PRK นวัตกรรมเลเซอร์กระจกตา ทางเลือกสำหรับการรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์
PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ การรักษาสายตาผิดปกติด้วยการผ่าตัดและยิงลำแสงเลเซอร์รักษาค่าสายตา นวัตกรรมทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีปัญหากระจกตาบาง
ปัญหาค่าสายตาปกติปัญหาเล็กที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่ อย่าปล่อยให้ปัญหาค่าสายตาปกติเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต กับ PRK นวัตกรรมการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วยลำแสงเลเซอร์ รักษาค่าสายตาถาวรแบบไม่ต้องผ่าตัด ถ้าอยากรู้กันแล้วว่า PRK คืออะไร ดียังไง เหมาะกับใคร แล้วเลสิกกับ PRK แตกต่างกันอย่างไร เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จัก PRK ให้ดีขึ้นในเนื้อหาของบทความนี้
ทำความรู้จักการทำPRK (Photorefractive Keratectomy)
PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ นวัตกรรมการรักษาปัญหาค่าสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์ เป็นนวัตกรรมการรักษาปัญหาค่าสายตาแบบไร้ใบมีด ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดกรีดแยกชั้นกระจกตาเพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้น เพราะการทำ PRK สามารถรักษาปัญหาค่าสายตาผ่านการปรับความโค้งกระจกตาได้โดยตรง
แล้วด้วยความที่ PRK เป็นการรักษาค่าสายตาผ่านการปรับความโค้งกระจกตาผ่านการลอกผิวกระจกตาชั้นนอก ผู้มีข้อจำกัดด้านการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วยการผ่าตัดจึงสามารถรักษาปัญหาค่าสายตาด้วยวิธีนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการทำ PRK ก็ยังมีข้อจำกัดในการทำอยู่ ด้วยความที่ PRK เป็นการรักษาผ่านการลอกผิวกระจกตาชั้นนอก การทำ PRK จึงมีข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการรักษา ที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานกว่าการทำเลสิค แถมยังต้องตรวจเช็คกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอจากขั้นตอนการรักษา และแผลที่เกิดขึ้นบนชั้นกระจกตา
PRK ต่างจากการทำเลสิคแบบอื่น ๆ อย่างไร หัวข้อนี้จะพามาเปรียบเทียบ
หลังจากทราบกันแล้วว่า PRK Lasik คืออะไร หลายคนคงสงสัยกันแล้วว่าการทำ PRK ต่างจากการทำเลสิคแบบอื่น ๆ อย่างไร หัวข้อนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มาไขข้อสงสัย ด้วยการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง PRK และเลสิค
PRK กับ ReLEx SMILE
ReLEx SMILE การผ่าตัดสายตาสั้น สายตาเอียง สายตายาวแบบไร้ใบมีด เป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ Femtosecond เข้าไปยังกระจกตาชั้นกลาง ใช้ Lenticule เข้าไปปรับกระจกตาส่วนเกิน และปิดจบด้วยการใช้เลเซอร์ในการลบ Lenticule ออกจากตา เพื่อให้เนื้อเยื่อในดวงตาทำการรักษาตัวเอง ต่างจากเลสิก PRK ที่เป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ปรับความโค้งกระจกตา
PRK กับ Femto LASIK
PRK เลสิกการรักษาปัญหาค่าสายตาผ่านการยิงเลเซอร์ปรับชั้นผิวกระจกตา เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาชั้นนอก ต่างจากการทำ Femto LASIK ตรงที่การทำ Femto LASIK จะเป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาผ่านการผ่าตัดกรีดผิวกระจกตาชั้นนอกด้วยเลเซอร์ และยิงเลเซอร์เข้าไปปรับค่าสายตา ที่ถึงแม้การทำ PRK กับ Femto LASIK จะเป็นการใช้เลเซอร์ในการรักษา แต่กระบวนการรักษาและขั้นตอนก็ยังแตกต่างกันอยู่ดี
PRK กับ LASIK
LASIK การรักษาปัญหาค่าสายตาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยที่การทำเลสิคจะเป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาผ่านการผ่าตัดกรีดผิวกระจกตา เพื่อใช้เลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตาชั้นกลาง ซึ่งการทำเลสิคจะแตกต่างจากการทำ PRK ตรงที่ PRK จะเป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาผ่านการปรับความโค้งของกระจกตา แถมการทำเลสิคยังมีข้อจำกัดในการทำที่มากกว่าทำให้ LASIK กับ PRK เป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาที่ต่างกันเป็นอย่างมาก
ผู้ที่เหมาะ - ไม่เหมาะกับการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วย PRK
