาอาการนอนกรน นอนกัดฟัน สำหรับเด็กโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีการใส่อุปกรณ์ myobrace (มายโอเบลส)  เสริมเพื่อการรักษาที่ได้ผลมากยิ่งขึ้น 
การรักษาเด็กนอนกรนด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีการรักษานอนกรนในเด็กที่ได้ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่มีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เกิดจากการที่ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต 
ปัญหาลูกนอนกรนและลูกหายใจติดขัดระหว่างนอนอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อลูกน้อยของคุณในระยะยาวเช่น ความจำแย่ สมาธิสั้น เป็นต้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยและเข้าพบแพทย์เพื่อรีบทำการรักษาอาการลูกนอนหายใจติดขัด





Pooyingnaka Wellness

Popular Blog
  |  Post by : Rockstar88
  |  Post by : porsiwaporn1995
  |  Post by : ADMEADME
  |  Post by : benznaka
  |  Post by : benznaka
  |  Post by : Bigbossbaby
  |  Post by : Peach Phasakorn
  |  Post by : lovetoread

สมัครเพื่อรับข่าวสาร

* indicates required

Intuit Mailchimp