การปวดท้องน้อย เป็นอาการปวดช่องท้องด้านล่างบริเวณอุ้งเชิงกราน
อาจเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบ หรือการบาดเจ็บที่อวัยวะภายในระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ หรืออาจเกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน เช่น
ไส้เลื่อน ไส้ติ่งอักเสบ หนองใน กระเพาะปัสสาวะหรือไตติดเชื้อ
กระดูกเชิงกรานแตกหัก การอักเสบของเส้นประสาท โดยอาการปวดท้องน้อยมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
และอาจเป็นอาการป่วยเกี่ยวกับอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น ปวดประจำเดือน มีซีสต์ในรังไข่
ท้องนอกมดลูก หรือแท้งบุตร เป็นต้น โดยอาการบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณสำคัญของการปวดท้องน้อยนั้นมีดังนี้
อาการบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณของการปวดท้องน้อย
·
ปวดประจำเดือน
หรือปวดเกร็งในขณะมีประจำเดือนและอาการแย่ลงเรื่อย ๆ
·
มีเลือด หยดเลือด
หรือตกขาวไหลออกจากช่องคลอด
·
เจ็บปวดในขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะลำบาก
ติดขัด
·
ท้องผูกหรือท้องร่วง
·
ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือเรอ
·
มีเลือดออกในขณะขับถ่าย
·
เจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์
·
มีไข้ หรือหนาวสั่น
·
ปวดบริเวณสะโพก หรือขาหนีบ
โดยในด้านของการรักษาอาการปวดท้องน้อยนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี
เช่น รับประทานยาแก้ปวด
อย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน หากเป็นอาการปวดท้องน้อยก่อนมีประจำเดือน
หรือในขณะมีประจำเดือน แต่หากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาหาสาเหตุที่แท้จริง
โดยแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ อย่างเช่น ยาปฏิชีวนะใช้ในผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยแล้วว่ามีภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย และยาต้านไวรัสจะใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยด้วยการติดเชื้อไวรัส
เช่น โรคเริม ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีรักษาในรูปแบบอื่น ๆ
อีกหลายอย่างที่คุณสามารถไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทั้งในอินเตอร์เน็ต
หรือจะเป็นในหนังสือก็ได้ เพื่อที่คุณจะได้ดูแลตนเองได้อย่างดีที่สุดนั้นเองค่ะ
#ปวดท้องน้อย