LASIK PRK คือการรักษาปัญหาค่าสายตาที่มีข้อจำกัดในการรักษาค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการทำเลสิคแบบอื่น ๆ สำหรับท่านที่สนใจอยากรักษาปัญหาค่าสายตาด้วย PRK แต่ยังไม่มั่นใจว่าการทำ PRK เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับตนเองหรือไม่ หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงผู้เหมาะและไม่เหมาะกับการรักษาค่าสายตาด้วย PRK จะมีใครบ้างมาดูกัน
ผู้ที่เหมาะกับการเข้ารับทำ PRK
● การทำ PRK เหมาะกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
● ผู้ที่มีค่าสายตาคงที่ หรือผู้ที่มีค่าสายตาไม่เปลี่ยนแปลงมามากกว่า 1 ปี
● ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น สายตาเอียง
● ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระจกตา เช่น กระจกตาผิดรูป กระจกตาถลอก กระจกตาบาง PRK เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณ
● ผู้ที่มีปัญหาตาแห้ง
● ผู้ที่เคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับดวงตา
● ผู้ที่ไม่สามารถผ่าตัดสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงด้วยการทำเลสิค
● ผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิคได้จากข้อจำกัดทางอาชีพ เช่น ตำรวจ ทหาร นักบิน และอื่น ๆ
ผู้ที่ไม่เหมาะกับการเข้ารับทำ PRK
● ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพด้านระบบภูมิคุ้มกัน การทำ PRK อาจทำให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้
● ผู้มีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อดวงตา เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
● ผู้มีภาวะตาขี้เกียจบางรายอาจไม่เหมาะกับการทำ PRK
● ผู้มีปัญหาทางสายตาระดับรุนแรง
● ผู้มีปัญหาสุขภาพด้านระบบทางเดินหายใจ การทำ PRK อาจไม่เหมาะกับคุณ
● ผู้ที่เคยรักษาปัญหาด้านค่าสายตาด้วยการทำ PRK หรือ Femto LASIK มาก่อน
ขั้นตอนการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วย PRK เลสิค
หลังจากพูดถึงรายละเอียดของการรักษาค่าสายตาด้วยการทำ PRK กันไปแล้ว เราจะมาพูดถึงขั้นตอนการทำ PRK กันบ้าง โดยขั้นตอนการทำจะมีทั้งหมด 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาแพทย์จะทำการหยอดยาชาและยาอักเสบก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการทำ PRK ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที
2. หลังยาชาและยาแก้อักเสบออกฤทธิ์แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษในการลอกกระจกตาชั้นนอก
3. เมื่อลอกกระจกตาชั้นนอกเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการยิงเลเซอร์เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้เข้าสู่ค่าสายตาปกติ
4. หลังขั้นตอนการรักษาเสร็จสิ้นแพทย์จะใช้คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษปิดบริเวณผิวกระจกตาชั้นนอก เพื่อรักษาดวงตาระหว่างเป็นเวลา 5-7 วัน
ผ่าตัดทำ PRK มีค่ารักษาเท่าไหร่
สำหรับท่านที่สนใจอยากรักษาปัญหาค่าสายตาด้วยการทำ PRK แต่ยังไม่มั่นใจว่าต้องเตรียมค่ารักษาไว้ประมาณเท่าไหร่ ปัจจุบันค่ารักษาปัญหาด้านค่าสายตาด้วย PRK ราคาจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 33,000 - 50,000 บาท
ทำ PRK ที่ไหนดี กับแนวทางการเลือกสถานพยาบาล เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยไร้กังวล
การเลือกสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ควรทำก่อนตัดสินใจทำ PRK หัวข้อนี้เราจะพาทุกท่านมาพบกับแนวทางการเลือกสถานพยาบาล ควรเลือกอย่างไรให้ปลอดภัยไร้กังวลมาดูกัน
● เลือกจากเทคโนโลยีการรักษาของสถานพยาบาล
● เลือกจากความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาล
● เลือกจากเคส PRK รีวิว
● เลือกจากประสบการณ์ของจักษุแพทย์ผู้ทำการรักษาค่าสายตาด้วย PRK
● เลือกจากราคาที่สมเหตุสมผล ไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป
● เลือกจากความสะอาดและมาตรฐานของสถานพยาบาล
สรุปข้อดีของการรักษาปัญหาค่าสายตาด้วย PRK - Photorefractive Keratectomy
PRK - Photorefractive Keratectomy การรักษาปัญหาด้านค่าสายตาผ่านแสงเลเซอร์ ที่มีผลข้างเคียงหลังการทำค่อนข้างน้อย ผู้ที่มีข้อจำกัดทางด้านสายตาอย่างผู้ที่มีปัญหาตาแห้ง กระจกตาบาง หรือกระจกตาถลอกสามารถทำได้ แต่ถึงอย่างนั้นการทำ PRK ข้อเสียและข้อจำกัดอยู่ ผู้ที่สนใจอยากทำ PRK จึงควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจทำ