ในปัจจุบันการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถรักษาได้หลายวิธี
ซึ่งมันจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่
โดยหนึ่งในวิธีรักษาที่ได้ผลดีคือการสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Radio
Frequency Ablation) โดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสวนเข้าไปทางหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบและจี้ที่บริเวณต้นกำเนิดของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่หัวใจ
วิธีการคือใช้สายสวนสอดไปตามหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบจนถึงห้องหัวใจ
เมื่อพบตำแหน่งที่มีกระแสไฟฟ้าหัวใจเต้นผิดปกติ
แพทย์จะปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุไปที่ขั้วปลายสายสวนเพื่อจี้รักษา โดยเทคโนโลยีการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจทั้ง 2 แบบ
1.Electrophysiology Study (การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ)
เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ หาสาเหตุ
รวมถึงตำแหน่งที่ผิดปกติ และจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง แสดงผลเป็นกราฟ 2 มิติ
ข้อดีคือสามารถทำการรักษาได้ทันทีหลังจากการตรวจวินิจฉัย
2.3D System เป็นการหาตำแหน่งจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ
ซึ่งแสดงผลเป็นภาพ 3 มิติ แบบเรียลไทม์
และใช้สายสวนจี้ตรงจุดที่ผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง
วิธีนี้สามารถใช้รักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่มีจุดกำเนิดเป็นบริเวณกว้างหรือมีความซับซ้อน
เช่น
·
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะห้องบน (Atrial
Tachycardia)
·
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial
Fibrillation)
·
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (Ventricular
Tachycardia)
·
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วชนิดลัดวงจร (Supraventricular
Tachycardia)
ทั้งนี้ในการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเทคโนโลยีการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ
จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืน
หลังจากนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ต้องงดยกของหนัก ไม่ควรเดินมากจนเกินไป
และงดขับรถเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน
เพื่อให้แผลจากการเจาะหลอดเลือดบริเวณขาหนีบที่หน้าขาหายเป็นปกติ
สำหรับข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือมีโอกาสหายขาดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสูงถึงร้อยละ
98 เกิดภาวะแทรกซ้อนและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำเพียง 1-2% เท่านั้น
ที่สำคัญคือไม่ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิตอีกด้วยค่ะ
#หัวใจเต้นผิดจังหวะ