Talk About Women

เรื่องราวของ Webmaster By SweetNokk
ขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ เรื่องราวของพี่นก อาจจะเป็นอะไรที่ดูเศร้า มันก็เศร้าจริงๆค่ะ แต่ตอนนี้พี่ดีขึ้นเยอะ ไม่ใช่ว่าอกหักแล้วเป็นโรคซึมเศร้าอย่างที่น้องๆเข้าใจหรอกนะคะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักจริงแต่ความรักไม่ได้ทำร้ายพี่ พี่ทำร้ายตัวเอง เป็นผู้หญิงก็มักจะหวังและเชื่อใจ มันเป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัวและไม่เป็นสุภาพบุรุษ ได้แต่ด่าผู้หญิง มันเลยทำให้เครียด เอาล่ะค่ะ แหล่งที่มาของการเป็นโรคซึมเศร้ามาจากผู้ชายงี่เง่าคนนึง แต่ตอนนี้ที่เป็น พอเป็นโรคซึมเศร้าเรื่องราวต่างๆมันก็เลยตามมา ทำให้ต้องไปหาหมอ ฉะนั้นตอนนี้ตัดเรื่องความรักออกไปได้ เหลือเพียง &quot;สู้ด้วยตัวเอง&quot; <br>
<br>
คุณหมอพยายามให้พี่สู้ด้วยตัวเองและใช้ยาเป็นตัวพยุง ถ้าพี่ล้มก่อนให้คนอื่นมาช่วยต้องพยายามลุกด้วยตัวเองก่อนฉะนั้นตอนนี้พี่สู้กับตัวเองเท่านั้นค่ะ <br>
<br>
ตอนพี่ไม่สบายคนในครอบครัวเป็นห่วงและให้กำลังใจเสมอๆ ทำให้พี่ต้องลุกขึ้นให้ได้เพื่อตัวพี่เองและเพื่อครอบครัวและคนที่เป็นห่วงอยู่ พี่ไม่ทำเพื่อให้ใครสบายใจแต่พี่ทำเพราะตัวพี่เองอยากหาย <br>
<br>
พี่เป็นเวปมาสเตอร์ผู้หญิงนะคะดอทคอม พี่จะทิ้งเวปนี้ไปไม่ได้ พี่ให้กำลังใจน้องๆพี่ๆมามากมาย แต่่สุดท้ายเกิดเรื่องกับตัวเองพี่กลัับสู้ไม่ไหว แต่ตอนนี้ &quot;คิดได้แล้ว&quot; เวปมาสเตอร์ก็คือคนๆนึงที่ต้องมีความรับผิดชอบ แม้จะเกิดเรื่องอะไรก็ต้องเข้มแข็ง <br>
<br>
ตอนนี้ดีขึ้นเยอะแล้วค่ะ แต่เพราะยาที่ทานทำให้ต้องนอนพัก เลยไม่ค่อยได้เข้ามาคุยกับทุกคน <br>
<br>
อยากหายไวๆจังเล้ย

1 Feb 2007  |  Post by : SweetNokk
Comment 10
แล้วพี่เต้ยไปอยู่ไหนซะหล่ะค่ะ ปล่อยให้พี่นกเป็นอย่างนี้ได้ยังไงเนี่ย แย่ๆ <br>
เป็นกำลังใจให้หายไวไวนะค่ะ สู้ๆค่ะ <br>
ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี อะไรๆก็จะดีขึ้นตามค่ะ^^

5 Feb 2007  |  Comment by : อาซิ่มโบ๊ะ
Comment 9
พี่ก็คิดถึงน้องๆทุกคนเหมือนกันค่ะ ห่วงเวปว่าจะไม่มีใครดูแล ไม่มีใครตอบคำถาม แต่เท่าที่ดูก็ช่วยๆกันอยู่ใช่มั้ยคะ <br>
<br>
พี่อาจจะเขียนอะไรวกวนไปบ้าง มันเป็นผลจากโรคซึมเศร้า แต่ทุกอย่างอยู่ที่สติ พี่พยายามรวบรวมสมาธิก่อนเขียน เพราะตั้งแต่เป็น มีอะไรหลายอย่างในตัวพี่ที่เปลี่ยนไป คิดช้าลง ขี้ลืมมากๆ คิดวกวน (เนี่ยก็ลืมแล้วว่าจะเขียนอะไร)... สมาธิสั้นลงมาก....เยอะค่ะ จำไม่ได้จริงๆ <br>
<br>
จริงๆแล้วพี่ดีขึ้นแล้วแต่ยังต้องอาศัยยาช่วยอยู่ หมอบอกว่าเหมือนหล่อเสาปูน ตอนนี้ปูนยังไม่แข็ง ต้องใช้เวลาสักหน่อย และหวังว่าจะไม่มีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอะไรที่ทำให้เสาปูนเละเป็นปูนเหลวๆ <br>
<br>
จริงๆแล้วโรคนี้เป็นกันเยอะแต่ไม่รู้ตัวกัน เกิดจากความเครียดเป็นหลักๆ แล้วสารในสมองหลั่งออกมามากจนทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า ใครเครียดมากก็พบจิตแพทย์นะคะ เดี๋ยวนี้มียาช่วยมากมาย ไม่จำเป็นต้องเป็นยาคลายเครียด แต่เราจะพบต้นเหตุของสิ่งที่เราเป็นอยู่ <br>
<br>
พี่สู้ค่ะ สู้โว้ย!!! ไม่ว่าจะโดนใครซ้ำเติมมามากมายขนาดไหน ใครหน้าไหนก็ตามจะไม่มาทำให้พี่ล้มลงทั้งๆที่ยังลุกขึ้นยืนได้ไม่เต็มที่ พี่จะทำให้ดีที่สุดค่ะ เพราะพี่ทิ้งเวปนี้ไปไม่ได้ <br>
<br>
จุ๊บ จุ๊บ <br>
คิดถึงน้องๆทุกคนนะคะ ดูแลตัวเองนะคะ <br>
<br>
พี่นก

3 Feb 2007  |  Comment by : SweetNokk
Comment 8
ผู้หญิงนะคะดอทคอม

สู้ๆนะค่ะพี่นก หนูเป็นกำลังใจให้ค่ะ พี่ต้องผ่านช่วงเวลาที่ไม่ดีไปได้แน่นอนค่ะหนูเชื่อ เพราะว่าพี่นกตอนนี้ก็มีกำลังใจที่ดีมากแล้ว <br>
และน้องก็เป็นอีกคนนะค่ะที่เป็นกำลังใจให้พี่นกหายไวๆ ทุกคนรอพี่นกที่แข็งแรงทั้งกายและใจกลับมาเป็นเวปมาสเตอร์ที่คอยให้คำปรึกษาดีอยู่นะค่ะ <font color=FF00FF> เป็นกำลังใจให้นะค่ะคิดว่าช่วงนี้ชีวิตเดินมาถึงทางลูกรังแล้วกันค่ะ เมื่อเราเดินต่อไปก็ต้องเจอทางคอนกรีต.....ทางคอนกรีตรอพี่นกอยู่นะพี่จะได้ไม่ต้องลำบากอีก น้องคิดถึงพี่นกนะ ขอให้หายไวๆ ปีใหม่แล้วด้วยชีวิตต้องดีกว่าปีก่อนแน่นอน......สู้ๆค่ะ </font>

2 Feb 2007  |  Comment by : kopkaeww
Comment 7
เป็นกำลังใจให้พี่นกสู้ๆนะคะ ขอให้หายเป็นปกติเร็วๆนี้นะคะ จะได้มาทักทายพี่ๆน้องๆอีกไงคะ <img src="pic/b5.gif">

2 Feb 2007  |  Comment by : sky
Comment 6
ขอบคุณพี่นกค่ะ ที่เอามาแบ่งปัน <br>
ถ้าวันไหนที่พี่นก ดีขึ้น หรือ กลับมาเป็นปกติ สบายใจดีแล้ว เราก็ดีใจด้วยค่ะ...ยิ้มสู้ต่อไปน่ะค่ะ <br>
<br>
<img src="pic/b5.gif">

2 Feb 2007  |  Comment by : PpPp
Comment 5
ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลดีดี สงสัยพี่นกคงดีขึ้นแล้วเนอะ สู้ๆค่ะ แถวนี้กำลังใจเพียบ

1 Feb 2007  |  Comment by : PlaiFon
Comment 4
<b> <font color=green> ครอบครัวและเพื่อนก็ช่วยได้ </font> </b> <br>
<br>
จากการที่โรคทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า หมดหวัง คุณอาจต้องการหรือต้องพึ่งความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้างอย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่คนไม่เคยป่วยด้วยโรคนี้จะเข้าใจผลของการเป็นโรคซึมเศร้า พวกเขาอาจพูดหรือแสดงท่าทีที่ทำให้คุณรู้สึกเสียใจ <br>
โดยที่พวกเขาไม่ได้ตั้งใจ คุณอาจส่งคำแนะนำเล่มนี้ให้คนที่คุณอยากให้เขาเข้าใจที่สุดอ่านดู เผื่อเขาจะได้เข้าใจและช่วยเหลือคุณได้บ้าง <br>
<br>
<b> <font color=FF00FF> วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า </font> </b> <br>
<br>
สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยให้เขาได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องจากจิตแพทย์ ทั้งยังอาจช่วยให้กำลังใจเขา <br>
ให้เขาร่วมมือกับแผนการรักษาจนกว่าอาการจะทุเลา ในครั้งแรก เราอาจจะต้องเป็นผู้ช่วยนัดเหมายจิตแพทย์ให้ และไปตรวจพร้อมกับเขา แล้วช่วยติดตามว่า ผู้ป่วยได้กินยาตามที่แพทย์สั่งมาหรือไม่ <br>
<br>
ลำดับถัดมาคือ การช่วยเหลือทางจิตใจ อันได้แก่การแสดงความเข้าใจ ความอดทน ความเอาใจใส่ และให้กกำลังใจ แก่ผู้ป่วยโดยการดึงผู้ป่วยเข้ามาร่วมวงสนทนา และเป็นผู้ฟังที่ดี อย่ามองข้ามคำพูดที่ว่า อยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย ควรรีบแจังให้จิตแพทย์ทราบ <br>
<br>
พยายามชวนผู้ป่วยไปเดินเล่น เปลี่ยนสถานที่ ชมภาพยนต์ <br>
หรือเข้ากิจกรรมต่างๆ ควรแสดงความตั้งใจจริงที่เราอยากให้เขาไป หากตอนแรกเขาปฏิเสธ อาจต้องคะยั้นคะยอให้เขา <br>
ทำกิจกรรมที่เขาชอบและเพลิดเพลิน เช่น งานอดิเรก กีฬา ศาสนา หรือสมาคมต่างๆ แต่ไม่ต้องรีบบังคับผู้ป่วยรับที่จะทำหรือเข้าร่วมกิจกรรมมากๆ และเร็วเกินควร แม้ผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องการสิ่งที่มาจรรโลงใจ แต่การคาดหวังกับเขามากเกินไปจะยิ่งทำให้เขารู้สึกล้มเหลว <br>
<br>
อย่ากล่าวโทษผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้าว่า แกล้งป่วย <br>
หรือเกลียดคร้าน หรือคาดคั้นให้หายซึมเศร้าในพริบตา <br>
ในที่สุดแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ <br>
จงระลึกถึงความจริงข้อนี้และให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยเช่นกันว่า <br>
ด้วยการช่วยเหลือและการรักษา เขาจะหายจากโรคนี้แน่นอน

1 Feb 2007  |  Comment by : SweetNokk
Comment 3
<b> <font color=FF00FF> จะช่วยรักษาตนเองได้อย่างไร </font> </b> <br>
<br>
การป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามักจะทำให้คุณรู้สึกเพลีย รู้สึกไร้ค่า <br>
เหมือนช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีความหวัง ความคิดในแง่ลบกับตนเองในแบบนี้ มักจะทำให้ผู้ป่วยบางคนท้อถอยและยอมแพ้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่าความคิดหรือความรู้สึก เหล่านี้เป็นเพียงแค่อาการของโรค มิได้สะท้อนเรื่องจริงในชีวิตของคุณอย่างถูกต้องแต่อย่างใด ความคิดเหล่านี้จะค่อยๆหมดไปเมื่อเริ่มต้นการรักษาไปสักระยะหนึ่ง <br>
<br>
<b> <font color=blue> ในระหว่างนี้คุณควรจะ </font> </b> <br>
<br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก <br>
หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมากๆ <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน <br>
แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้ <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป <br>
เพราะนั่นคือ คุณกำลังสร้างความล้มเหลว <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม แต่อย่าหักโหมหรือหงุดหงิดถ้ามันไม่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างทันใจ เพราะอาจใช้เวลาบ้าง <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดีและ มีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหาพอ ไม่ว่าด้วยเหตุใด พยายามเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนจนกว่าอาการป่วยของคุณจะดีขึ้น <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบ &quot;ลัดนิ้วมือเดียว&quot; เพราะเป็นไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด โดยไม่โทษตนเองว่า ที่ไม่หายเพราะตนเองไม่พยายามหรือไม่ดีพอ พึงระลึกว่า จะไม่ยอมรับความคิดในแง่ร้าย <br>
<font color=FF6600> &gt;&gt; </font>บอกตนเองว่ามันเป็นสวนหนึ่งของอาการของโรค และจะหายไปเมื่ออาการของโรคดีขึ้น

1 Feb 2007  |  Comment by : SweetNokk
Comment 2
สาเหตุของโรคซึมเศร้า <br>
<br>
หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของท่าน ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์ <br>
<br>
สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น <br>
<br>
นอกจากนี้ หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้ สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ <br>
การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ <br>
ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย <br>


1 Feb 2007  |  Comment by : SweetNokk
Comment 1
คุณมีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ <br>
<br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ <font color=red> &gt;&gt; </font>ความจำแย่ลง <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ <br>
<font color=red> &gt;&gt; </font>คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย <br>
<br>
ถ้าหากคุณมีอาการเช่นนี้หลายข้อ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า <br>
<br>
โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเราเหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง <br>
การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเกิดได้ทั้งมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน <br>


1 Feb 2007  |  Comment by : SweetNokk

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: munuai 2
โพสต์โดย: Babona 3
โพสต์โดย: ragmae 0
โพสต์โดย: kae_good 1
โพสต์โดย: SweetNokk 0
โพสต์โดย: kapibara 1
โพสต์โดย: linlin2333 0
โพสต์โดย: NhamWan 1

Interest Product