โรคนิ่วเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะซึ่ง นิ่ว
มีลักษณะเป็นก้อนแข็งคล้ายก้อนกรวดเกิดจากการตกตะกอนหรือตกผลึกของหินปูน
หรือเกลือแร่ในร่างกายซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ แคลเซียม ออกซาเลต, แคลเซียม
ฟอสเฟต, กรดยูริค และซีสเตอีน
นิ่วเกิดขึ้นที่อวัยวะใดก็จะมีชื่อเรียกตามตามอวัยวะนั้น โรคนิ่วพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย
แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี โดยการรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1.รักษาแบบไม่ผ่าตัด
ใช้ในรายที่เป็นนิ่วไตเม็ดเล็ก และอยู่และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สูงมาก
แพทย์จะให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มากขึ้น พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย
อาจให้ยาลดปวดร่วมด้วย ในบางครั้งนิ่วจะหลุดลงมาในกระเพาะปัสสาวะ
แล้วถูกขับออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะได้
2.รักษาด้วยเครื่องสลายนิ่ว
ใช้กับนิ่วในไตที่มีขนาดเล็ก
เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงจากภายนอกยิงไปกระแทกให้เม็ดนิ่วแตกออก
แล้วขับออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะ วิธีนี้จะมีผลดีต่อผู้ป่วย เนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด
ไม่มีบาดแผล ไม่เสียเลือด หรือได้รับผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
แต่ผู้ป่วยที่จะใช้วิธีนี้ได้ ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์
เพื่อดูตำแหน่งของเม็ดนิ่ว และมีผู้ป่วยบางประเภทที่ไม่สามารถใช้วิธีนี้ เช่น
ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย
หรือผู้ป่วยที่มีรูปร่างไม่ปกติ เป็นต้น
3.รักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดได้หลายแบบ
เทคโนโลยีใหม่ จะใช้กล้องวีดิทัศน์ หรือกล้องส่อง มาช่วยในการผ่าตัด
อาจมีการใช้เลเซอร์ เพื่อให้นิ่วแตกออกแล้วถูกขับออก
เราสามารถหาแนวทางการป้องกันการเกิดโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะได้โดยเริ่มจากการดื่มน้ำมากกว่าวันละ
8 แก้ว หรือให้ได้ปริมาตรของปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน
เพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ
และลดการก่อผลึกนิ่วที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ , รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักและผลไม้
แหละที่สำคัญต้องลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวานและเค็มมาก
อาหารที่มีกรดยูริกสูง ด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเองค่ะ
#นิ่วทางเดินปัสสาวะ