BUNYA DEVA

เรื่องควรรู้ ความดันสูง เกิดจากอะไร ? มีผลต่ออวัยวะส่วนใด

ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยแต่จะไม่แสดงอาการ ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจหนา นำไปสู่ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตเรื้อรัง รวมไปถึงหลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต



ความดันสูง เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง


  • อายุ - ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตก็สูงมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงของภาวะความดันสูงในเพศชายจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 64 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป


  • เชื้อชาติ - ชาวแอฟริกัน และชาวอเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นหากเปรียบเทียบกับคนผิวขาว


  • ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว - หนึ่งสาเหตุของการเกิดโรคความดันสูงที่เกิดจากการส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม


  • โรคอ้วน - ภาวะความดันโลหิตสูงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะการมีน้ำหนักมากร่างกายยิ่งต้องการเลือดไปเลี้ยงออกซิเจน และสารอาหารมากขึ้น


  • การใช้ชีวิตประจำวัน - ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นต่อการหดตัวแต่ละครั้ง


  • การสูบบุหรี่ - การสูบบุหรี่จะเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราวทันที แต่สารเคมีที่พบในยาสูบทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหาย ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูง




  • อาหารรสจัด - เช่น อาหารรสเค็มจัดเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง ทำให้เกิดการคั่งของของเหลว และเกิดความดันโลหิตสูง


  • อาหารโพแทสเซียมต่ำ - เพราะอาหารโพแทสเซียมต่ำทำให้ร่างกายเก็บโซเดียมไว้ในเลือดมากเกินไป ซึ่งหน้าที่ของโพแทสเซียมคือช่วยปรับสมดุลของปริมาณโซเดียมในร่างกาย


  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - ความดันสูง เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสามารถทำลายหัวใจได้เมื่อเวลาผ่านไป หรือมีอายุเพิ่มมากขึ้น


  • ความเครียด - หากระดับความเครียดสูงเกิดไป ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นชั่วคราว


  • โรคเรื้อรังบางชนิด - เช่น โรคไต เบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง


ถึงแม้ว่าความดันโลหิตสูงจะพบมากในผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดในเด็กได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดความดันสูงในเด็ก คือ การรับประทานอาหารไม่ดี ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือเกิดจากโรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย


ขอบคุณข้อมูลจาก https://hillkoff.com/




Pooyingnaka Wellness

Popular Blog
  |  Post by : Media123
  |  Post by : mr.oohoo
  |  Post by :
  |  Post by : nemophilanie
  |  Post by : nemophilanie
  |  Post by : lovetoread
  |  Post by : AlyssAlyssa
  |  Post by : ADMEADME

สมัครเพื่อรับข่าวสาร

* indicates required

Intuit Mailchimp