ทุก ๆ
วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ประเทศไทยมีวันสำคัญคือ ‘วันเด็กแห่งชาติ’ ที่ให้เด็กได้มีสิทธิ และบทบาทต่าง ๆ ตามที่ใฝ่ฝัน พร้อมจัดงานแสดงแบบตื่นตาตื่นใจ
แต่ 2 ปีที่ผ่านมานี้เพราะการแพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 ทำให้ต้องงดจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากไปกว่านั้นข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนยังชี้ว่าผู้คนวางแผนมีบุตรลดลง
คาดเพราะความกังวลในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การตกงาน, บริษัทล้มละลาย และค่าใช้จ่ายรายวัน เป็นต้น
เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดปี
พ.ศ. 2562 ไทยมีการแจ้งเกิดลดลงอย่างเห็นได้ชัดคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์
และเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ iPrice Group จึงรวบรวมข้อมูลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่น ต้นทุนเฉลี่ยของสินค้าต่อทารกหนึ่งคน และแนวโน้มความสนใจของผู้คนที่จะซื้อสินค้าเหล่านี้ทางออนไลน์มาวิเคราะห์โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ควรมีเงินเก็บขั้นต่ำ $1,000 (ประมาณ 33,000 บาท) สำหรับเด็กแรกเกิด 1 คน
จากการเก็บข้อมูลราคาสินค้าสำหรับแม่และเด็กบนแพลตฟอร์มของ
iPrice Group ในแต่ละประเทศ พบว่า คาร์ซีท, รถเข็นเด็ก, ของเล่น 5 ชิ้น, เปลเด็ก และอื่น ๆ มีมูลค่ารวมกว่า $1,148 (ประมาณ 38,000 บาท) และยังมีสินค้าที่จำเป็นต้องซื้ออีกหลัก ๆ 3 รายการคือ ผ้าอ้อม, ผ้าเช็ดทำความสะอาด และนมผง
มีมูลค่าขั้นต่ำกว่า $32 (ประมาณ 1,000 บาท) ยิ่งกว่านั้นสินค้าเหล่านี้อาจต้องซื้อเป็นรายสัปดาห์
จากผลสำรวจอาจกล่าวได้ว่า
การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 1 คน ควรมีเงินเก็บไม่ต่ำกว่า
$1,000 (33,000 บาท) ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย หรือข้าวของเครื่องใช้ยามฉุกเฉินอื่น ๆ
มากไปกว่านั้นยังมีข้อมูลที่น่าสนใจคือค่าแรงขั้นต่ำของชาวฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ที่น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยชาวเวียดนามมีค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย $185 (ประมาณ 6,000 บาท) และ $314 (ประมาณ 10,440 บาท) สำหรับค่าแรงขั้นต่ำของชาวฟิลิปปินส์
นั่นหมายถึงชาวเวียดนามผู้มีค่าแรงขั้นต่ำต้องออมเงินเดือนกว่า 5.5 เดือน และชาวฟิลิปปินส์ออมต้องออมกว่า 3 เดือน เพื่อให้มีเงินเก็บเพียงพอต่อการเลี้ยงเด็กแรกเกิด 1 คน คล้ายคลึงกับชาวไทยที่มีค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 9,000-10,000 บาท เท่ากับต้องออมเงินกว่า 3 เดือน เหมือนกับชาวฟิลิปปินส์
ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส
กระทบให้หลายคนขาดแคลนรายได้ และตกงาน จึงส่งผลต่อการคุมกำเนิดทำให้อัตราการแจ้งเกิดช่วง
2 ปี ในยุค COVID-19 ลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด
สินค้าแม่ และเด็กได้รับความสนใจเฉลี่ยสูงถึง 127% (ยกเว้นมาเลเซีย)
แม้ว่าอัตราการคลอดบุตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลง แต่ในด้านการซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับเด็กกลับมีผู้คนสนใจยิ่งขึ้น ซึ่ง iPrice Group ได้เก็บข้อมูลความสนใจต่อสินค้าแม่และเด็กจาก Google Analytics ในแพลตฟอร์มของ iPrice Group ครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, เวียดนาม และไทย พบว่า
สินค้าในหมวดหมู่ของเล่นเด็กได้รับความสนใจมากที่สุด โดยมีผู้คนสนใจเพิ่มขึ้นถึง 222% รองลงมาคือผ้าอ้อมเด็ก 160% และอุปกรณ์ดูแลเด็ก 127% คาดเพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของ
COVID-19 ทำให้เด็ก ๆ ไม่สามารถออกไปผ่อนคลายนอกบ้านได้อย่างอิสระ ผู้ปกครองจึงต้องปรับตัวซื้อสินค้าออนไลน์เพื่อนำสร้างความบันเทิงคลายความเครียดให้เด็ก ๆ
การศึกษาข้อมูล
iPrice Group เก็บข้อมูลความสนใจต่อสินค้าสำหรับแม่และเด็กจาก Google
Analytics ครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และไทย โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 - 31 ตุลาคม 2021 และนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2020
‘โต๊ะเรียนสำหรับเด็ก’ คือสินค้ายอดนิยมในช่วงเรียนออนไลน์
นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในยุค New Normal ที่เลี่ยงไม่ได้กับการเรียนออนไลน์ในช่วง COVID-19 ไม่ว่าจะด้วยผู้ปกครอง ผู้สอน หรือผู้เรียน
ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคออนไลน์มากขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพื้นที่ในการเรียนออนไลน์ของเด็ก
เพราะคงไม่มีผู้ปกครองคนไหนอยากให้บุตรหลานเผชิญสภาวะออฟฟิศซินโดรมตั้งแต่เด็กแน่นอน
จึงสอดคล้องกับงานวิจัยของ iPrice Group ที่พบว่า ในปี 2021 สินค้าในหมวดหมู่แม่และเด็กที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทย
อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ คือ ‘โต๊ะเรียนสำหรับเด็ก’ รองลงมาเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น นมผง และผ้าอ้อมสำเร็จรูป เป็นต้น
การศึกษาข้อมูล
iPrice Group เก็บข้อมูลความสนใจต่อสินค้าสำหรับแม่และเด็กจาก
Google Analytics ครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และไทย
โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 - 31 ตุลาคม 2021 เน้นเฉพาะสินค้าสำหรับเด็กอายุระหว่าง
0-3 ปี รวมไปถึงสินค้าสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้น
เขียน และวิเคราะห์โดย อัดนาน ปูตีลา