โรคซึมเศร้าเป็นแล้วหายได้ มารู้จักวิธีป้องกันตนเองไม่ให้เป็นซึมเศร้า!
โรคซึมเศร้ารักษาได้แค่เริ่มคิดบวก หมั่นสังเกตอารมณ์ตัวเอง ทำความรู้จักโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น เมื่อเป็นแล้วควรพบแพทย์เพื่อการรักษาและป้องกันไม่ให้เป็นซึมเศร้าเรื้อรัง
ในปัจจุบันมีผู้คนเป็นซึมเศร้ามากขึ้น พบเจอได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงวัย มีหลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบไม่รู้ตัว คิดว่าแค่ทุกข์ใจเล็กน้อยเดี๋ยวก็หายไปเอง แต่นั่นคือสัญญาณเตือนถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษาอาจทำให้อาการโรคซึมเศร้าเป็นหนักขึ้น เรามารู้จักอาการสำคัญต่างๆ ของโรคนี้และวิธีป้องกันอย่างไรให้โรคซึมเศร้าเป็นแล้วหายได้ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
โรคซึมเศร้าโรคร้ายที่เป็นได้โดยไม่รู้ตัว
Depressive disorder คือ อาการผิดปกติอย่างหนึ่งของอารมณ์ เกี่ยวกับสารเคมีในสมอง ส่งผลให้ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมเปลี่ยนไปหลังจากเป็นโรคซึมเศร้า เช่น เฉยชาไม่สนใจสิ่งรอบข้าง, รับประทานอาหารน้อยลง, นอนไม่หลับเป็นต้น ภาวะซึมเศร้านี้ ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยยาหรือบำบัดโรคซึมเศร้า ถ้าหากปล่อยไว้ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า รู้สึกผิดหวังด้อยค่าตนเอง จนได้รับผลกระทบทางจิตใจและอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิตแต่มีหลายประเภท
โรคซึมเศร้าหมายถึง ภาวะอารมณ์เปลี่ยนไปจากปกติ จนบางครั้งเกิดอาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับและเครียดจนหลงผิด โรคซึมเศร้าจึงมีหลายประเภทได้แก่
โรคซึมเศร้า
ในภาวะซึมเศร้านี้ ผู้ป่วยจะเป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งอาการเบื้องต้นจะไม่รุนแรงมาก รู้สึกหงุดหงิดง่าย เหนื่อยง่าย ไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยชอบ โดยสามารถรักษาให้หายได้ ควรเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดโอกาสการเป็นซึมเศร้าเรื้อรังจนไปถึงการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคนี้
โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
ในภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเกิดขึ้นเมื่อ ผู้ป่วยเป็นซึมเศร้าต่อเนื่องนานประมาณ 2 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยจะเป็นโรคซึมเศร้า แต่แสดงอาการออกมาน้อยกว่าซึมเศร้าปกติ เช่น นอนหลับมากเกินไป ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่มีสมาธิกับสิ่งที่ทำอยู่
ภาวะซึมเศร้าอื่นๆ
ภาวะโรคซึมเศร้านี้จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ฮอร์โมนและการมีประจำเดือน แต่อาการจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนไหวง่าย หงุดหงิดง่าย ร่างกายอ่อนเพลียไม่อยากทำอะไรและจะมีอาการเจ็บเต้านมหรือคัดเต้านม สิวขึ้น จนไปถึงปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
อาการสำคัญของโรคซึมเศร้า
อาการสำคัญที่กำลังบ่งบอกว่า คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือกำลังเป็นอยู่ จะมีสาเหตุของโรคซึมเศร้าอะไรบ้าง ดังนี้
● เลิกสนใจสิ่งที่เคยชอบ รู้สึกเฉยชาต่อสิ่งเร้าต่างๆ
● รู้สึกหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย
● รู้สึกว่างเปล่า อยากนอนอยู่เฉยๆ หรือนอนไม่หลับ
● ไม่มีความอยากอาหาร น้ำหนักลดหรือในบางคนอาจกินมากไป น้ำหนักขึ้น
● ไม่กระตือรือร้นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เหนื่อยง่าย
● รู้สึกสับสน ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
● คิดช้าหรือขยับร่างกายช้า
● ปวดหัวแบบไม่เกิดจากไข้หวัดและไม่ทราบสาเหตุ
● โทษตัวเองในทุกเรื่อง ขาดสมาธิและด้อยค่าตัวเอง
● คิดเรื่องความตาย มีความรู้สึกว่าอยากฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นกับใครบ้าง ทำไมผู้หญิงถึงมีโอกาสเกิดมากว่าผู้ชาย
โรคซึมเศร้าสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว พันธุกรรมและการใช้ชีวิต หากในครอบครัวมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจทำให้คนใกล้ชิด มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งโรคซึมเศร้ามีโอกาสเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จากฮอร์โมนเพศ การมีประจำเดือน ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการโรคซึมเศร้าจึงสามารถเกิดได้ในทุกวัย โดยอาจมีอาการแตกต่างกันไป ดังนี้
1. ซึมเศร้าในเด็กจะมีอาการ ติดพ่อหรือแม่ ไม่อยากไปโรงเรียน เศร้าง่าย รำคาญง่าย
2. ซึมเศร้าในวัยรุ่นจะมีอาการ หงุดหงิด รู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจ ไม่เข้าสังคม รู้สึกตัวเองไร้ค่า ทำร้ายตัวเองและโดดเรียน
3. ซึมเศร้าในผู้สูงวัยจะมีอาการ พฤติกรรมเปลี่ยนไป ความจำไม่ดี เจ็บปวดตามร่างกาย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หมดความสนใจเรื่องเพศ มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้ามีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร
การตรวจวินิจฉัยโรคซึมเศร้า แพทย์จะเริ่มจากสอบถามอากร การใช้ชีวิตประจำวัน โรคประจำตัว ประวัติครอบครัวและยาที่กินอยู่ ซึ่งยาที่กินอยู่ประจำ อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโรคซึมเศร้าได้ แต่สิ่งสำคัญคือแบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อนำผลโรคซึมเศร้า ซึมเศร้าแบบทดสอบ มาวิเคราะห์ประเมินว่า เป็นซึมเศร้าระดับไหนหรือเป็นโรคจิตเวชชนิดอื่น ที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้ แพทย์จึงต้องอาศัยประสบการณ์การ ดูแลผู้ป่วยมาระดับหนึ่ง การวินิจฉัยที่แน่นอนผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เท่านั้น
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองและทางการแพทย์
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองทำได้ ถ้าหากยังแสดงอาการไม่มาก แต่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อให้คำแนะนำ ดูแลพร้อมตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง การรักษานี้ควรรีบตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นการบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการพูดคุย ให้กำลังใจกัน ไม่คิดในแง่ลบ ออกกำลังกายพร้อมติดตามอาการ ยิ่งเป็นซึมเศร้าได้ไม่นานการรักษาให้หายดีก็จะยิ่งเร็วขึ้น
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา หากผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้ารุนแรง อาจต้องได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เนื่องจากการใช้ยามีข้อจำกัดอยู่มากและการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า มีผลข้างเคียงที่ตามมาได้แก่ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ พะอืดพะอม ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงซึมเป็นต้น โดยแพทย์จะนัดติดตามอาการทุก 1-2 สัปดาห์และติดตามอาการนาน 4-6 เดือน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว แพทย์จะดูในช่วงนี้ว่าหยุดยาแล้วมีอาการกำเริบหรือไม่ จากนั้นจึงค่อยๆ ลดปริมาณยาลง จนสั่งหยุดยาในที่สุด
โรคซึมเศร้าไม่น่ากลัว ถ้ารู้จักการป้องกัน
โรคซึมเศร้า คืออาการผิดปกติของสารเคมีในสมอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งพันธุกรรมหรือปัญหาในชีวิต เราจึงควรรู้จักวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้า โดยเริ่มจากการสังเกตตัวเองและวิธีป้องกันต่างๆ ดังนี้
● หมั่นสังเกตอารมณ์ของตนเองอยู่ตลอดเวลา
● เมื่อรู้สึกเศร้า ควรตรวจสุขภาพจิตเพื่อป้องกันปัญหาซึมเศร้าในอนาคต
● ไม่นำตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกซึมเศร้า เช่น การทะเลาะวิวาท การใช้สารเสพติด
● ทำกิจกรรมออกกำลังกายหรือส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการเข้าสังคม
● ควรพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวเพื่อระบายความรู้สึก
● หากเป็นโรคซึมเศร้าแล้วควรรักษา ตามการนัดของแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง
เมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีอาการซึมเศร้ามีอาการเบื่อโลก ไม่อยากทำอะไร มีความคิดอยากตาย ติดต่อนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยทันที
สรุป โรคซึมเศร้าหายได้
โรคซึมเศร้าเป็นแล้วอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า รู้สึกกดดันตัวเองมากเกินไป แต่ถ้าผู้ป่วยมีความมั่นใจในตัวเอง เชื่อว่าโรคนี้หายได้ อาการของโรคก็จะดีขึ้น เมื่อความมั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น เราจะมองปัญหาได้หลายมุมมากขึ้น การรู้จักป้องกันไม่ให้เป็นซึมเศร้าก็สำคัญอย่างเช่น การออกกำลังกาย การตั้งเป้าหมายในชีวิต การรู้จักพักผ่อน เลือกมองโลกในแง่ดี พยายามคิดบวกตลอดเวลา เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิด โรคซึมเศร้าหรือใช้วิธีนี้ร่วมกับการรักษาได้นั่นเอง