ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้
โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
หัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradyarrhythmia) และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
(Tachyarrhythmia) ซึ่งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นมีหลายชนิด
และมีความรุนแรงที่แตกต่างกันดังนี้
1. กรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป คือ ชีพจรเกิน
80 ครั้ง/นาทีในผู้ใหญ่ขณะพัก ถือว่าเร็วกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการใจสั่น วิงเวียน
หน้ามืด แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เป็นลม อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิต
2. กรณีหัวใจเต้นช้าเกินไป คือ
ชีพจรในผู้ใหญ่ขณะพักที่น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที
(ยกเว้นในนักกีฬาที่ฝึกซ้อมสม่ำเสมอสุขภาพแข็งแรง หัวใจอาจเต้นช้าได้มาก ๆ เช่น 50
ครั้ง/นาที ก็ยังถือว่าปกติ) ซึ่งถ้าหัวใจเต้นช้ามาก จะทำให้เลือดที่บีบจากหัวใจไปเลี้ยงระบบประสาทสมองไม่เพียงพอ
ส่งผลทำให้วิงเวียน หรือหน้ามืดเป็นลมได้
3. นอกจากการที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไปแล้ว
หัวใจอาจจะเต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เลือดที่บีบออกจากหัวใจไม่เพียงพอ
สำหรับเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบประสาทสมอง และหัวใจเอง
ทำให้ขาดเลือดจนส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้นถ้าไม่อยากเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะควรหาวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่น
ๆ ด้วยการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นหัวใจต่าง ๆ เช่น ชา กาแฟ
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยาแอมเฟตามีน และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ
และไม่เครียด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะมันก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีกหลายหลายที่ทำให้เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
เช่น โรคประจำตัว พันธุกรรม เป็นต้น
#หัวใจเต้นผิดจังหวะ