เนื้องอกในมดลูกเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติเกิดได้ทั้งด้านนอกผนังมดลูก
อยู่ในเนื้อมดลูกหรืออยู่ในโพรงมดลูก เนื้องอกมี 2 ชนิด คือ
ชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่เนื้องอกมดลูกจะเป็นชนิดธรรมดา
ในการรักษาเนื้องอกมดลูก ทำได้โดยการผ่าตัด ซึ่งความยากขึ้นอยู่กับขนาด
จำนวน และตำแหน่ง แบ่งออกเป็นดังนี้
วิธีการรักษาเนื้องอกมดลูก
1.การตัดก้อนเนื้องอก
สามารถทำได้หลายทาง ทั้งการผ่าตัดเนื้องอกผ่านกล้อง การผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้องแบบแผลเล็กกว่าหรือเท่ากับ
6 เซนติเมตร และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้อง
ซึ่งในอดีตหากเนื้องอกมีขนาดมากกว่า 5
เซนติเมตรจะต้องผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้อง
แต่ปัจจุบันเนื้องอกมดลูกขนาดมากกว่า 5
เซนติเมตรก็สามารถผ่าตัดเนื้องอกผ่านกล้องได้ ช่วยลดโอกาสการเสียเลือดมาก
ทั้งยังพักฟื้นไม่นาน โดยขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์เป็นสำคัญ
นอกจากนี้สิ่งที่ควรรู้ไว้คือ 25-30%
ของผู้ป่วยที่ผ่าตัดเนื้องอกออกไปแล้ว มีโอกาสที่เนื้องอกจะกลับมาโตอีก
แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถมีบุตรได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด
2.การตัดมดลูก
สามารถทำได้โดยการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด การผ่าตัดมดลูกผ่านการส่องกล้องช่องท้อง การผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้องแบบแผลเล็กกว่าหรือเท่ากับ
6 เซนติเมตร และการผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งวิธีนี้มักใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว
แม้ว่าโอกาสที่เนื้องอกมดลูกจะกลายเป็นมะเร็งมีน้อย
ก็ใช่ว่าจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการใช้ชีวิต
แต่ด้วยรอยโรคที่มักไม่มีอาการแสดงจนกว่าก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่
การตรวจภายในประจำปีจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว
และรักษาโรคได้ทัน โดยที่อาจจะไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ค่ะ
#เนื้องอกมดลูก