ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร?
อาการปัสสาวะเล็ดหรือปัสสาวะซึม เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ การปรึกษาแพทย์เพื่อรับวินิจฉัยที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ปัสสาวะเล็ดเป็นภาวะที่มักเกิดจากกล้ามเนื้อในระบบปัสสาวะอ่อนแรงหรือทำงานไม่ถูกต้อง สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร ความอ้วน การอายุมากขึ้น หรือปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ การรักษาปัสสาวะเล็ดสามารถทำได้หลายวิธี มาทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะที่ทำให้ใครหลายคนรู้สึกกังวลได้ในบทความนี้
ปัสสาวะเล็ด คืออะไร
อาการช้ำรั่ว (Urinary Incontinence) เป็นอาการที่ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ทำให้ปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ตั้งใจ อาจเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น
ปัญหาปัสสาวะเล็ดสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทหลักๆ ดังนี้
1. Stress Incontinence (ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีแรงดัน) เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกาย หัวเราะ ยกของหนัก ไอ จาม ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมปัสสาวะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
2. Urge Incontinence (ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างกะทันหัน) เกิดขึ้นเมื่อมีความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้ มักเกิดจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
3. Overflow Incontinence (ปัสสาวะล้น) เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด ทำให้มีการเล็ดของปัสสาวะออกมาอย่างต่อเนื่อง ปัสสาวะเล็ดมักเกิดจากการอุดตันหรือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอ
4. Functional Incontinence (ปัสสาวะเล็ดเนื่องจากการทำงานผิดปกติ) เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น ความสามารถในการเคลื่อนไหวจำกัด หรือปัญหาทางสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถไปห้องน้ำได้ทันเวลา
5. Mixed Incontinence (ปัสสาวะเล็ดแบบผสม) เกิดขึ้นเมื่อมีอาการของปัสสาวะเล็ดมากกว่าหนึ่งประเภทในคนเดียวกัน มักพบว่ามีอาการทั้ง stress และ urge incontinence
ปัสสาวะเล็ด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับใคร
ปัสสาวะเล็ด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัยแต่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะปัสสาวะเล็ดในช่วงอายุผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งแต่สาเหตุที่ผู้หญิงเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้ง่ายเนื่องจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาว ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้รับบาดเจ็บและอ่อนแอลงได้
ปัสสาวะเล็ด สาเหตุเกิดจากอะไร
สาเหตุของปัสสาวะเล็ดมีหลายประการ ดังนี้
● กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ: กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำหน้าที่พยุงอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอ อวัยวะเหล่านี้ เช่น กระเพาะปัสสาวะ อาจจะหย่อนตัวลง ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่น ไอ จาม หัวเราะ ยกของหนัก
● การคลอดบุตร: การคลอดบุตร โดยเฉพาะการคลอดลูกใหญ่ คลอดลูกแฝด หรือการคลอดผ่านช่องคลอดเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอลง
● น้ำหนักตัวมาก: น้ำหนักตัวที่มากขึ้น จะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ส่งผลต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
● วัยทอง: ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนลดลงในวัยทอง ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกราน ทำให้อ่อนแอลง
● โรคบางชนิด: โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางระบบประสาท
● ยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ
● การผ่าตัด: การผ่าตัดในบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดต่อมลูกหมาก
เช็คอาการปัสสาวะเล็ดเป็นอย่างไร
อาการของปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence) มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแล้ว อาการที่พบบ่อยมีดังนี้
ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง
● ปัสสาวะเล็ดออกมาเมื่อมีแรงกระทำในช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่น หัวเราะ ยกของหนัก ไอ จาม ปัสสาวะเล็ดจึงไม่สามารถควบคุมได้อย่างเต็มที่
● มักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ หลังคลอดบุตร หรือผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น
● อาจจะปัสสาวะเล็ดเป็นหยดๆ หรือเปียกชุ่มไปทั้งกางเกง
ปัสสาวะเล็ดทันทีเมื่อปวดปัสสาวะ
● รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยและกลั้นไม่อยู่
● มักเกิดขึ้นพร้อมกับอาการปวดท้องน้อย หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรค้างอยู่ในช่องคลอด (ผู้หญิง)
● อาจจะปัสสาวะเล็ดก่อนที่จะไปถึงห้องน้ำ
ปัสสาวะเล็ดทั้งขณะออกแรงและทันทีเมื่อปวดปัสสาวะ
● เกิดจากสาเหตุทั้งสองประเภท
● อาจจะปัสสาวะเล็ดเป็นหยดๆ หรือเปียกชุ่มไปทั้งกางเกง
ปัสสาวะเล็ดตลอดเวลาเนื่องจากมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ
● เกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถบีบตัวขับปัสสาวะออกมาได้หมด
● มักเกิดในผู้ที่มีปัญหาทางระบบประสาท หรือผู้ที่มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
● ปัสสาวะเล็ดออกมาตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมได้
ปัสสาวะเล็ด รักษาได้โดยวิธีใดบ้าง?
ปัสสาวะเล็ดรักษาอย่างไร? วิธีแก้ปัสสาวะเล็ดขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการฝึกกล้ามเนื้อ
● การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel exercises): ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมปัสสาวะ
● การฝึกกระเพาะปัสสาวะ (Bladder training): การกำหนดเวลาในการปัสสาวะเพื่อเพิ่มความจุของกระเพาะปัสสาวะ
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
● ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์
● หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ก่อนนอน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปัสสาวะเล็ดตอนนอน
● ควบคุมน้ำหนักเพื่อหลีกเลี่ยงความดันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้อง
3. การใช้ยาแก้ปัสสาวะเล็ด
● ยาบางชนิดสามารถช่วยลดการหดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมปัสสาวะ
4. การใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือ
● แผ่นซับปัสสาวะหรือผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่
● อุปกรณ์ช่วยเช่น pessary สำหรับผู้หญิง
5. การทำกายภาพบำบัด
● การทำกายภาพบำบัดสำหรับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
6. การผ่าตัด
● ในกรณีที่การรักษาปัสสาวะเล็ดอื่นๆ ไม่ได้ผล การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือก เช่น การใส่สายคาดใต้ท่อปัสสาวะ (sling procedure) หรือการผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ
7. การใช้เทคนิคทางการแพทย์อื่นๆ
● การใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การฉีดสารเติมเต็ม (bulking agents) เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อเพิ่มความดันหรือการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ
สรุปปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะเล็ด ไม่ได้เป็นภาวะที่น่าอาย และสามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาและการจัดการอาการปัสสาวะเล็ดขึ้นอยู่กับประเภทของอาการและความรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม