BUNYA DEVA

วิธีสังเกตอาการเนื้องอกมดลูกเบื้องต้น


ปัญหาสุขภาพภายในเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุก ๆ คนไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองด้วยกันทั้งนั้น ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ซึ่งผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเนื้องอกมดลูกสูง โดยพบว่าผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 30-50 ปี จะมีอาการที่รบกวนในการใช้ชีวิต อย่างเช่น ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติหรือเป็นประจำเดือนมากกว่าปกติ หรืออื่น ๆ จนส่งผลแทรกซ้อนต่อร่างกาย และทำให้อาการแย่ลงหรือการรักษามีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นได้ หากปล่อยไว้เนื้องอกอาจเป็นเนื้อร้ายก็เป็นได้ แต่หากเราทราบอาการหรือสังเกตอาการผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเริ่มก็จะทำให้มีโอกาสในการรักษาให้หายได้สูง และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้เร็วขึ้น โดยอาการหลัก ๆ ส่วนใหญ่ของโรคเนื้องอกมดลูกมีดังนี้

1. อาการแรกที่เจอเยอะที่สุดคือ คนไข้จะคลำได้ก้อนที่ท้องน้อย

ซึ่งถ้าเกิดผู้หญิงเราคลำก้อนที่ท้องน้อยได้ ส่วนมากจะเป็นเนื้องอกมดลูก สังเกตดูจากคนท้อง กว่าจะเห็นว่าตั้งครรภ์ก็ประมาณ 4-5 เดือนไปแล้ว เช่นเดียวกัน เนื้องอกมดลูกนี้ก็ต้องทำให้มดลูกมีขนาดโตเท่ากับคนท้อง 4-5 เดือนแล้ว ซึ่งประมาณสัก 15 เซนติเมตรขึ้นไปถึงจะคลำเองได้จากหน้าท้อง

2. อาการที่พบบ่อยที่ทำให้คนไข้ต้องมาพบคุณหมอสูตินรีเวช คือมีประจำเดือนออกเยอะ

เพราะตัวเนื้องอกไปเบียดโพรงมดลูก ทำให้ประจำเดือนออกเยอะ แล้วบางทีออกเยอะมากเป็นลิ่มเลือดเป็นก้อนเลือด บางคนให้ประวัติว่า เป็นประจำเดือนแล้วเป็นลม แล้วก็ต้องไปรับเลือดที่โรงพยาบาลทุกครั้งที่เป็นประจำเดือน อันนี้จะมีบ้างประปราย

3. อาการที่สามมักจะเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยาก

จะตรวจพบเมื่อคนไข้ไปตรวจกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก พออัลตราซาวนด์ถึงจะเจอ อันนี้มักจะเป็นลักษณะก้อนเล็ก ๆ ไม่บ่งอาการอะไร บางทีอาจจะมีก้อนแค่ 1-2 เซนติเมตรอยู่ในโพรงมดลูก ไปขวางการฝังตัวของทารกทำให้มีบุตรยาก

อาการที่รุนแรง

บางคนมีเลือกออกเยอะ ก็มีอาการโลหิตจางได้ หรือบางคนที่ลักษณะก้อนมันยื่นออกไปข้างนอก หมายถึงไม่ได้ยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก ก็จะทำให้ไม่มีประจำเดือนออกเยอะ แต่มันจะยื่นเข้าไปในอุ้งเชิงกรานหรือว่าในท้องน้อยของเรา อันนี้ก็จะไปกดเบียดลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ที่เจอบ่อยก็คือ มันเบียดมาข้างหน้า ก็จะกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คนไข้ปัสสาวะบ่อย คนไข้อาจจะเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมง นอนหลับไปแล้วก็ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง นอนไม่เต็มอิ่ม อันนี้ก็จะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตคนไข้

สิ่งสำคัญในการป้องกัน และช่วยรับมือกับเนื้องอกมดลูกได้ดี คือการหมั่นตรวจภายในเป็นประจำทุกปี รวมถึงการตรวจอัลตราซาวด์ และเมื่อพบอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความเครียด และการดูแลสุขภาพให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นเนื้องอกได้อีกทางหนึ่งค่ะ

#เนื้องอกมดลูก





Pooyingnaka Wellness

Popular Blog
  |  Post by : Bigbossbaby
  |  Post by : mr.oohoo
  |  Post by : Peach Phasakorn
  |  Post by : benznaka
  |  Post by : iCON FACE
  |  Post by : nemophilanie
  |  Post by : mr.oohoo
  |  Post by : ADMEADME

สมัครเพื่อรับข่าวสาร

* indicates required

Intuit Mailchimp