รากฟันเทียม คืออะไร
ส่วนประกอบของรากฟันเทียม
- รากเทียม (Fixture) เป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก มีลักษณะเป็นสกรูที่ทำมาจากไทเทเนียม มีหน้าที่เป็นรากฟันที่ไว้ยึดติดกับฟันปลอม
- เดือยฟัน (Abutment) เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างรากฟันเทียม และ ฟันครอบ จึงเรียกว่า เดือยฟัน ซึ่งมีหน้าที่รองรับตัว ครอบฟัน ใช้ยึดกับสกรูไว้
- ครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนของตัวฟัน เหมือนฟันธรรมชาติ มีหน้าที่สำหรับใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร โดยทำมาจากเซรามิก
รากฟันเทียม ทำมาจากวัสดุอะไร
รากฟันเทียม ผลิตมาจากไทเทเนียมบริสุทธิ์ ที่เป็นโลหะชนิดหนึ่งหรือ รากฟันเทียม วัสดุ อีกหนึ่งชนิดคือ ผลิตจากเซรามิกมีลักษณะเป็นสีขาวใช้ทำตัวครอบฟัน เพื่อนำมาใช้กับฟันหน้าจะได้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดรากฟันเทียม มี่กี่แบบ
รากฟันเทียม มี 3 แบบแบ่งออกดังนี้- รากฟันเทียมแบบ 1 ซี่ ในกรณีที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปเพียง 1 ซี่ การทำรากฟันเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรูเพียง 1 ตัว และฟัน 1 ซี่ สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยที่ไม่ต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
- รากฟันเทียมแบบหลายซี่ จะทำเมื่อคนไข้สูญเสียฟันแท้ไปหลายซี่ จะแก้ไขด้วยการทำรากเทียมรองรับครอบฟัน ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงเพื่อทำสะพานฟัน กรณีที่เสียฟันติดกัน 3 ซี่ จะทำรากเทียม 2 ตัวในซี่แรกและซี่สุดท้าย
- รากฟันเทียมทั้งปาก การทำรากฟันเทียมทั้งปากจะใช้การทำแบบติดแน่น เพราะจะสามารถทดแทนฟันได้ โดยยังช่วยรักษาโครงหน้าเดิมเอาไว้ได้ด้วย
ชนิดของรากฟันเทียม
ชนิดของ รากฟันเทียม จะแบ่งตามระยะเวลาการใส่รากเทียมหลังจากทำการถอนฟัน หรือระยะในการใส่ครอบฟัน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้- การฝังรากฟันเทียมแบบธรรมดา หรือแบบดั้งเดิม (Conventional Implant) การฝังรากฟันเทียมแบบธรรมดาจะเป็นแบบที่แน่นที่สุด แต่จะทำได้หลังจากที่ถอนฟันไปแล้วประมาณ 3-6 เดือน เพื่อรอให้กระดูกที่ถอนไปนั้นหายสมบูรณ์ จากนั้นรออีก 3-6 เดือน จึงจะสามารถทำครอบฟันบนรากเทียมได้
- การฝังรากฟันเทียมแบบทันที (Immediate Implant) การทำรากเทียมชนิดนี้เป็นการประหยัดเวลาโดยจะใส่รากเทียมทันทีหลังจากถอนฟัน 3-6 เดือน จากนั้นค่อยมาทำครอบฟันบนรากเทียม เหมาะกับการทำฟันหน้าและฟันหลัง เพราะจะมีกระดูกที่พอเพียงสำหรับการถอนฟัน
- การฝังรากฟันปลอมแบบเชื่อมต่อส่วนทันตกรรม (Immediate Loaded Implant) การทำรากเทียมชนิดนี้จะเป็นการใส่รากฟันเทียมร่วมกับการทำครอบฟันบนรากเทียมทันทีในวันนั้น เป็นการทำรากฟันเทียมที่ไม่ต้องรอนาน
รากฟันเทียม มีกี่ยี่ห้อ
รากฟันเทียม ที่ใช้ในท้องตลาดและเป็นที่ยอมรับสำหรับมาตรฐานสากลโลกและในประเทศไทย ก็จะมีหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ ดังนี้- Straumann เป็นยี่ห้อจาก สวิตช์เซอร์แลนด์
- - Astratech เป็นยี่ห้อจาก สวีเดน
- - Hiossen เป็นยี่ห้อจาก อเมริกา
ใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม
การทำ รากฟันเทียม ผู้ที่จะทำต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพที่ดี โดยจะช่วยให้บดเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น และออกเสียงได้ชัดเจนรากฟันเทียม กับ ฟันปลอม แตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม คือ รากเทียมจะเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่สูญเสียฟัน โดยสามารถทำได้ทั้งแบบซี่เดียว และแบบทั้งปาก ใช้วัสดุจากไทเทเนียมจึงมีอายุการใช้งานที่นาน ฟันปลอม มีลักษณะพื้นฐานฟันเป็นแบบอะคริลิกคล้ายเหงือก และตัวฟันก็จะเป็นฟันปลอม การใช้งานจะสามารถถอดทำความสะอาดได้ อายุการใช้งานน้อยกว่าข้อดี และข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม
การทำ รากฟันเทียม โดยรวมแล้วเราก็จะเห็นว่ามีข้อดีเยอะมาก แต่เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อจำกัดควบคู่ไปพร้อมกัน โดยข้อดีและข้อจำกัดดังต่อไปนี้ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
1. ช่วยเพิ่มความมั่นใจ เสริมบุคลิก โดยไม่ต้องกังวลจนขาดความมั่นใจ2. ช่วยในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหารให้สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
ข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม
ข้อกำจัดในการทำรากเทียมมีดังนี้
1. การทำรากเทียมจะไม่สามารถทำในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีได้2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวจะไม่สามารถทำรากฟันเทียมได้
การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม
ใครที่มีความต้องการที่จะทำ รากฟันเทียม คุณจะต้องมีความพร้อมดังนี้- - ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา เช่น จำนวนของรากเทียมที่จะใส่
- - หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งหมอและปรึกษาก่อนเพื่อประเมินร่างกายและความเหมาะสมก่อนทำ
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
1. ฝังรากเทียม ทันตแพทย์จะเริ่มจากการฝังรากเทียมก่อนแล้วนัดใส่ครอบฟัน2. การใส่ครอบฟัน หลังจากฝังรากเทียม 3-6 เดือน ด้วยการพิมพ์บริเวณรากฟันเทียมและส่งแลป 1-2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดมาใส่ครอบรากฟันเทียม และนัดตรวจเช็กรากเทียมทุก ๆ ปี
การดูแลตนเองหลังทำรากฟันเทียม
หลังจากที่ใส่ รากฟันเทียม เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้จะต้องดูแลตัวเองและรากฟันเทียมให้ดีดังนี้- ทำความสะอาดช่องปากให้ถูกวิธี หมั่นแปรงฟันและใช้ไหวขัดฟัน ตามร่องฟันให้สะอาดอยู่เสมอ
- พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง